[คัมภีร์มือถือ] รวมทุกเรื่องราวสมาร์ทโฟน และเกร็ดความรู้ต่างๆ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าอุปกรณ์พกพาที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันอย่างโทรศัพท์มือถือ หรือ Cell Phone ที่เราเรียกกันในอดีต จนก้าวเข้าสู่ปัจจุบันกับคำว่าสมาร์ทโฟนจะเข้ามาเป็นส่วนสำคัญต่อกิจกรรมประจำวันอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นบทความนี้จึงเป็นศูนย์รวมทุกเรื่องราวสาระน่ารู้เกี่ยวกับสมาร์ทโฟนมาเล่าสู่กันฟังให้กับผู้ใช้งานทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ทราบข้อมูลต่างๆ อย่างครบถ้วน

ทำความรู้จักโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของโลกคือรุ่นอะไรกัน...?

สำหรับโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกของโลกมีนามว่า "DynaTAC 8000X" เผยโฉมอย่างเป็นทางการปีคริสต์ศักราช 1984 หรือพุทธศักราช 2527 เป็นเวลากว่า 32 ปีเลยทีเดียว ส่วนราคาก็อยู่ที่ $3,995 หรือประมาณ 139,9xx บาท (อ้างอิงจากค่าเงินในปัจจุบัน)

ทั้งนี้ Motorola DynaTAC 8000X มีขนาดของตัวเครื่อง 13 x 1.75 x 3.5 นิ้ว น้ำหนักเครื่อง 28 ออนซ์ หรือประมาณ 800 กรัม ซึ่งถ้าเมื่อดูจากขนาดและนํ้าหนัก ทางผู้ผลิตเองจึงตั้งฉายาว่า “The Brick” หรือก้อนอิฐขนาดใหญ่ ส่วนระยะเวลาการใช้งาน เมื่อชาร์จ 1 ครั้งสามารถใช้งานได้แค่เพียง 30 นาทีเท่านั้น

เมื่อเห็นแบบนี้แล้วใครจะไปเชื่อว่าเดิมทีโทรศัพท์มือถือนั้นถูกพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ด้านการติดต่อสื่อสารเพียงอย่างเดียว แต่แล้วเมื่อมาถึงปัจจุบันกับไม่ใช่เพียงจุดประสงค์เดียวทว่ากลับกลายเป็นจุดศูนย์รวมคุณสมบัติต่าง ๆ มากมาย ในเครื่องเดียว!!

สารบัญคัมภีร์สมาร์ทโฟน อยากรู้เรื่องใด คลิกเลือกที่หัวข้อได้เลย!

หลังจากรู้แล้วว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นใดคือต้นแบบ ดังนั้นมาดูกันหน่อยที่เรามักนิยมเรียกคำว่า "สมาร์ทโฟน" หมายถึงอะไร...?

สมาร์ทโฟนมีหลายคำนิยามที่ใครหลายคนให้ความหมาย แต่ความหมายที่เหมาะสมคือ โทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการเป็นของตัวเอง (Operating system หรือ OS) หรืออีกคำนิยามที่มักใช้กันนั่นคือแพลตฟอร์ม (Platform) มีไว้เพื่อขับเคลื่อนโทรศัพท์มือถือของเราให้ [สมาร์ท] นั่นเอง กล่าวคือ ผู้ใช้งานสามารถติดตั้งโปรแกรม (แอพพลิเคชั่น) บนดีไวซ์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกหรือสร้างความบันเทิง รวมถึงการตั้งค่าเดิมทีทำได้ไม่กี่อย่างเท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้ต้องการอะไรก็ปรับแต่งได้หมด

แต่ปัจจุบันเราจะเห็นว่าสมาร์ทโฟนนั้นมีขนาดหน้าจอที่แตกต่างกัน ไม่เกิน 5 นิ้วบ้างหรือ 5.5 - 6 นิ้ว แม้แต่ 7 นิ้วขึ้นไปก็มี ดังนั้นจึงเกิดคำนิยามขึ้น เพื่อให้สามารถแยกแยะและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง เนื่องจากขนาดหน้าจอถูกผลิตขึ้นตามจุดประสงค์การใช้งานที่ไม่เหมือนกัน

เริ่มที่คำว่าสมาร์ทโฟน เราเข้าใจความหมายไปก่อนหน้านี้แล้วว่าคืออะไรแต่คำคำนี้จะใช้เรียกเฉพาะรุ่นที่มีหน้าจอขนาดไม่เกิน 5 นิ้ว ถ้าเกิน 5 นิ้ว ไม่เกิน 7 นิ้วคือแฟบเล็ต ส่วนเกิน 7 นิ้วขึ้นไปก็เรียกว่าแท็บเล็ต

สรุปคำว่าสมาร์ทโฟน, แฟบเล็ต และแท็บเล็ตคือ : อุปกรณ์ติดต่อสื่อสารที่รวมเข้ากับระบบปฏิบัติการหรือแพลตฟอร์ม โดยส่งผลให้มีความสามารถแตกต่างตาม OS นั้นๆ และชาญฉลาดมากกว่าเดิม

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ต่อด้วยทำความรู้จัก : ระบบปฏิบัติการที่เป็นเสมือนเป็นหัวใจคอยขับเคลื่อนสมาร์ทโฟนว่ามีอะไรบ้าง...?

เริ่มกันที่ระบบปฏิบัติการ iOS สำหรับ OS ดังกล่าวเป็นของบริษัท Apple เผยโฉมครั้งแรกงานเปิดตัว iPhone ปีค.ศ. 2007 เดิมทีไม่ได้ใช้ชื่อนี้ (iOS) แต่มีชื่อเรียกว่า iPhone OS ทว่าอีก 3 ปีต่อมาเปลี่ยนมาเรียก iOS แทน เพราะไม่ได้มีแค่เฉพาะ iPhone ที่มีแพลตฟอร์มดังกล่าวขับเคลื่อน แต่ทางแบรนด์จะกำหนดให้ใช้แค่ผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลเท่านั้น (บางอุปกรณ์) หรือพูดง่ายๆ คือระบบปิด

เดินทางมาถึงเวอร์ชั่น 12 แล้ว (อ่านรายละเอียดการอัปเดตได้ที่นี่)

โดยข้อดีของ iOS นั้นคือจะมีความปลอดภัยทั้งในเรื่องของการใช้งาน และแอพพลิเคชั่น เป็นระบบระเบียบ ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อนมีความเสถียร ข้อมูลส่วนตัวถูกเก็บรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

iPhone OS 1.x

iOS 13 เวอร์ชั่นล่าสุด

ระบบแอนดรอยด์

ถูกพัฒนาโดยชายที่ชื่อว่าแอนดี รูบิน กับจุดมุ่งหมายพัฒนาเพื่อเป็นระบบปฏิบัติการให้กล้องดิจิตอล แต่ ณ เวลานั้นตลาดก็ยังไม่เปิดกว้างเท่าไร จึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไปสู่อุปกรณ์พกพาที่กำลังเป็นช่วงนิยมอย่างสูง แต่ดูเหมือนว่าไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก ด้วยปัจจัยหลายอย่าง ต่อมาปีค.ศ. 2005 บริษัท Google ก็ได้เข้าซื้อแพลตฟอร์มดังกล่าว เพื่อปูพรมเข้าสู่ตลาดสมาร์ทโฟน

ส่วนระบบแอนดรอยด์มีข้อดีคือ สามารถปรับแต่งให้ตรงความต้องการของเราได้อย่างอิสระ ทว่ามีข้อเสียตรงด้านความปลอดภัย ที่ยังไม่ตอบโจทย์เท่าไรนักจากแอพพลิเคชั่น และระบบเนื่องจากเป็นระบบเปิด แต่ถ้หากาศึกษาและเปิดใจเรียนรู้การใช้งานให้ดีก็จะเป็นอีกหนึ่ง OS ที่เพลิดเพลินเช่นกัน เพราะมีฟีเจอร์ต่างๆ ที่มากมายกว่า

นอกจากนี้ในระบบแอนดรอยด์ยังเปิดให้ผู้ที่สนใจสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์เสริมใช้งานควบคู่กันไปได้เพื่อสามารถตอบโจทย์การใช้งานของแต่ละคนให้ได้มากที่สุดและก็เกิดความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าสร้างจุดขาย เรียกส่วนนี้ว่า UI หรือ User Interface ซึ่งเรามักคุ้นกับประโยคว่า ขับเคลื่อนด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เวอร์ชั่น 8.1 ครอบทับด้วย TouchWiz UI, Zen UI, Sense UI, LG UX, Color OS, Emotion UI เป็นต้น

Android 10 เวอร์ชั่นล่าสุด

สุดท้ายระบบ Windows Phone คิดค้นโดยบริษัท Microsoft ยักษ์ใหญ่แห่งวงการคอมพิวเตอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเดิมทีมีจุดเริ่มต้นมาจาก Windows Mobile นั้นเริ่มมาตั้งแต่ยุคปลาย 90 ไล่พัฒนามาจนถึง Windows 10 อย่างในปัจจุบัน ภายใต้คอนเซ็ปต์ .....

โดยข้อดีส่วนของระบบปฏิบัติการ Windows 10 คือการมีความเสถียรในการใช้งาน แต่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจรวมถึงความเคยชินในการใช้งานสักหน่อยเพราะจะมีความซับซ้อนของอินเทอร์เฟส และก็จะมีข้อเสียอีกหนึ่งอย่างคือด้านของแอพฯ ที่มีตัวเลือกน้อยสุดในบรราดาสอง OS ข้างต้น

หมายเหตุ : ทุกระบบปฏิบัติการต่างมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน การเลือกซื้อสมาร์ทโฟนสักเครื่องหนึ่ง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ OS เพียงอย่างเดียว แต่ต้องมองถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญคืออะไรตอบโจทย์ผู้ใช้งานอย่างเรามากที่สุดกับเงินที่เราได้จ่ายออกไป ทั้งในปัจจุบันก็มีตัวเลือกที่หลากหลายอีกด้วย แต่ที่สำคัญที่สุดต่อการใช้เครื่องใดเครื่องหนึ่ง คือถามตัวเองว่าเราต้องใช้งานอะไรบ้าง แล้วลองมองปัจจัยอื่น ๆ ตามมา ขอบเขตที่ได้ก็จะแคบลง จากนั้นให้เราเลือกตามความชอบและงบประมาณที่เหมาะสมที่ตัวเองมี

ลำดับต่อไปเป็นเรื่องสำคัญผู้ใช้งานต้องเข้าใจศึกษารายละเอียดไว้บ้าง เกี่ยวกับเครือข่าย (1G, 2G, 3G, 4G LTE) กันบ้างว่าคืออะไร แตกต่างอย่างไร....?

โดยเริ่มแรกของคลื่นความถี่นั้นได้ใช้ชื่อว่า First Generation หรือ 1G ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการโทรเข้าโทรออกนั่นเอง ซึ่งโทรศัพท์รุ่นแรกที่ได้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวคือ โทรศัพท์จากเครือข่าย NTT ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้ครั้งแรกในปีค.ศ. 1979 หรือกว่า 37 ปีที่แล้ว ต่อมาในปีค.ศ. 1981 โทรศัพท์มือถือรุ่นแรกของโลกที่ได้ใช้นั่นก็คือ Motorola DynaTAC 8000X

จนวันเวลาผ่านไปเริ่มเข้าสู่ยุค 2G หรือ 2nd Generation โดยจะเป็นการพัฒนาให้สามารถทำการส่งข้อความหากันอย่างที่เรารู้จักกันในชื่อ SMS (Short Message Service) นั่นเอง และก็ต้องบอกว่าได้กลายเป็นยุคที่โทรศัพท์มือถือฮิตอย่างรวดเร็วส่งผลให้มีการพัฒนาต่อเนื่องจนเกิดเทคโนโลยี GPRS ที่จะทำให้เราสามารถส่งข้อความแบบแนบรูปภาพ, เสียง, ข้อความในฉบับเดียว หรือก็ที่รู้จักกันในชื่อ MMS (Multimedia Messaging Service)

ต่อมาถึงแม้ส่งรูปภาพ เสียงข้อความ ดาวน์โหลด Ringtone หรือว่าใช้เสียงเรียกเข้าแบบ True Tone ได้ แต่ทำไมจะเข้าสู่โลกออนไลน์ด้วยดีไวซ์พกพาไม่ได้ละ ดังนั้นจึงเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการรับส่งข้อมูล EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) ขึ้น ซึ่งจะยังคงมีความเร็วที่จำกัดอยู่ แต่เราก็สามารถท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้แล้ว

สำหรับเทคโนโลยีในยุค 2G เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ เราก็เรียกเหมารวมว่า GSM หรือ (Global System for Mobile Communication)

สำหรับในยุคที่ 3 ของการติดต่อสื่อสาร หรือ 3G ต้องบอกว่าเป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดเพราะทุกๆ อย่างสามารถทำได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว โดยจะรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลไร้สายอย่างเต็มรูปแบบ อาทิ การโทรศัพท์ทางไกล, การเล่นเกมออนไลน์, การรับชมความบันเทิง Streaming หรือการท่องโลกอินเทอร์เน็ตด้วยสปีดรวดเร็วกว่า 2G ขึ้นเยอะ แต่ก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์ในวงกว้างได้ดีนัก เนื่องจากยังมีข้อจำกัด

เชื่อว่าหลายคนเคยคิดว่าเทคโนโลยีไร้สายความเร็วสูงที่เราใช้กันทุกวันนี้อย่าง 4G LTE นั้นคืออย่างเดียวกัน แต่แท้จริงแล้วไม่ใช่ เพราะคำว่า 4G คือความหมายที่ว่าเราอยู่ในยุคการพัฒนาครั้งที่ 4 แล้ว หรือ 4th Generation ส่วนคำว่า LTE หมายถึง Long Term Evolution โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนา การรับ-ส่งข้อมูลให้รวดเร็วมากขึ้นจากการนำพื้นฐานยุค 1G - 3G ทั้งหมดมาต่อยอดส่งผลให้สามารถทำความเร็วได้ถึง 100Mbps ถึง 1Gbps แล้วแต่ระดับของเทคโนโลยีในอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น ระดับ Cat 4. (อัตราดาวน์โหลด 150 Mbps) และระดับ Cat 6. ทำอัตราดาวน์โหลดได้อีกหนึ่งเท่าตัวคือ 300 Mbps ซึ่งในปัจจุบันก้าวกระโดดถึง Cat 12. แล้ว ทำความเร็วมาถึง 600Mbps

อุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่รองรับ 4G ส่วนใหญ่จะระบุเป็น Band อาทิ 1/3/5/7 เสียมากกว่า ตัวเลขเฉพาะเจาะจง เหมือนกับคลื่น 3G ดังนั้นการที่จะเลือกซื้อรุ่นใดรุ่นหนึ่ง จึงเป็นเหตุผลแรกเลยที่ผู้ใช้งานต้องตรวจสอบเสียก่อนว่า สมาร์ทโฟนรุ่นนั้นรองรับคลื่น 4G ในประเทศที่เราใช้งานหรือไม่

เทคโนโลยีที่มาพร้อมกับ 4G โดยเป็นระบบช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารได้รวดเร็วชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเดิมทีใช้งานแค่เพียงดาต้าเท่านั้น แต่เมื่อมีการรับสายหรือโทรออก ระบบจะทำการเปลี่ยนโหมดเป็น 2G หรือ 3G เท่านั้น ทว่าด้วยข้อจำกัดของการสนทนาในรูปแบบดังกล่าวจึงเกิดเป็นบริการ VoLTE ขึ้นมา โดยมีข้อดีดังต่อไปนี้

สามารถเชื่อมต่อคู่สายได้รวดเร็วกว่าเดิม (สมาร์ทโฟนต้นทาง-ปลายทาง ต้องรองรับการสนทนาแบบ VoLTE)

สนทนาแบบ Video Calling ได้ในระดับความละเอียด HD และ FullHD

ท่องโลกอินเทอร์เน็ต 4G ความเร็วสูงได้ไปพร้อมกับการโทร

สลับการคุยด้วยเสียงเป็นรูปแบบการสนทนาด้วยวิดีโอได้ทันที

เสียงสนทนามีความคมชัด และมีการรบกวนน้อย

ไม่คิดค่าใช้งานจากดาต้า แต่คิดตามแพ็กเกจ Voice ตามที่ได้สมัครไว้

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

การพัฒนาเทคโนโลยีย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด โดยใครบอกว่า 4G กลายเป็นอะไรที่สุดยอดแล้ว ทว่าไม่ใช่แบบนั้น เพราะความเร็วที่ได้ยังไม่ใช่จุดสูงสุด ดังนั้นจึงเกิดการต่อยอดเป็น 4G LTE - Advance

4G LTE - Advance ใช้หลักการของการรวมคลื่นสัญญาณความถี่มาเพิ่มช่องแบนด์วิธให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานและความกว้างของ Data มากขึ้น เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Carrier Aggregation "การรวมช่องสัญญาณ" หากโอเปอเรเตอร์มีคลื่นความถี่อยู่ เช่น 900/1800/2100 MHz สามารถนำคลื่นที่มีอยู่มาเพิ่มช่องสัญญาณให้กว้างขึ้น ซึ่งจะทำแบบนี้ได้ต้องอาศัยเสาสัญญาณที่มีอยู่ ณ พื้นที่นั้น ดังตัวอย่างในภาพ เห็นได้ว่าเดิมที 1 คลื่นสัญญาณทำความเร็วสูงสุด 75 Mbps ขณะเดียวกันถ้านำคลื่นความถี่มาเสริมจะสามารถทำความเร็วสูงถึง 150 Mbps เป็นต้น

สุดท้ายแล้วเรามาดูข้อสรุปกันหน่อยว่า การมาของ 4G มีประโยชน์อย่างไรในภาพรวม....?

กระตุ้นเศรษฐกิจทุกสัดส่วนทั้งทางตรงทางอ้อม และช่วยลดต้นทุน

เปลี่ยนโมเดลธุรกิจเข้าสู่ยุคดิจิทัล

ยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตในทุกด้าน

เกิดผลิตภัณฑ์หรือการบริการในบริบทใหม่ๆ

เป็นจุดเริ่มต้นของการเข้าสู่ยุค Internet Of Things เต็มรูปแบบ

การติดต่อสื่อสารทั่วโลกจะไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป

ต่อกันด้วยอีกหนึ่งเจนเนเรชั่นที่กำลังอยู่ในช่วงการพัฒนา กับเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงกับยุคที่ 5 หรือ 5G ที่ตอนนี้หลายบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำก็กำลังค้นคว้าและทดลองตามประเทศชื่อดังทั้งหลาย ตามข้อมูลบอกว่าสามารถให้ความเร็วขั้นตํ่า 500 Mbps ไปจนถึง 10 Gbps เลยทีเดียว หมายความว่ากิจกรรมแต่ละอย่างของเราก็จะมีแต่ความรวดเร็ว ใช้ระยะเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวคาดว่าสามารถใช้งานได้จริงในปีค.ศ. 2020 หรือพุทธศักราช 2563 แบบสมบูรณ์ และก็มีการประมูลไปอย่างเรียบร้อยแล้ว เตรียมเปิดให้ใช้งานเร็วๆ นี้

แน่นอนว่าก่อนสมัครแพ็กเกจท่องโลกอินเทอร์เน็ตของแต่ละโอเปอเรเตอร์จะมีคำเล่นอินเทอร์เน็ตได้ในปริมาณ 4GB ซึ่งถ้าหมดแล้วก็จะเหลือความเร็วเพียง 128 Kbps โดยความเร็วอันที่สองนี่ละครับที่หมายถึงเจ้า FUP ดังนั้นเรามาดูความหมายกันหน่อยว่าคืออะไร และมีเพื่ออะไร

สำหรับ FUP ย่อมาจาก Fair Usage Policy ซึ่งหมายถึงกฏเกณฑ์การใช้งานดาต้า (อินเทอร์เน็ต) บนเครือข่าย 3G/4G LTE ให้เป็นไปอย่างเท่าเทียมกัน กล่าวคือเมื่อเราใช้บริการดาต้าครบตามที่ได้สมัครไว้ในแพ็กเกจ ทางผู้ให้บริการก็จะปรับความเร็วของอินเทอร์เน็ตลงโดยอัตโนมัติ

โดยจุดประสงค์ที่ทำ FUP ไว้นั้นก็เพื่อให้เกิดการใช้งานที่เท่าเทียมกัน ซึ่งสามารถยกตัวอย่างได้ดังนี้

นาย ก สมัครแพ็กเกจ A โดยจะสามารถท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้ที่ดาต้าขนาด 4GB แต่นาย ก นั้นชื่นชอบที่จะดูหนังออนไลน์ และรับชม MV จาก YouTube อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งจะไม่ค่อยได้แชทเท่าไรนัก

นาย ข สมัครแพ็กเกจ A โดยจะสามารถท่องโลกอินเทอร์เน็ตได้ดาต้าขนาด 4GB แต่มีวิถีการใช้งานแค่เพียงการแชท ท่องเว็บ หรือดูโลกโซเชียลต่าง ๆ เท่านั้น ซึ่งนาย ข ไม่ชื่นชอบการดูหนังออนไลน์บนสมาร์ทโฟน เช่นเดียวกับ YouTube

เห็นได้ว่าทั้งสองมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกัน ซึ่งนาย ก ใช้แบนด์วิธสูงกว่านาย ข หลายเท่า แต่จ่ายเงินเท่าเทียมกัน 500 บาท คำถามคือเมื่อนาย ก ใช้งานขนาดนี้และหมดดาต้าที่กำหนดไว้ 4GB แล้ว จะยังสามารถใช้งานได้ต่อไปที่ความเร็วเท่าเดิม...?

ซึ่งดูเหมือนไม่แฟร์กับนาย ข เท่าไรนักทั้งที่จ่ายเท่ากัน แต่นาย ก ยังมาใช้งานได้ที่ความเร็วเท่าเดิม ดังนั้นในหลายประเทศจึงออกกฏเกณฑ์ FUP ขึ้นมา เพื่อให้เกิดการใช้งานอย่างเท่าเทียมกัน และไม่เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนของผู้ให้บริการสัญญาณ สำหรับการต้องลงทุนเสาสัญญาณเพิ่ม เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการ

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

แน่นอนว่าเรื่องของอินเทอร์เน็ตนอกจากมีคำอธิบายของกลุ่มต่างๆ กันไปแล้ว เรามาดูกันอีกด้านหนึ่งคือเมื่อเชื่อมต่อเข้าสู่โลกออนไลน์ สัญลักษณ์ที่ปรากฏขึ้นบนหน้าจอสมาร์ทโฟนนั้นหมายถึงอะไร มีหน้าที่อย่างไร.....?

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่การติดต่อสื่อสารไร้สาย กลายเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยขับเคลื่อนชีวิตและสิ่ง ของรอบตัว รวมถึงการทำธุรกิจต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ แต่การใช้งานอินเทอร์เน็ตบนสมาร์ทโฟนนอกจากใช้งาน Wi-Fi แล้ว หลายคนก็คงคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ 3G, H, H+, 4G LTE และ 4G LTE-A ที่จะปรากฏขึ้นใกล้ๆ แถบคลื่นความแรงของสัญญาณ แล้วสงสัยกันไหมว่าคืออะไร (ไม่ขอกล่าวถึงยุค GPRS กับ EDGE) ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจาก (http://telecomtalk.info)

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า สัญลักษณ์ดังกล่าวไม่จำเป็นต้องเปิดใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือต้องโทรเข้า-โทรออก ซึ่งหากเราตั้งค่าเปิด 3G - 4G ไว้ สัญลักษณ์ก็จะแสดงขึ้น

สำหรับสัญลักษณ์ 3G : หมายถึงว่าเปิดการใช้งานการเชื่อมต่อระดับ 3G อยู่ โดยความเร็วก็จะอยู่ที่ประมาณ 384 kbps เท่านั้น

สัญลักษณ์ H : พัฒนามาอีกขั้น ยังอยู่ในระดับเทคโนโลยี 3G เหมือนกัน เพียงแต่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือระดับความเร็วที่เพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะสามารถทำความเร็วได้ประมาณ 7.2 Mbps

สัญลักษณ์ H+ : ถูกพัฒนาให้มีความเร็วแรงกว่าเดิม ในยุคการเชื่อมต่อินเทอร์เน็ตเจนเนอเรชั่นที่ 3 สามารถทำความเร็วสูงสุดจากการผสมผสานเทคโนโลยี Wi-Fi MIMO จะอยู่ที่ประมาณ 337.5 Mbps (อ้างอิง

สัญลักษณ์ 4G หรือ LTE : ในยุคที่บ้านเราเดินทางมาถึงการบริการ 4G เต็มรูปแบบเช่นนี้ นั่นหมาย ความว่าถึงแม้จะอยู่ไกลแค่ไหนกี่กิโลเมตร เราสามารถติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ด้วยความแรงถึง 100 Mbps หรือขึ้นไป ทำให้โลกทั้งใบถูกย่อลงมาไว้ในสมาร์ทโฟนเท่านั้น

สัญลักษณ์ 4G+ : อีกหนึ่งขั้นของการพัฒนามาจาก 4G โดยเป็นการรวมคลื่นสัญญาณดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ความเร็วที่ดีกว่าเดิม ด้วยอัตราการดาวน์โหลดอาจสูงสุดถึง 1 Gbps เลยทีเดียว

ตัวย่อเยอะแยะไปหมดแล้ว การเชื่อมต่อแบบใดช้าสุดเร็วสุด "การเชื่อมต่อระดับ 4G+ ก็มีความเร็วสูงที่สุดส่วน 3G ช้าที่สุด" ส่วนการขึ้นโชว์ของสัญลักษณ์ขึ้นอยู่กับสเปกของตัวเครื่องด้วย เพราะบางแบรนด์จะไม่ได้แยกแยะไว้ให้ และส่วนความเร็วการเชื่อมต่อต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ในช่วงเวลานั้นกับบริเวณนั้นๆ

ลำดับต่อไปการตั้งค่าเชื่อมต่อสัญญาณแบบใด อาทิ 4G/3G/2G, 3G หรือ 4G เท่านั้นกรณียอมรับทุกการเชื่อมต่อทั้ง 3 แบบ หมายความว่าสมาร์ทโฟนของเราสามารถเชื่อมต่อสัญญาณได้ทุกรูปแบบ จึงส่งผลให้มีการสวิซท์ หรือสลับเปลี่ยนสัญญาณเกิดขึ้น แล้วสงสัยกันไหมว่าเพราะอะไร...?

สำหรับการสลับปรับเปลี่ยนสัญญาณ เกิดจากตัวสมาร์ทโฟนก็จะมองหาคลื่นสัญญาณที่ดี เสถียร และแรงที่สุดตามที่ตั้งค่าไว้ ยกตัวอย่าง "หากเราอยู่ในพื้นที่บางเขนการเชื่อมต่ออาจทำได้แค่ระดับ H+ เท่านั้น ทว่าถ้าเดินทางไปในเมือง เช่น ที่อนุสาวรีย์ และมีสัญญาณ 4G และ 4G+ ให้บริการอยู่ ตัวดีไวซ์ของจะปรับเปลี่ยนไปเชื่อมต่อคลื่นเร็วแรงแทนตามบริเวณที่มีเสาสัญญาณอยู่ เป็นต้น

หลังจากดูเรื่องราวของสัญลักษณ์และ 3G กับ 4G กันแล้วลำดับต่อไปมาดูในส่วนโรมมิ่งบ้างว่าคืออะไร

โรมมิ่ง หรือ Roaming : บริการข้ามแดนอัตโนมัติระหว่างประเทศ ที่จะสามารถใช้งานสมาร์ทโฟนขณะอยู่ต่างประเทศ ทั้งโทรออก รับสาย ส่งข้อความ SMS และเล่นอินเตอร์เน็ต หรือดาต้าได้สะดวกสบาย (ขึ้นอยู่กับแต่ละโอเปอเรเตอร์ว่ารองรับในประเทศไหนบ้าง) ไม่ต้องไปหาโทรศัพท์สาธารณะ หรือ ซื้อบัตรเพื่อโทรศัพท์ในต่างประเทศ เพียงแต่ผู้ใช้ก็ต้องรับรู้ว่าค่าใช้จ่ายสูงมากไม่ว่าจะเป็นแบบ Voice และ SMS เนื่องจากต้องทำการเชื่อมโยงเครือข่ายเข้าหากัน โดยค่าบริการจะเป็นอย่างไรก็จะขึ้นอยู่กับเครือข่ายที่เราใช้ในประเทศ รายละเอียดเพิ่มเติมมีดังนี้

เตรียมตัวให้ดีหากใช้งานซิมการ์ดในประเทศ ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ

อย่างที่เกริ่นข้างต้นการใช้งานต่างประเทศจะมีค่าใช้จ่ายที่สูง และไม่เท่ากันด้วยในแต่ละโซนประเทศ ดังนั้นทางที่ดีหากเราไม่ต้องการจะยุ่งยากไปวิ่งหาซิมการ์ดหรือเปิดบริการเบอร์โทรศัพท์ การใช้เบอร์เดิมที่เราใช้อยู่ภายในประเทศก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเช่นกัน

แต่ข้อสำคัญคือก่อนเดินทางก็จะต้องศึกษารายละเอียดให้ดีด้วยการไปคุยที่ศูนย์บริการดีที่สุด ไม่ควรพูดคุยผ่าน Callcenter เพื่อที่ว่าเราจะได้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย และไม่มีบิลค่าบริการสุดช็อกที่เกิดมาจากความเข้าใจผิดกันหรือพูดคุยขาดตกบกพร่อง นอกจากนี้ยังได้คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ครบถ้วนอีกเช่นกัน

วิธีปิดบริการโรมมิ่งในสมาร์ทโฟน

ระบบปฏิบัติการ iOS

โดยผู้ใช้จะต้องเข้าไปที่การตั้งค่า เลือกหัวข้อเซลลูล่าร์ < เลือกตัวเลือกข้อมูลเซลลูลาร์ < เลือกดาต้าโรมมิ่งว่าต้องการจะเปิดหรือปิด ตัวอย่างภาพมีทั้งแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์

ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมนูการตั้งค่าเพิ่มเติม < เครือข่ายมือถือ < การโรมมิ่งข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น...

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมของแต่ละผู้ให้บริการ....

ทำความรู้จัก Full NetCom 3.0 เทคโนโลยีใหม่ของการติดต่อสื่อสารบนสมาร์ทโฟน

เชื่อว่าใครหลายคนคงเข้าใจกันไปแล้วว่าชื่อเรียกดังกล่าวนั่นหมายถึงการที่ชิมการ์ดที่หนึ่งรองรับการใช้งาน 4G/3G ส่วนซิมการ์ดที่สองรองรับการใช้งาน 3G แต่แท้ที่จริงแล้วไม่ใช่นะครับ

ความจริงคือ เทคโนโลยีดังกล่าวหมายถึงการที่อุปกรณ์รองรับการใช้งาน 3 เครือข่ายโอเปอเรเตอร์ที่อยู่ในประเทศจีน ได้แก่ China Mobile, China Union และ China Telecom ส่วนคำว่า FullNet ได้ย่อมากจากการที่รองรับการเชื่อมต่อทั้งสามค่ายข้างต้นพร้อมกัน สุดท้าย 3.0 หมายถึงเดินทางมาในยุคที่ 3 แล้วนั่นเองครับ (อ้างอิง

แล้วทำไมใครๆ ก็บอกว่า การเชื่อมต่อรูปแบบดังกล่าวคือ FullNetCom 3.0 อาจจะเป็นเพราะยังไม่มีคำจำกัดความเรียกเท่านั้นเอง

ลำดับต่อไปมาดูในด้านการทำความรู้จักเรื่องราวของสมาร์ทโฟนแบบเจาะลึกขึ้นอีกว่าแต่ละอย่างนั้นคืออะไรบ้าง ...?

1. เริ่มกันที่วัสดุของตัวเครื่องกันก่อน โดยปัจจุบันผู้ผลิตหลายแบรนด์ส่วนใหญ่ เลือกใช้พลาสติกกับโลหะในการทำบอดี้ตัวเครื่อง ซึ่งมีข้อแตกต่างดังต่อไปนี้

สำหรับพลาสติกนั้นจะมีข้อดีที่นํ้าหนักเบา และสามารถทำลวดลายได้มากกว่าโลหะ รวมถึงทำให้สมาร์ทโฟนจะมีราคาที่ถูก ดังนั้นในรุ่นประหยัดเราจึงจะพบเห็นตัวเครื่องเป็นวัสดุพลาสติกซะส่วนใหญ่ แต่ข้อเสียก็คือการระบายความร้อน รวมถึงความพรีเมี่ยมที่ทำได้ไม่ดีเท่าโลหะ

ส่วนของโลหะกันบ้าง ปัจจุบันรุ่นกลางไปจนถึงรุ่นท็อป ก็มีการนำวัสดุโลหะมาเป็นบอดี้ตัวเครื่อง เพื่อเพิ่มแรงดึงดูดให้กับผลิตภัณฑ์ให้มีความหรูหรา สวยงาม ข้อดีคือจะสามารถระบายความร้อนได้ดีกว่าพลาสติก แต่มีนํ้าหนักมากกว่า และให้ความรู้สึกจับถือได้มั่นคง

เริ่มมีหลายแบรนด์นิยมหันมาใช้มากขึ้นแล้วนั่นคือ "กระจก" เพราะให้ทั้งความเงางาม ดูพรีเมี่ยม ยังให้ความแข็งแรงระดับหนึ่งอีกด้วย เนื่องจากผู้ผลิตใช้กระจกจาก Corning Gorilla Glass หรือว่าเลือกใช้กระจกที่ผลิตมาจากแร่แซฟไฟร์ เป็นต้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยรอยนิ้วมือ รวมถึงราคาแพง โดยผลิตมาถึงเบอร์ชั่น 6 แล้ว ซึ่งปัจจุบันมีสมาร์ทโฟนที่ใช้คือ OPPO R17 และ OPPO R17 Pro

หมายเหตุ : กระจกในที่นี้ไม่ได้หมายความว่า นำมาทำบอดี้ตัวเครื่อง แต่จะนำมาครอบทับไว้กับด้านหน้าจอและฝาหลังเท่านั้น

2. ด้านหน้าจอ นับได้ว่าในปัจจุบัน นั้นถูกพัฒนามาไกลเลยทีเดียว ซึ่งหากย้อนไปในอดีตคือขาวดำ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปกับมาถึงจุดที่แม้แต่สายตายังแยกแยะสีไม่ออกว่าคมชัดขนาดไหน เพราะฉะนั้นเรามาทำความรู้จักกันหน่อยว่ามีอะไรบ้าง

เริ่มกันที่ขนาดกว้างก่อนเพราะยังมีหลายคนที่ยังไม่รู้ว่าวัดอย่างไรสำหรับความกว้างนั้นจะวัดจากแนวทะแยงมุมของจอมุมหนึ่งไปยังอีกมุมที่ตรงข้ามกัน ซึ่งก็จะทำให้ได้ขนาดกว้างออกมา อย่างไรก็ตามขนาดของหน้าจอจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไปดังต่อไปนี้

ขนาดกว้าง 4 - 5 นิ้ว สามารถพกพาได้สะดวกจับถือถนัดมือไม่เล็กไม่ใหญ่จนเกินไป ข้อเสียคือมองเห็นรายละเอียดต่างๆ ยากสักหน่อยเพราะหน้าจอที่เล็ก

ขนาดกว้าง 5.1 นิ้ว - 7 นิ้ว อยู่ในขอบเขตที่พกพาแต่อาจลุ่มล่ามเพราะขนาดหน้าจอที่ใหญ่ ทว่าจะทำให้เรานั้นเต็มอิ่มกับคอนเทนต์ได้อย่างสะใจ

มากกว่า 7 นิ้ว แน่นอนว่าชมคอนเทนต์ครบทุกรายละเอียด ทว่าก็ต้องแลกด้วยการพกพาที่ลำบาก

หลังจากรู้ข้อดีข้อเสียของความกว้างหน้าจอกันไปแล้ว สิ่งที่ต้องมาคู่กันคือความละเอียดของหน้าจอ โดยในปัจจุบันได้ก้าวกระโดดไปถึงความละเอียด 4K แล้วดังนั้นจึงขอไล่เรียงอันดับให้ได้ทราบกันว่าอะไรคมชัดสุด...?

qHD (Quarter of High-Definition) เป็นระดับความละเอียดที่นิยมใช้กับสมาร์ทโฟนรุ่นเล็ก ซึ่งมีความละเอียดอยู่ที่ 960 x 540 พิกเซล

HD (High-Denfinition) นิยมใช้กับรุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นกลาง มีความละเอียด 1280 x 720 พิกเซล

FullHD (Full High-Definition) นิยมใช้กับรุ่นกลาง ความละเอียด 1920 x 1080 พิกเซล

Quad-HD หรือ 2K ส่วนใหญ่จะอยู่ในบรรดารุ่นท็อป ด้วยความละเอียด 2560 x 1440 พิกเซล

Ultra HD หรือ 4K (Ultra High Definition) โดยรุ่นแรกของโลกที่ใช้ความละเอียดนี้คือ Sony Xperia Z5 Premium มาพร้อม 3840 x 2160 พิกเซล

แต่สิ่งสำคัญคือความละเอียดหน้าจอ นั้นถึงแม้จะสูงเพียงใด สายตาก็ไม่สามารถแยกแยะได้อย่างเห็นชัด ทั้งหน้าจอของสมาร์ทโฟนเล็กเกินไป ซึ่งความละเอียด 2K - 4K จะเห็นความแตกต่างต่อเมื่ออยู่บนหน้าจอความกว้าง 50 นิ้วขึ้นไป โดยต้องบอกว่าภาพที่ได้นั้นคมกริบเลยทีเดียว

แล้วจึงมีคำถามตามมาคือ ในเมื่อไม่สามารถแยกแยะเฉดสีอย่างเห็นได้ชัดบนหน้าจอสมาร์ทโฟนแล้วหลากหลายแบรนด์จะนำมาใช้งานบนดีไวซ์ทำไม...?

คำตอบคือ : เพื่อสร้างความแตกต่างเมื่อแบรนด์แรกนำมาใช้ แบรนด์อื่นก็ตามมาใช้เช่นกัน ทั้งยังถูกวางตำแหน่งทางการตลาดไว้ว่าเป็นจำพวกรุ่นท็อป ซึ่งก็ตามมาด้วยราคาที่สูงกว่านั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งประเด็นน่าสนใจคือหน้าจอขนาดใหญ่ที่กำลังเป็นเทรนด์ ณ ขณะนี้ อ่านข้อมูลเพิ่มเติม: ไขข้อสงสัย! หน้าจอสมาร์ทโฟนอัตราส่วน 18:9/19: และความละเอียด HD+, FHD+ คืออะไร

จุดเริ่มต้น...รอยบากกล้องหน้า (Notch-Display) มีแบบไหนบ้าง? กล้องหน้าโทรศัพท์มือถือได้ถูกพัฒนาไปมาก ตั้งแต่ยุคแรกติดอยู่ที่หน้าจอฝาพับ มาจนถึงติดเลนส์กล้องเข้าไปที่หน้าโทรศัพท์ ในสมัยนั้นไม่มีความรู้สึกว่าเกะกะ รุ่นที่ชัดๆ น่าจะเป็น Nokia 6680 มือถือติดกล้องหน้ารุ่นแรกของโนเกีย (ลองเข้าค้นหาได้ที่ ที่เปิดตัวมาเพื่อใช้งานวิดีโอคอลล์เป็นหลัก ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อถ่ายภาพตัวเองแต่อย่างใด

หนึ่งในคุณสมบัติที่ไม่ควรมองข้าม

โหมดตัดแสงสีฟ้า (Blue Light Cut) : โดยสมาร์ทโฟนในปัจจุบันหลายรุ่น ต่างก็เริ่มมีฟีเจอร์ดังกล่าวให้กับผู้ใช้งาน เป็นทางเลือกสำหรับการใช้งานตอนกลางคืน ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานแล้ว ตัวดีไวซ์จะตัดแสงสีออกไปทันที แบ่งเป็นระดับน้อยไปถึงมาก ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ ทำให้ช่วยถนอมสายตามากขึ้น ทางที่ดีผู้ใช้ควรตระหนักไว้ว่า "ใช้งานสมาร์ทโฟนแต่พอดีเหมาะสม ไม่ควรยึดติดให้มากเกินไป เพราะร่างกายของเราจะไม่ปกติ" ทำไมผมถึงบอกว่าไม่ปกติ ลองมาดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากแสงสีฟ้ากันครับ ข้อมูลอ้างอิงจาก (Harvard Health Publication) และความผิดปกติที่เกิดจากการนอนน้อย อ้างอิงข้อมูลจาก

สำหรับแสงสีฟ้ามักพบเจอได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีอนุภาพสูง โดยสามารถทะลุทะลวงได้ถึงจอประสาทตาทำให้เมื่อรับแสงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้ดวงตารู้สึกเหนื่อยล้า ตาแห้ง และถ้ารับติดกันเป็นระยะเวลานานทุกวัน อาจส่งผลร้ายจนเป็นต้อกระจก ซึ่งช่วงกลางวันเราอาจไม่ค่อยรู้สึกเท่าไรนัก เนื่องจากมีแสงอยู่รอบตัว แต่เมื่อใดที่บริเวณนั้นไม่มีแสงเพียงพอหรือมืดไปเลย แล้วยังได้รับแสงสีฟ้าอยู่อันตรายเกิดขึ้นแน่นอน เพราะนอกจากสายตาจะเสีย ยังส่งผลให้สมองไม่สามารถแยกแยะว่านี่คือเวลานอน หรือเวลากลางวัน ทำให้เกิดอาการหลับยาก และเมื่อนอนน้อยส่งผลดังนี้

ขี้หลงขี้ลืม การจดจำสั้นลง : เนื่องจากการนอนน้อยส่งผลให้สมองพักไม่เต็มที่ จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานก็ถดถอยลงไปด้วย

เนื่องจากการนอนน้อยส่งผลให้สมองพักไม่เต็มที่ จึงทำให้ประสิทธิภาพการทำงานก็ถดถอยลงไปด้วย เมื่อนอนไม่หลับ ก็จะกลายเป็นโรคหลับยาก : ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนน้อย ระบบต่างๆ ในร่างกายก็จะผิดเพี้ยน ก่อเกิดโรคตามมา

เครียดสะสม : เกิดความเพลียและฮอร์โมนเมลาโทนินถูกยับยั้ง อาการหงุดหงิดย่อมเกิดขึ้น

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

นอกจากนี้มีอีกหนึ่งรูปแบบการแสดงผลที่ต้องรู้จักเพราะในปัจจุบันนั้นได้รับความนิยมในสมาร์ทโฟนหลายๆ รุ่น อีกทั้งยังมีคอนเทนต์รองรับแล้วด้วย คือเทคโนโลยี HDR บนจอแสดงผล อ่านบทความเพิ่มเติม....

3. ด้านหน่วยประมวลผล

ปัจจุบันมีผู้ผลิตชิปเซ็ตประมวลผลที่นิยมใช้กัน 6 ค่าย Qualcomm, MediaTek, Intel, Exynos และ Nvidia และ Kirin โดยแบ่งหน่วยประมวลผล (Central Processing Unit หรือ CPU) ออกเป็น Dual-core, Quad-core, Octa-core และ Deca-core ซึ่งเราจะมาทำความรู้จักกันว่าแต่ละอย่างคืออะไร

สำหรับ CPU Dual-core เป็นหน่วยประมวลรุ่นเล็กสุดซึ่งก็มีแกนทำงานเพียง 2 แกนในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ส่วน Quad-core ได้เพิ่มแกนทำงานขึ้นมาอีก 2 แกนเป็นทั้งหมด 4 แกน จนพัฒนามาเป็น Hexa-core หรือ 6 แกนประมวลผล และมีหน่วยประมวลผลยอดฮิตที่หลายแบรนด์นิยมใช้กันคือ CPU Octa-core กับหน่วยประมวลผล 8 แกน สุดท้ายอีกหนึ่งความก้าวหน้าของวงการชิปเซ็ตสมาร์ทโฟนที่ภายในปีพุทธศักราช 2559 เราจะได้เห็นกันอย่างแน่นอนนั่นคือ CPU Deca-core กับคุณสมบัติการประมวลผล 10 แกน โดยแบ่งการทำงานออกเป็น 3 กลุ่ม (Tri-cluster CPU) คลิกอ่านข่าวเปิดตัวชิปเซ็ตดังกล่าวได้ที่

แต่ถ้ายังไม่เข้าใจนักก็ให้ลองนึกภาพดูว่าเมื่อเริ่มแรกเรามีคนทำงานเพียง 2 คน (Dual-core) ทว่ามันคงดีกว่าถ้าเราทำงานใดงานหนึ่งถึง 4 คน และแน่นอนว่าถ้าเราจะทำงานใดงานหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ 10 คน (CPU Deca-core) มันก็ดีกว่าแน่นอน เพราะฉะนั้นจึงเปรียบ CPU ได้กับแรงงานที่ยิ่งมีมากยิ่งดี

อย่างไรก็ตามถึงแม้หน่วยประมวลผลต่อท้าย (Dual-core, Quad-core หรือ Octa-core) จะเร็วมากน้อยแค่ไหน ก็ไม่ได้ความว่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีตามไปด้วย ซึ่งชิปเซ็ตบางตัวบอกปริมาณเท่านี้ แต่ผลที่ได้กับไม่ได้เป็นเช่นนั้น ดังนั้นท้ายที่สุดแล้วต้องลองหาข้อมูล และลองเล่นดูก่อนตัดสินใจซื้อดีที่สุด แต่ต้องคำนึงถึงหน่วยประมวลผลที่มีอยู่ด้วย เพราะถ้าใช้เพียง Quad-core แต่ไปใช้งานหนัก ๆ มากเกิน อาจไม่เหมาะสม

4. 32 บิต กับ 64 บิต ต่างกันอย่างไร

เชื่อว่ายังมีหลายคนสงสัยกันว่า ทำไมถึงต้องมี 32 บิต หรือ 64 บิต เพราะคงต้องบอกว่าการประมวลผลของสมาร์ทโฟนนั้นมีหลักการเดียวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งสาเหตุที่ต้องมี 64 บิต เพราะว่าบางแอพ ฯ นั้นต้องอาศัยการคิดคำนวณที่มีความซับซ้อน เช่นเดียวกับการพัฒนาของระบบปฏิบัติการที่จะต้องมีฟีเจอร์ต่าง ๆ มากขึ้น โดยถ้าหากใช้บิตที่น้อยในการทำงาน อาจเกิดการติดขัดและไม่ลื่นไหล เพราะฉะนั้นการที่เราใช้สมาร์ทโฟนที่รันบนสถาปัตยกรรมแบบ 64 บิต จึงดีกว่าที่เลือกซื้อรุ่น 32 บิต อย่างแน่นอน และในอนาคตสมาร์ทโฟนแบบ 32 บิตจะหมดยุคไปในที่สุด

5. ด้านหน่วยประมวลผลกราฟฟิก (GPU)

อย่างที่ใครหลายคนทราบกันว่าถ้าเราจะเล่นเกมใดเกมหนึ่งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ นั้นก็จะต้องมีหน่วยประมวลกราฟฟิกเสียก่อน หรือที่เรามักเรียกกันว่าการ์ดจอ บนสมาร์ทโฟนก็เหมือนกัน ซึ่งเดิมทีนั้นจะมอบหน้าที่ดังกล่าวให้กับ CPU แต่ผลลัพธ์ที่ได้ไม่มีประสิทธภาพมากพอ ทั้งก็ยังทำให้เครื่องอืดและร้อนโดยปริยาย ดังนั้นจึงมีการแยกการทำงานออกจากกัน เพื่อมุ่งเน้นการทำงานให้ตรงจุดประสงค์

ส่วน GPU มีความสำคัญอย่างไร หากจะเล่นเกมกราฟฟิกสูงๆ ต้องยกให้หน่วยประมวลผลดังกล่าวเรนเดอร์ภาพ ซึ่งหลักการเหมือนกับคอมพิวเตอร์เลย ถ้าเป็น GPU รุ่นล่างจะไม่สามารถเล่นเกมได้มีประสิทธิภาพมากนัก

6. ด้าน Ram

อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การใช้งานสมาร์ทโฟนมีความลื่นไหล โดยเฉพาะระบบแอนดรอยด์ที่ต้องอาศัย Ram ขนาดอย่างน้อย 3GB ด้วยเหตุที่มีฟีเจอร์ต่าง ๆ มาสนับสนุนการทำงานมากกว่าระบบปฏิบัติการอื่น ๆ อีกทั้งยังสามารถใช้งานแบบ Multitasking ไหลลื่นขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตามเชื่อว่าหลายคนคงเกิดคำถามว่า แล้วสมาร์ทโฟนที่มี Ram ขนาด 6GB อย่างที่วางจำหน่ายกัน นี่มันเกินความพอดีหรือไม่...?

ต้องบอกว่าถึงแม้จะมีเยอะ ก็ใช่ว่าจะดีเสมอไปเพราะต้องอาศัยปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย อาทิ ระบบปฏิบัติการที่ต้องอาศัยแรมในการขับเคลื่อนมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้ามีฟีเจอร์มากก็ต้องใช้มาก และด้านหน่วยประมวลผล (CPU) จะผสมผสานการทำงานได้ลงตัวมากน้อยแค่ไหน หรืออธิบายง่ายๆ ว่าต้องมีความสัมพันธ์กันนั่นเอง แต่ในทางทฤษฏีแล้วถ้ามี Ram มากการทำงานก็จะรวดเร็ว เช่น การทำงานแบบ Multitasking หรือการเรียกใช้งานฟังก์ชั่น รวมถึงแอพ ฯ ต่างๆ

และในปัจจุบันเองก็มี Ram สูงถึง 10GB กันไปแล้ว เพราะฉะนั้นมาหาคำตอบกันว่า มันเกินความจำเป็นหรือไม่

นอกจากนี้บางแอพ ฯ ยังต้องการ Ram ที่สูงด้วย เพื่อให้เกิดการทำงานไหลลื่น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าระบบแอนดรอยด์ต้องมี 3GB หรือขึ้นไป ส่วนระบบปฏิบัติการ iOS และ Windows Phone จะมี Ram 2GB ก็เพียงพอต่อการใช้งานเบื้องต้นแล้ว แต่ปัจจุบันก็ขยับขึ้นไป 4 - 10GB แล้วเช่นกัน

Asus ZenFone 2 สมาร์ทโฟน Ram 4GB เครื่องแรกของโลก

Xiaomi Mi Mix 3 สมาร์ทโฟน RAM 10GB เครื่องแรกของโลก

7. ด้านพื้นที่เก็บข้อมูลภายใน (Rom)

นับได้ว่าปัจจุบันหน่วยความจำภายในนั้นกลายเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม เพราะว่าการใช้งานแอพ ฯ ต่างก็ต้องใช้พื้นที่สำหรับเก็บข้อมูลอยู่เสมอโดยเฉพาะในสมาร์ทโฟนรุ่นที่มี Rom เพียง 8GB หรือ 16GB คงต้องเหนื่อยหน่อย เพราะต้องหมั่นลบแอพฯ หรือเคลียร์ไฟล์ขยะอยู่ตลอด ดังนั้นทางที่ดีถ้าผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะเลือกซื้อรุ่นใดให้มองหา รุ่นที่มีพื้นที่เก็บข้อมูลภายในมากกว่า 16GB ขึ้นไปจะดีกว่า

8. ด้านพื้นที่เก็บข้อมูลภายนอก (MicroSD Card)

แน่นอนว่าการมีสมาร์ทโฟนที่รองรับ MicroSD Card นั้นทำให้เราไม่ต้องปวดหัวยุ่งยากในการลบ เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลภายใน อย่างไรก็ดีส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะรองรับ 32/64/128GB/200GB และมากที่สุดก็คือ 2TB เพียงแต่ยังไม่มีวางจำหน่ายเท่านั้นเอง ซึ่งก่อนซื้อ MicroSD Card มาใส่เราจึงจำเป็นต้องตรวจสอบก่อนว่ารุ่นนั้น ๆ สามารถใช้งานได้สูงสุดเท่าใด

และตรวจดูความจุที่สมาร์ทโฟนรองรับแล้วผู้ใช้ต้องทราบด้วยว่า MicroSD Card นั้นมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลจากการแบ่ง Class ออกเป็น 2/4/6/8/10 โดยเลข 10 มีความเร็วขั้นตํ่าสูงสุด สำหรับเลขคลาสเราสามารถดูได้จากตัวเลขที่อยู่ในวงกลม....

Class 2 ความเร็วในการเขียนข้อมูลขั้นต่ำ 2 MB / วินาที

Class 4 ความเร็วในการเขียนข้อมูลขั้นต่ำ 4 MB / วินาที

Class 6 ความเร็วในการเขียนข้อมูลขั้นต่ำ 6 MB / วินาที

Class 10 ความเร็วในการเขียนข้อมูลขั้นต่ำ 10 MB / วินาที

และถึงแม้จะมีคลาสแล้วใน MicroSD Card ก็ยังมีอีกหนึ่งประเภทที่ไม่ควรมองข้ามคือการเขียนข้อมูลแบบ Ultra-High Speed Bus หรือที่รู้จักกันในชื่อ UHS โดยประเภทดังกล่าวจะมีคุณสมบัติการเขียนข้อมูลเร็วกว่า Class 10 และมีอัตราความเร็วอยู่ที่ 30 - 312 Mbps ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทการ์ด (คลิกอ่านบทความเพิ่มเติม)

ข้อมูลอ้างอิง :

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

แล้วทำไมเราต้องใช้การ์ด MicroSD Card คลาสสูง ๆ เป็นเพราะอะไร...?

สำหรับการเลือกซื้อ MicroSD Card ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์การใช้งานของเรา โดยหากใช้งานทั่วไปก็ไม่ต้องเลือกซื้อคลาสสูงมาก Class 4 - Class 6 เพียงพอแล้ว แต่ถ้าชอบบันทึกวีดีโอแบบ FullHD ควรต้องซื้อ Class 10 เพราะการเขียนข้อมูลขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องลงการ์ด ต้องมีความเร็วที่เพียงพอ ไม่เช่นนั้นก็จะเขียนไม่ทัน ส่งผลให้เกิดอาการสะดุด

และถ้าบันทึกวีดีโอระดับ 4K ก็ต้องใช้การ์ด MicroSD แบบ UHS อย่างไรก็ตามเราก็ควรต้องตรวจเช็คด้วยว่าสมาร์ทโฟนของเรานั้นรองรับการ์ดหน่วยความจำภายนอกได้แบบไหนบ้างไม่เช่นนั้นเมื่อซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้ อาจเสียเงินฟรี

แน่นอนว่าถ้าหากต้องการใช้ MicroSD Card ประสิทธิภาพสูงๆ ย่อมต้องจ่ายในราคาที่แพง ดังนั้นจึงเกิดขึ้นอีกหนึ่งทางเลือกคือของปลอมที่ต้องบอกว่า ณ ตอนนี้มีวางจำหน่ายกันเพียบเลย เพราะฉะนั้นแล้วเรามาดูข้อแนะนำกันหน่อยว่า ควรเลือกซื้อและป้องกันอย่างไร

วิธีป้องกันและตรวจเช็คการ์ด MicroSD จะทำได้อย่างไรบ้าง....?

ถ้าหากซื้อผ่านช่องทางออนไลน์

ถ้าหากเราซื้อ MicroSD Card ผ่านช่องทางออนไลน์ แน่นอนว่ารูปของสินค้าที่นำมาแปะอาจเป็นของจริง หรือของปลอม และเราไม่สามารถแยกแยะตรวจสอบได้ ดังนั้นวิธีตรวจสอบเบื้องต้นคือ...

MicroSD Card ของแท้ต้องมียี่ห้อที่เรา นั้นคุ้นหู หรือเคยได้ยิน ถ้าบนการ์ดเขียนเพียงความจุ ระดับ Class และตัวอักษรดูผิดเพี้ยนดูไม่มีมาตรฐาน ควรมองข้ามไปซะ

นั้นคุ้นหู หรือเคยได้ยิน ถ้าบนการ์ดเขียนเพียงความจุ ระดับ Class และตัวอักษรดูผิดเพี้ยนดูไม่มีมาตรฐาน ควรมองข้ามไปซะ ตรวจสอบสินค้าประเภทเดียวกันจากผู้ขายหลายราย ว่ามีราคาสินค้าต่างกันมากน้อยแค่ไหน เพื่อเป็นข้อเปรียบเทียบ แต่ก็อย่าลืม ว่าถึงแม้จะมีราคาแพงใช่ว่าจะเป็นของจริง เพราะเราไม่ได้เห็นสินค้าด้วยตา

ว่าถึงแม้จะมีราคาแพงใช่ว่าจะเป็นของจริง เพราะเราไม่ได้เห็นสินค้าด้วยตา อ่านคอมเม้นท์คนอื่นที่เข้ามาซื้อสินค้าแต่ละผู้ลงขายรายการสินค้า เพื่อตรวจสอบว่ามีการ Feedback อย่างไรบ้าง

เปรียบเทียบจากร้านค้าตัวแทนจำหน่ายภายนอก ที่ไม่ใช่ช่องทางออนไลน์ และต้องเชื่อถือได้มีมาตรฐาน เพื่อเช็คดูว่ามีข้อแตกต่างด้านราคาและความสามารถมากน้อยแค่ไหน

ก่อนทำการสั่งซื้อสินค้า ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทใดควรอ่านกฏเกณฑ์ของช่องทางออนไลน์นั้นๆ ให้ดีเสียก่อน

สุดท้ายเมื่อสินค้าแล้ว จดชื่อผู้ลงขาย หรือข้อมูลต่าง ๆ ไปจนถึงหลักฐานทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายในครั้งนี้ไว้ให้ดี เพื่อใช้เป็นข้อพิสูจน์ต่อการยื่นเรื่องนำเงินคืน และแจ้งจับผู้กระทำผิด หากสินค้านั้นเป็นของปลอม

ถ้าหากซื้อด้วยตัวเองผ่านร้านค้าทั่วไป

แน่นอนว่าสินค้าแบบนี้ซื้อด้วยช่องทางออนไลน์นั้นคงสะดวกสบาย ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง หรือเวลาแต่อย่างใด ทว่าสินค้าบางประเภทก็อย่าลืมเตือนตัวเองว่า การดูสินค้าด้วยตาตนเองนั้นจะมีมาตรฐานกว่า ทั้งยังไม่ต้องเสียใจเมื่อซื้อสินค้ามาเป็นของปลอม เพราะอย่างน้อยเราก็สามารถใช้วิจารณญาณรวมถึงประสบการณ์ของตนเองตัดสินใจได้ ดังนั้นแล้วเราลองมาดูวิธีตรวจเช็คกันหน่อย...?

1. แพ็กเกจต้องไม่มีรอยแกะ ดูดีมีมาตรฐาน และที่สำคัญดูเครื่องหมายรับรองต่างๆ อีกทั้งควรสังเกต MicroSD Card ว่ามีหน้าตาที่ดูผิดเพี้ยน ไม่ว่าจะเป็นพื้นหลัง, ตัวอักษร, เฉดสี, รอยตัดของการ์ด ว่าดูเลอะเทอะไม่เป็นไปตามรูปลักษณ์ดังที่เราเคยเห็น

2. ถ้าหากมีของจริงที่เคยใช้งานควรนำติดตัวมาด้วย เพื่อเปรียบเทียบดูว่า มีความแตกต่างกันหรือไม่ซึ่งอย่างน้อยก็ทำให้เรามั่นใจได้

3. สุดท้ายการเลือกซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็ขอฝากไว้ว่าเราควรซื้อกับร้านขายที่มีมาตรฐาน ใบอนุญาตประกอบการที่ถูกต้อง เพราะสินค้าประเภทนี้ไม่ได้มีราคาถูก ทั้งยังมีการประกันสินค้าอีกด้วย

สรุป : การเลือกซื้อ MicroSD Card ที่ถูกต้องคือควรเลือกซื้อกับตัวแทนจำหน่ายที่ถูกต้อง และมีสติ๊กเกอร์รับประกันจากผู้รับผิดชอบที่เชื่อถือได้ (คลิกอ่านบทความเพิ่มเติม) และตรวจสอบผู้ขายว่ามีจริงหรือไม่ได้ที่

หลังจากพาไปทำความรู้จัก MicroSD Card กันแล้ว ก็มาดูอีกหนึ่งมาตรฐานของการ์ดหน่วยความจำประเภทใหม่กันบ้าง

สำหรับมาตรฐานใหม่ของการ์ดหน่วยความจำภายนอกคือ Universal Flash Storage (UFS) ซึ่งมีความแตกต่างกับการ์ดทั่วไปที่ใช้เทคโนโลยี eMMC โดยก็ถูกพัฒนามาเพื่อตอบโจทย์ด้านมัลติมีเดียให้ดีกว่าและมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ชื่อเทคโนโลยีของการ์ดหน่วยความจำตั้งโดยบริษัท Samsung และล่าสุดเดือนมีนาคม ปี 2016 หน่วยงาน Joint Electron Device Engineering Council (JEDEC) ก็ได้ออกเป็นมาตรฐานอย่างเป็นทางการแล้วในชื่อว่า "Universal Flash Storage (UFS) 1.0 Card Extension"

ด้านมัลติมีเดียที่ว่านี้หมายถึง : จะต้องรองรับคอนเทนต์ความละเอียดสูงเนื่องจากมีความเร็วในการอ่านเขียนสูง เช่น สมาร์ทโฟน, กล้องแอคชั่นคาเมร่า, หุ่นโดรนบันทึกภาพแบบ 360 องศา, แว่นตา VR แบบ 3D เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่าง UFS Card กับ MicroSD Card คือ : ดีไซน์ภายนอกของ UFS card คล้ายกับ microSD card เมื่อมองจากด้านหน้า แต่ด้านหลังจะมีการจัดเรียง PIN ที่แตกต่างกัน

9. ด้านแบตเตอรี่

ก็เหมือนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปที่ต้องใช้แบตเตอรี่ โดยผู้ผลิตส่วนใหญ่ต่างมุ่งเน้นการให้ความจุของแบตเตอรี่เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคแถมมาพร้อมเทคโนโลยีการชาร์จเร็วอีกด้วย โดยข้อแนะนำของการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนคือ....

ถ้าเป็นรุ่นเล็กไม่มีฟีเจอร์มากนัก ควรจะอยู่ที่ 2,000 - 2,500 mAh

ส่วนรุ่นกลางทางที่ดีควรจะอยู่ที่ประมาณ 2,501 - 3,000 mAh

แต่ถ้าเป็นรุ่นท็อปอัดแน่นไปด้วยฟีเจอร์ต่างๆ ต้องมากกว่า 3,000 mAh

นอกจากนี้ยังมีอีกเรื่องที่ควรรู้ไว้สำหรับแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนโดยมีรายละเอียดดังนี้....?

ถ้าหากแบตเตอรี่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้ผู้ใช้งานควรตระหนักว่าไม่ควรที่จะชาร์จและใช้งานไปพร้อมกัน เพราะจะส่งผลให้แบตเตอรี่นั้นเสื่อมไวเก็บประจุไฟไม่อยู่ ทั้งยังทำให้เครื่องร้อนโดยใช่เหตุ และเสื่อมไวไปในที่สุด ซึ่งต้องบอกว่าถ้ารุ่นตลาดหน่อยก็จะมีอะไหล่เยอะ ทำให้ไม่ต้องใช้เวลานานในการซ่อมแซ่ม แต่หากไม่ใช่รุ่นตลาดก็ต้องทำใจไว้หน่อยครับว่าอาจไม่มีเลยหรือใช้เวลานานเพราะต้องสั่งของเข้ามา และข้อสำคัญการเปลี่ยนก็ยุ่งยาก เพราะต้องแงะสมาร์ทโฟนของเรา ดังนั้นหากทำร้านที่ไม่ได้มาตรฐานอาจทำให้ดูไม่จืดเลยก็เป็นได้ครับ ทว่าอย่าลืมนะครับว่าไม่ว่าทางไหนก็เสียเงินอยู่ดี แต่จะเร็วจะช้าขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานของเรา

และถ้าแบตเตอรี่สามารถเปลี่ยนได้ละจะดูแลอย่างไรดี แน่นอนวิธีการใช้งานก็เหมือนกับข้างต้น เพียงแต่สามารถถอดเปลี่ยนได้ ผู้ใช้งานจึงไม่ต้องกังวล แต่ทางที่ดีก็ไม่ควรเล่นไปชาร์จไป อีกทั้งผู้ใช้ต้องอย่าลืมเลือกซื้อแบตเตอรี่ที่มีมาตรฐานการรองรับ รวมถึงการซื้อกับร้านที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ และยี่ห้อที่รู็จักกันอย่างกว้างขวาง

สุดท้ายขอฝากไว้ว่า : ไม่ควรปล่อยให้แบตเตอรี่หมด โดยก็ควรที่จะชาร์จไว้หากเหลือประมาณ 30-40% และถ้าหากซื้อมาครั้งแรกไม่จำเป็นต้องชาร์จทิ้งไว้ 8 ชั่วโมง เพียงแต่ชาร์จให้เต็มแล้วปล่อยไว้สักชั่วโมงหรือสองชั่วโมง อีกทั้งไม่ควรปล่อยชาร์จทิ้งไว้ทั้งคืน และที่สำคัญการปล่อยไว้จนหมด 0% บ่อยๆ อาจต้องเสียเงินในการเปลี่ยนแบตเตอรี่ก่อนเวลาอันควร

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ขั้นตอนการชาร์จแบตฯ ที่ถูกวิธีคือ....?

เสียบอะแดปเตอร์เข้ากับปลั๊กไฟ เสียบหัวชาร์จเข้ากับสมาร์ทโฟน

ส่วนวิธีการถอดอะแดปเตอร์ชาร์จแบตเตอรี่ที่ถูกวิธีคือ....?

ถอดหัวชาร์จที่กำลังชาร์จสมาร์ทโฟนก่อน ถอดอะแดปเตอร์จากปลั๊กไฟ

วิธีประหยัดแบตเตอรี่เบื้องต้นสามารถทำได้อย่างไรบ้าง....?

ปรับความสว่างหน้าจอแต่พอดี ไม่สว่างมากจนเกินไป ปิดระบบเชื่อมต่อเมื่อไม่ได้ใช้งาน อาทิ 3G, 4G, Wi-Fi, NFC, Wi-Fi Hotspot, GPS ใช้ธีมสีดำ งดการใช้ภาพเคลื่อนไหวบนหน้าจอหลักตลอดเวลา งดการใช้สมาร์ทโฟนขณะเครื่องร้อนจนผิดสังเกต

วิธีถนอมแบตเตอรี่ไม่ให้เสื่อมสภาพเร็ว

ชาร์จบ่อยๆ ดีกว่าปล่อยให้เหลือน้อย หลีกเลี่ยงการใช้แบตฯ จนหมด ถ้าเครื่องร้อนควรพักการใช้งาน เลือกอะแดปเตอร์และสายชาร์จที่มีคุณภาพ ไม่ควรใช้งานขณะชาร์จ

หลังจากทราบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแบตเตอรี่กันไปแล้วเราลองมาดูกันหน่อยว่าในปัจจุบันมีวิธีการชาร์จแบตเตอรี่ทั้งหมดแล้วกี่วิธี....?

ชาร์จกับปลั๊กไฟ ชาร์จไร้สายผ่านอุปกรณ์ Wireless Charger (ไม่ค่อยแนะนำ) ชาร์จผ่านแบตเตอรี่สำรอง ชาร์จผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ (ไม่แนะนำ) ชาร์จผ่าน Car Charger บนรถยนต์ (ไม่แนะนำ)

หมายเหตุ : ขอขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์

นอกจากระบบการชาร์จทั่วไปแล้ว ปัจจัยสำคัญที่ผู้ผลิตนิยมนำมาเป็นจุดขายให้กับสมาร์ทโฟนของตนเอง คือ การชาร์จเร็ว หรือ Fast Charging แล้วคืออะไรมาทำความรู้จักกันหน่อย...?

สำหรับฟีเจอร์ดังกล่าวจะทำให้ผู้ที่มีความจำเป็นต่อการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับสมาร์ทโฟนอยู่เสมอมีความสะดวกขึ้น เพราะคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยิ่งใช้เครื่องมากเท่าไร แบตเตอรี่ก็หมดลงไวขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะรุ่นท็อปที่อัดแน่นไปด้วยคุณสมบัติต่างๆ มากมาย ถ้าบริหารจัดการไม่ดีแบตเตอรี่ก็หายไวไปในพริบตา นี่ขนาดยังไม่นับเรื่องการใช้งาน ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่วันหนึ่งวันจะไม่พกแบตฯ สำรอง

เพราะฉะนั้นด้วยจุดปัญหาดังกล่าว จึงคิดพัฒนาขึ้นซึ่งหลายคนอาจคุ้นเคยกันมาบ้างแล้ว กับประโยคที่ว่า ชาร์จเท่านี้นาที แต่สามารถใช้งานได้เท่านั้นนาที ต้องบอกว่าสามารถตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี

แต่ข้อเสียคือ : 1. แบตเตอรี่จะเสื่อมไว มีอายุการใช้งานที่สั้นลง 2. ถ้าแบตเตอรี่เสื่อมและถอดออกไม่ได้ ซึ่งปัจจุบันก็ส่วนใหญ่สิ่งที่เกิดขึ้นคือสมาร์ทโฟนต้องโดนงัดเพื่อเปลี่ยนแบตฯ และหากทำโดยช่างที่ไม่ชำนาญการซ่อมอาจมีปัญหาตามมาภายหลัง 3. ต้องใช้อแดปเตอร์ที่รองรับการชาร์จเร็ว

10. ด้านระบบเชื่อมต่อ

10.1 Wi-Fi เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ทำให้เราสะดวกสบายขึ้น ด้วยการใช้หลักการของคลื่นวิทยุในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งปัจจุบันก็นิยมมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้สามารถท่องโลกออนไลน์ทุกที่ทุกเวลา โดยที่ไม่ต้องมีสายเชื่อมต่อ เพียงแค่มีสัญญาณก็เชื่อมต่อได้แล้ว

แต่ข้อแนะนำของการต่อ Wi-Fi คือ ผู้ใช้งานไม่ควรเชื่อมต่อ Wi-Fi ในพื้นที่สาธารณะโดยที่ไม่รู้จักแหล่งปล่อยสัญญาณ เพราะอาจเกิดการดักจับข้อมูล ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมา และถึงแม้จะรู้จักก็ไม่ควรทำธุรกรรมทางด้านการเงินเช่นกัน

โดยยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่น่าสนใจคือ Wi-Fi Alliance ได้ประกาศเปลี่ยนชื่อมาตรฐาน WiFi จากเดิมที่มีหลากหลายตัวย่อ ก็จะปรับชื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

การเปลี่ยนชื่อเรียกเทคโนโลยี Wi-Fi เป็นตัวเลขมีรายละเอียดดังนี้

10.2 VoWiFi อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะก็จะช่วยอำนวยความสะดวกให้การติดต่อสื่อสารไม่ขาดตอน ด้วยการใช้สัญญาณ Wi-Fi แทนที่การใช้สัญญาณจาก ผู้ให้บริการเครือข่าย ในบริเวณที่ไม่มีสัญญาณนั่นเอง

10.3 Wi-Fi MIMO เชื่อว่าหลายคนคงประสบปัญหาสัญญาณอ่อนไม่เสถียร หรือขาดช่วงขาดตอนเมื่อเวลาใช้งาน ดังนั้นจึงเกิดเทคโนโลยี้ดังกล่าวขึ้น ด้วยการเพิ่มเสาสัญญาณส่งและเสารับสัญญาณมากขึ้น เพื่อเพิ่มช่องแบนด์วิธ รวมถึงเพิ่งกำลังของสัญญาณให้แรงขึ้น โดยในปัจจุบันสมาร์ทโฟนรุ่นท็อปก็จะรองรับการใช้งาน Wi-Fi ในลักษณะนี้เช่นกัน

10.4 Wi-Fi Direct อีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนามาบนพื้นฐาน Wi-Fi โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับได้โดยที่ไม่ต้องใช้สายเชื่อมต่อ ทั้งยังเชื่อมต่อมากกว่า 2 อุปกรณ์ขึ้นไปอีก โดยเทคโนโลยีนี้ถูกคาดกันว่าจะมาแทนที่ Bluetooth ในอนาคตด้วยข้อดีที่เชื่อมต่อได้ไกลกว่า รวมถึงมีความปลอดภัยมากกว่า และมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่เร็วกว่า

10.5 Wi-Fi Hotspot แน่นอนว่าเมื่อเราเล่น Wi-Fi บนสมาร์ทโฟนได้ ทำไมถึงจะแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับคนอื่นไม่ได้ ดังนั้นในดีไวซ์ส่วนใหญ่จึงมีฟังก์ชั่นนี้เข้ามา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การใช้งาน ซึ่งผู้ใช้สามารถกำหนดชื่อ Wi-Fi รวมถึงรหัสการเชื่อมต่อได้ แต่ข้อควรระวังคืออย่าลืมตรวจดูดาต้านะครับ มิฉะนั้นอาจเสียเงินหรืออินเทอร์เน็ตหมดไม่รู้ตัว หากเพื่อนเล่นของเราซะเพลิน

10.6 Bluetooth เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารไร้สายระหว่างอุปกรณ์หนึ่งกับอุปกรณ์หนึ่ง โดยจะนิยมใช้กับอุปกรณ์เสริมจำพวกหูฟัง หรือลำโพงพกพาต่าง ๆ โดยปัจจุบันได้เดินทางมาถึงเวอร์ชั่นที่ 5 แล้ว ซึ่งมีสมาร์ทโฟนหลายรุ่นได้นำไปใช้

10.7 A2DP Bluetooth สำหรับคำว่า A2DP ก็ย่อมาจาก Advanced Audio Distribution Profile ซึ่งผู้ใช้สามารถฟังระบบเสียงในระดับ Stereo ผ่านการเชื่อมต่อบลูทูธ

10.8 ANT+ Bluetooth อีกหนึ่งเทคโนโลยทีที่ถูกพัฒนาให้บลูทูธสามารถใช้งานกับอุปกรณ์เสริมจำพวกกีฬาสำหรับการส่งข้อมูลได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งยังประหยัดพลังงานอีกด้วย

10.9 Micro USB 2.0 มีหน้าที่ถ่ายโอนข้อมูลและชาร์จแบตเตอรี่แต่จะมีอัตราความเร็วช้ากว่า USB Type-C อยู่มาก ข้อดีคือสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป ส่วนข้อควรระวัง เลือกซื้อสายให้มีประสิทธิภาพ เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สินได้ (เฉพาะแอนดรอยด์)

10.10 USB Type-C เป็นการปฏิวัติวงการเลยทีเดียว เมื่อมีการนำ USB ประเภทดังกล่าวมาใช้งานจริงมากขึ้น ซึ่งข้อดีคือการสามารถเสียบด้านไหนก็ได้ไม่ว่าจะเป็นด้านบนหรือล่าง ทั้งยังมีอัตราการถ่ายโอนข้อมูลที่เร็วกว่า 2.0 เช่นเดียวกับการชาร์จแบต ฯ ของสมาร์ทโฟน

โลกเปลี่ยนแปลง ความเร็วในการเชื่อมต่อเกี่ยวกับถ่ายโอนข้อมูลยิ่งสำคัญ เพราะโทรทัศน์มีความละเอียดไปแล้วถึง 8K ดังนั้นใช้สายเดิมคงไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม USB Implementers Forum หรือ USB-IF ได้ออกมาตรฐานใหม่ของการเชื่อมต่อ

USB 3.2 Gen 1 อัตราการรับส่งข้อมูลที่ 5Gb/s ข้อความด้านการตลาดจะเรียกว่า SuperSpeed USB

อัตราการรับส่งข้อมูลที่ 5Gb/s ข้อความด้านการตลาดจะเรียกว่า USB 3.2 Gen 2 อัตราการรับส่งข้อมูลที่ 10Gb/s ข้อความด้านการตลาดจะเรียกว่า SuperSpeed USB 10Gbps

อัตราการรับส่งข้อมูลที่ 10Gb/s ข้อความด้านการตลาดจะเรียกว่า USB 3.2 Gen 2x2 อัตรารับส่งข้อมูลที่ 20Gb/s ข้อความด้านการตลาดจะเรียกว่า SuperSpeed USB 20Gbps

นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งกลุ่ม USB Promoter Group เปิดตัว USB 4 รองรับการส่งข้อมูลสูงสุดที่ 40 Gbps สามารถใช้งานร่วมกับสาย USB 3.2, USB 2.0 และ Thunderbolt 3 ทั้งนี้คาดว่ามาตรฐานจะพัฒนาเสร็จในปี 2019 ณ ปัจจุบันมีบริษัทไอทีชั้นนำเข้าร่วมทดสอบ ส่วนความเร็วข้างต้นเข้ากันได้ก็ต่อเมื่อรองรับมาตรฐานร่วมกัน

10.11 สาย USB Lighting ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้เฉพาะคู่กับผลิตภัณฑ์ของ Apple โดยมีหน้าที่เหมือนกันคือการถ่ายโอนข้อมูลและชาร์จแบตเตอรี่

10.12. อแดปเตอร์ (Adapter) ทำหน้าที่ชาร์จแชตเตอรี่ให้กับสมาร์ทโฟน และอุปกรณ์อื่น ๆ ทว่าปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยี Fast Charge เข้ามาเพื่อให้สามารถชาร์จแบตฯ ได้ไวขึ้นในระยะเวลาที่น้อยลง (แต่ดีไวซ์ต้องรองรับเทคโนโลยีดังกล่าวด้วย)

หมายเหตุ : คำเตือนผู้ใช้งานขอให้ตระหนักถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีแหล่งพลังงานเป็นกระแสไฟฟ้า หากใช้อย่างไม่มีคุณภาพอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินและชีวิต ดังนั้นทางที่ดีควรเลือกซื้อของที่มีประสิทธิภาพมียี่ห้อ มีหลักฐานการรับประกัน หรือสังเกตการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม

10.13 NFC คือเทคโนโลยีการสื่อสารระยะใกล้ด้วยการนำสมาร์ทโฟนของเราที่มีฟีเจอร์ดังกล่าว ไปแตะกับอุปกรณ์ดังกล่าวที่มีระบบ NFC แน่นอนว่าประโยชน์คือสะดวกสบายไม่ยุ่งยาก และปัจจุบันก็มีการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย

10.14 GPS เป็นเทคโนโลยีที่อยู่คู่กับโทรศัพท์มือถือมาอย่างยาวนานโดยมีหน้าที่ระบุตำแหน่งของเรา กับนำทาง ซึ่งได้ถูกนำไปใช้กับแอพ ฯ ด้วยเช่นกันรวมถึงอุปกรณ์เสริมในการนับจำนวนก้าว หรือระยะทางที่เราได้ทำกิจกรรมด้านกีฬาสำหรับวัดค่าการเผาผลาญของแคลอรี่ โดยเจ้าของคือประเทศสหรัฐอเมริกา

10.15 GLONASS ลักษณะคล้าย GPS มีหน้าที่นำทางและระบุตำแหน่งคิดค้นโดยประเทศรัสเซีย

10.16 A-GPS เป็นระบบค้นหา รวมถึงการระบุตำแหน่งบนพื้นผิวโลกเช่นเดียวกับระบบ GPS แต่จะแตกต่างกันที่สามารถรับสัญญาณได้แม้ว่าจะอยู่ภายในอาคาร เนื่องจากว่าเป็นการเชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (Assistance Server) ของผู้ให้บริการเครือข่าย

10.17 DLNA เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อผ่านระบบ Wi-Fi เพื่อทำให้อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ภายในบ้าน เชื่อมต่อกันได้ง่ายๆ แบบไร้สายทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นวีดีโอ ปริ้นเตอร์ กล้องวีดีโอและอื่นๆ ที่รองรับ DLNA จะสามารถแชร์ข้อมูลซึ่งกันและกันได้เลย ยกตัวอย่างเช่น การแชร์ภาพถ่ายจากสมาร์ทโฟนไปสู่เครื่องโทรทัศน์เพื่อทำให้ดูภาพได้ใหญ่ขึ้นและหลายคนในเวลาเดียวกัน

10.18 Miracast เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก DLNA โดยหลักการทำงานก็จะคล้ายกัน เพียงแต่ฟีเจอร์ดังกล่าวจะสามารถแสดงภาพได้ทั้งหน้าจอไม่ใช่เฉพาะไฟล์มีเดียเท่านั้น ทั้ง นี้การเชื่อมต่อก็ยังคงเป็นแบบไร้สาย (Wi-Fi) เช่นกัน

10.19 Continuum อีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ออกแบบมาให้เฉพาะสาวก Lumia ที่สามารถนำดีไวซ์ของเราไปใช้งานบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้ แค่นำ Microsoft Display Dock มาเสียบเท่านั้น โดยการใช้งานจะถูกแยกออกจากกันเป็นอิสระ

10.20 MHL ลักษณะการทำงานเหมือนกับสาย HDML แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือระหว่างการเสียบสายดังกล่าวจะมีการชาร์จพลังงานให้กับสมาร์ทโฟนด้วยจึงทำให้สามารถใช้งานได้ยาวนานต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังควบคุมการทำงานต่างๆ ผ่านทางรีโมทของโทรทัศน์ได้เลยอีกด้วย

10.21 USB - OTG หรือ USB On- the - go แปลความว่า การใช้งาน USB ขณะเดินทาง หรือสามารถใช้งานได้ทุกเวลา ทุกสถานที่นั่นเอง ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ตอนอยู่ที่บ้าน ที่ทำงานอีกต่อไป เพื่อดึงข้อมูลที่ต้องการมาใช้งาน

ดังนั้นเมื่อมีข้อจำกัดจึงพัฒนาฟังก์ชั่นนี้เพื่อตอบโจทย์ให้สามารถแบ่งปันข้อมูลได้รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถให้สมาร์ทโฟนจากการประยุกต์ใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ อาทิ เม้าส์, คีย์บอร์ด, Gamepad, Aircard, เครื่องปริ้นท์ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการใช้งานบางอุปกรณ์ จะต้องพึ่งพาอาศัยสาย OTG และอาจต้องมีแอพฯ ด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ด้านการใช้งาน USB OTG จะต้องซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมคือ "สาย" ซึ่งจะมีความแตกต่างจากสายทั่วไปดังนี้ ฝั่งที่เป็นหัว USB จะเป็นตัวเมียสำหรับเสียบเข้ากับอุปกรณ์ USB และอีกฝั่งเป็นหัว Micro USB เพื่อเสียบเข้ากับอุปกรณ์แอนดรอยด์ ส่วนขาของ Micro USB มีขั้วอยู่ 5 ขั้วขณะที่ USB มีแค่ 4 ขั้ว และนี่คือความแตกต่างระหว่างสายทั่วไปกับสาย OTG

ทว่าในปัจจุบันยกตัวอย่าง แฟลชไดร์ฟ ก็มักจะมีคุณสมบัติรองรับการใช้งาน OTG โดยที่ไม่ต้องซื้อสายเพิ่มเติม นำเข้าไปเสียบกับพอร์ตของดีไวซ์แอนดรอยด์ได้เลย

11. ด้านเซ็นเซอร์

โดยเหล่าเซ็นเซอร์พวกนี้ทำหน้าที่เหมือนเป็นตัววัดค่าวัดตำแหน่ง เพื่อช่วยให้อุปกรณ์ของเราทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบมากขึ้น และตรงตามจุดประสงค์ของกิจกรรมที่เราทำในแต่ละอย่าง สามารถแบ่งเซ็นเซอร์ออกเป็น 9 ประเภทดังต่อไปนี้

11.1 Accelerometer Sensor หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวของสมาร์ทโฟนว่าตอนนี้อยู่ในทิศทางใด การแสดงผลก็จะเป็นไปตามนั้นยกตัวอย่างเช่น หากเราใช้งานในแนวนอนการแสดงผลก็จะเปลี่ยนเป็นแนวนอนตามไปด้วย เป็นต้น

11.2 Gyroscope Sensor เป็นเซ็นตรวจจับการหมุน (Rotation) ทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหวของสมาร์ทโฟน เพื่อให้ทิศทางที่มีความถูกต้องสมดุลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะจับถือในอิริยาบถใด

11.3 Light Sensor หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับแสงจะทำหน้าที่ปรับความสว่างของหน้าจอให้เหมาะสมต่อสภาพแวดล้อม ณ ช่วงเวลานั้น

11.4 Proximity Sensor หรือเซ็นเซอร์ตรวจจับระยะห่างผู้ใช้ อธิบายง่ายคือ เมื่อนำดีไวซ์มาแนบกับหูเมื่อมีสายสนทนาเรียกเข้า หน้าจอจะดับเองอัตโนมัติ เพื่อป้องกันใบหน้าไปโดนปุ่มต่าง ๆ ทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้งาน เช่น หน้าไปโดนปุ่มตัดสาย, ปิดเสียง, ลำโพง เป็นต้น

11.5 Orientation Sensor เซ็นเซอร์ที่วัดค่าความเอียงให้แสดงผลตามที่ทิศทางที่เราเอียง กล่าวคือถ้าใครนึกไม่ออกให้ลองมองภาพว่าเรากำลังเล่นเกมแข่งรถอยู่โดยเราต้องเอียงซ้ายเอียงขวา เพื่อบังคับทิศทางรถ แล้วรถจะเปลี่ยนทิศทางตามที่เราเอียงไปนั่นละครับหน้าที่ของเซ็นเซอร์ตัวนี้

11.6 Sound Sensor ทำหน้าที่ตรวจจับเสียงระดับเดซิเบล (Decibel) จะสามารถตรวจจับเสียงได้ ทั้ง dB และ dBA สำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ

11.7 Magnetic Sensor อีกหนึ่งเซ็นเซอร์มีหน้าที่ช่วยนำทางให้เราเมื่อใช้งานแอพฯ แผนที่ หรือด้วยระบบ GPS ให้มีประสิทธิภาพ และแม่นยำมากขึ้นเสมือนเป็นเข็มทิศที่ช่วยกำหนดทิศทาง เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตกนั่นเอง

11.8 Pressure Sensor เป็นเซ็นเซอร์ที่วัดความดันอาการ โดยจะเป็นประโยชน์กับการทำงานร่วมกับแอพฯ สุขภาพ ในการประเมินว่าถ้าหากผู้ใช้ออกกำลังกายไปเท่านี้ ในสภาวะอากาศลักษณะนี้ จะได้ผลลัพธ์เป็นอย่างไร และยังมีประโยชน์เกี่ยวกับพวกแอพฯ นำทางตามพื้นที่ป่า, ภูเขา เป็นต้น

11.9 Temperature Sensor ทำหน้าที่ตรวจจับอุณหภูมิที่อยู่รอบตัว ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปประยุกต์ใช้ หรือวางแผนกับกิจกรรมต่างๆ ของตัวเองได้

11.10. Heartrate Sensor เป็นเซ็นเซอร์เดียวในปัจจุบันมีอยู่แค่สมาร์ทโฟนของ Samsung รุ่นท็อปเท่านั้น พบได้ในซีรีย์ S และ Note ซึ่งเราสามารถนำนิ้วมือไปแตะเพื่อวัดอัตราการเต้นของหัวใจเพื่อตรวจสอบสุขภาพและติดตามประวัติการนอนได้ โดยจะใช้ข้อมูลร่วมกับแอปฯ Samsung Health

หมายเหตุ : ขอขอบคุณข้อมูลจาก

12. ด้านระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัว

ปัจจุบันการใช้งานสมาร์ทโฟนผู้ใช้เองมักใส่ข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นชื่อจริง, วันเดือนปีเกิด, ข้อมูลบัตรเครดิต, อีเมล์ ข้อมูลทั้งหมดนี้จึงเป็นส่วนสำคัญที่ไม่ควรให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นจึงเกิดระบบการยืนยันตัวตนขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่กำลังใช้งานอยู่คือเจ้าของ หรือก็พูดง่ายๆ ว่าระบบดังกล่าวคิดค้นขึ้นเพื่อป้องกันการสวมรอย อาทิ การยืนยันตัวเบื้องต้น ยืนยันตัวตนผ่านลักษณะเฉพาะ

การยืนยันตัวตนแบบเบสิค แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ .....

ไม่มี : คือไม่มีการล็อคหน้าจอใดๆ เลย แบบปัด : ไม่มีการป้องกันใดๆ แต่สามารถเข้าใช้งานได้อย่างรวดเร็ว แบบรูปแบบ : กำหนดรูปแบบที่ต้องการเพื่อใช้ในการล็อก แบบ PIN : กำหนดเลข 4 หลัก เพื่อเป็นรหัสสำหรับการล็อกดีไวซ์ แบบรหัสผ่าน : กำหนดตัวเลขและตัวอักษร เพื่อเป็นรหัสผ่านสำหรับการล็อกดีไวซ์

สำหรับตอนนี้มีการยืนยันตัวตนอยู่ 4 แบบได้แก่การยืนยันตัวตนด้วยคำสั่งเสียง, การสแกนลายนิ้วมือ, สแกนม่านตา และสแกนรูหูโดยใช้หลักเสียงสะท้อน (เบื้องต้นได้เฉพาะอุปกรณ์หูฟังเท่านั้น)

13. การรองรับสองซิมการ์ด : อีกหนึ่งความสะดวกสบายของสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน หลายคนอาจคิดว่าพอมีหลายซิมการ์ดเข้าก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีก แน่นอนว่านั่นคือสิ่งที่ต้องยอมรับ ทว่าก็แลกด้วยประโยชน์ที่ผู้ใช้งานบางคนจำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นนี้ไว้ใช้ในชีวิตประจำวันมีอะไรบ้าง...?

แต่ก่อนไปดูว่าการที่สมาร์ทโฟนรองรับสองซิมการ์ดมีประโยชน์อย่างไร มาดูกันว่าขนาดของซิมการ์ดคืออะไร ไม่ว่าจะเป็นซิมการ์ดขนาดปกติ, MicroSIM หรือ NanoSIM ทำไมถึงต้องแบ่งแยก ?

คำตอบคือ ไม่มีอะไรเป็นพิเศษเลยครับ ไม่ว่าจะซิมการ์ดลักษณะใดก็มีเพียงจุดประสงค์เดียวใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารเท่านั้น ทว่าการที่ต้องมีขนาดต่างกันเป็นในเรื่องของ "ขนาด" เนื่องจากสมาร์ทโฟนปัจจุบันมักเน้นออกแบบให้มีความสวยงาม และขนาดที่บาง ทำให้ถ้าใช้ซิมการ์ดแบบเดิมก็ไม่อาจจะตอบโจทย์ข้อนี้ได้และอีกหนึ่งอย่างคือต้องการเพิ่มพื้นที่ภายในเพื่อสร้างทางเลือกในการเพิ่มชิปเซ็ตต่างๆ สำหรับฟีเจอร์ใหม่ๆ หรือเป็นเรื่องของดีไซน์นั่นเอง

ประโยชน์ของสองซิมการ์ดมีดังต่อไปนี้....?

1. เนื่องจากบ้านเรามีโอเปอเรเตอร์ให้บริการที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ผู้ใช้อย่างเราก็มีตัวเลือกการใช้งานแพ็กเกจมากขึ้นตามไปด้วยดังนั้นผู้บริโภคอย่างเราจึงได้ประโยชน์จากราคาที่มีการแข่งขันกัน เพราะฉะนั้นการที่มีหลายตัวเลือกย่อมดีกว่า เพราะบางเจ้าอาจจะมีค่าโทรถูกกว่า หรืออินเทอร์เน็ตได้ดาต้ามากกว่า เสมือนใช้ประโยชน์จากค่ายที่ให้อะไรมากกว่าที่เกิดจากการแข่งขัน ส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเพิ่มภาระค่าใช้จ่าย

2. อย่างที่ทราบในข้อหนึ่งว่า ปัจจุบันมีโอเปอเรเตอร์เพิ่มขึ้น ทำให้คลื่นความถี่ต่างก็ถูกถือครองแตกต่างกันไป ส่งผลให้สัญญาณของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นผู้ใช้งานจึงพบปัญหาว่าไปในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซิมการ์ดเครือข่าย A มีสัญญาณ แต่เครือข่าย B ดันไม่มีสัญญาณส่งผลให้เราต้องเลือกผู้ให้บริการสอดคล้องกับพื้นที่ที่ใช้งาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการติดต่อสื่อสาร

3. สิทธิพิเศษเพิ่มเติมไลฟ์สไตล์แต่ละคนไม่เหมือนกัน การตลาดนอกจากแข่งขันเรื่องราคาหลายโอเปอเรเตอร์ จึงมองเห็นว่าการมีสิทธิพิเศษจะช่วยดึงดูดความน่าสนใจต่อลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการมากขึ้น เช่น ส่วนลดค่าเครื่องดื่มและอาหาร, ตั๋วหนังซื้อ 1 ใบ อีกใบลดอีก 50%, ที่จอดรถพิเศษในห้างสรรพสินค้า, บริการ Wi-Fi เป็นต้น

4. จำแนกการใช้งานแต่ละซิมการ์ดบางคนอาจนำซิมการ์ดแรกไว้ใช้กับเรื่องงาน และอีกหนึ่งซิมการ์ดสำหรับเรื่องส่วนตัว ส่งผลให้ไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟนสองเครื่อง

หลังจากทราบประโยชน์ของสองซิมการ์ดกันไปแล้ว ต่อไปมาดูชนิดการทำงานของซิมการ์ดบ้าง โดยจะมีอยู่ 3 แบบดังต่อไปนี้

Dual SIM Standby (DSS) : แน่นอนว่ารองรับการใช้งานสองซิมการ์ด แต่จะอยู่โหมดสแตนบายเท่านั้น หมายความว่า เมื่อเรากำลังใช้งานซิมการ์ดใดซิมการ์ดหนึ่งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการโทรหรืออินเทอร์เน็ต อีกหนึ่งซิมการ์ด ก็จะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะไม่อยู่ในสถานะ Active เสมือนไม่มีสัญญาณเลย จึงสรุปว่านี่คือคุณสมบัติที่ไม่น่ามองหามาใช้งาน

แน่นอนว่ารองรับการใช้งานสองซิมการ์ด แต่จะอยู่โหมดสแตนบายเท่านั้น หมายความว่า เมื่อเรากำลังใช้งานซิมการ์ดใดซิมการ์ดหนึ่งอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการโทรหรืออินเทอร์เน็ต อีกหนึ่งซิมการ์ด ก็จะไม่สามารถใช้งานได้ เพราะไม่อยู่ในสถานะ Active เสมือนไม่มีสัญญาณเลย จึงสรุปว่านี่คือคุณสมบัติที่ไม่น่ามองหามาใช้งาน Dual SIM Dual Standby (DSDS) : ทั้งสองซิมการ์ดจะอยู่ในสถานะสแตนบาย ใช้งานได้เพียงทีละหนึ่งซิมการ์ดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสายสนทนาหรือดาต้า และมีข้อเสียการใช้พลังงานแบตเตอรี่มากกว่า DSS เพราะรับสัญญาณทั้งคู่

ทั้งสองซิมการ์ดจะอยู่ในสถานะสแตนบาย ใช้งานได้เพียงทีละหนึ่งซิมการ์ดเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นสายสนทนาหรือดาต้า และมีข้อเสียการใช้พลังงานแบตเตอรี่มากกว่า DSS เพราะรับสัญญาณทั้งคู่ Dual SIM Dual Active (DSDA) : ถูกพัฒนาจากข้อจำกัดข้างต้น ให้ซิมการ์ดก็สามารถสแตนบาย และใช้งานได้พร้อมกัน แน่นอนว่าถูกจัดอยู่ในกลุ่มดีไวซ์ราคาสูง และมีข้อเสียด้านพลังงานของแบตเตอรี่เหมือนกับ DSDS

ประเภท สแตนบาย กำลังทำงานอยู่ เช่น โทรเข้า/โทรออก และท่องโลกอินเทอร์เน็ต Dual SIM Standby ซิมการ์ดหนึ่ง : Active ซิมการ์ดสอง : Inactive ซิมการ์ดหนึ่ง : Active ซิมการ์ดสอง : Inactive Dual SIM Dual Standby ซิมการ์ดหนึ่ง : Active ซิมการ์ดสอง : Active ซิมการ์ดหนึ่ง : Active ซิมการ์ดสอง : Inactive Dual SIM Dual Active ซิมการ์ดหนึ่ง : Active ซิมการ์ดสอง : Active ซิมการ์ดหนึ่ง : Active ซิมการ์ดสอง : Active

นอกจากนี้ยังมีคำศัพท์ที่น่ารู้อีก 2 ประเภท ได้แก่ Hybrid Slot กับ Hot Swap...?

เนื่องจากในปัจจุบันการใช้งานฟังกชั่นสองซิมการ์ด และเสริมด้วยพื้นที่เก็บข้อมูลภายนอกนั้นเป็นจุดสำคัญของใครหลายคนไปแล้ว ทว่าด้วยข้อจำกัดของการออกแบบแต่ละรุ่นมีแตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ผลิตจึงนิยมให้ช่องใส่ซิมการ์ดและ MicroSD Card เป็นถาดที่สามารถใช้งานร่วมกันได้เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่พอจึงสรุปได้ว่าคุณสมบัติดังกล่าวหมายถึง Hybrid Slot หรือ "ถาดที่สามารถอ่านค่าได้ทั้งซิมการ์ดและ MicroSD Card"

แต่อย่าลืมวิธีใช้คือ ซิมการ์ดหนึ่ง + ซิมการ์ดสอง แต่ใส่การ์ด MicroSD ไม่ได้ ขณะที่อีกหนึ่งรูปแบบคือ ซิมการ์ดหนึ่ง + MicroSD Card และแน่นอนว่าใส่ซิมการ์ดที่สองไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีอีกหนึ่งรูปแบบถาดซิมการ์ดคือ 3 ช่อง หรือ Triple-Slot ซึ่งสามารถใส่ได้สองซิมการ์ดและหน่วยความจำภายนอกแบบไม่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

ส่วนอีกหนึ่งศัพท์ที่น่าสนใจคือ Hot Swap หมายถึง การที่ผู้ใช้สามารถสับเปลี่ยนซิมการ์ดได้โดยที่ไม่ต้องรีบู๊ทเครื่องอีกต่อไป โดยเมื่อเปลี่ยนซิมการ์ดใดซิมการ์ดหนึ่งรอสัญญาณสักครู่สามารถใช้งานได้ต่อไปเลย ช่วยเพิ่มความสะดวกและเสียเวลาน้อยลง

แน่นอนวันเวลาผ่านไป ย่อมมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น นั่นคือระบบ eSIM แท้จริงแล้วเกิดขึ้นมาเนิ่นนาน แต่ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย จึงไม่สามารถดึงจุดเด่นของระบบดังกล่าวมาใช้งาน ทว่าอนาคตใกล้เข้ามา ดังนั้นหากใครต้องการใช้ระบบการติดต่อสื่อสารสามารถก็เปิดบริการได้ที่โอเปอเรเตอร์ชั้นนำทั้ง AIS, dtac และ truemove H

14. มาตรฐาน IP หรือเรามักคุ้นหูในชื่อเรียกว่ากันนํ้ากันฝุ่น คืออะไร แล้วทำไมต้องมีตัวเลขตามหลังด้วย คำตอบคือ...?

เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติที่ผู้ใช้งานหลายคนชื่นชอบเลยก็ว่าได้ เพราะในหนึ่งวันทุกคนต้องพบเจอกับนํ้าและขี้ฝุ่นกันตลอดเวลา ดังนั้นการมีจุดเด่นเช่นนี้ก็สามารถทำให้เราเบาใจได้ เนื่องจากอุบัติเหตุมักจะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีระดับป้องกัน 100% หมดนะครับ เพราะมีระดับที่ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเป็นค่าตัวเลข มีอะไรบ้างมาดูกันเลย

มาตรฐานตัวนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นจากหน่วยงาน International Electrotechnical Commission (IEC). ภายใต้ข้อกำหนด "EN 60529" ซึ่งจะมีชื่อเรียกว่า International Protection Marking หรือที่รู้จักในชื่อ IP หมายความว่า การกำหนดความสามารถในการป้องกันตัวของอุปกรณ์จากสิ่งแวดล้อมภายนอก เพื่อป้องกันวงจรภายในจากของแข็งและของเหลว อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อบ่งบอกเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับคุณสมบัติการป้องกันด้วยเช่นกันกล่าวคือ จะมีตัวเลขสองตัว แล้วตัวเลขนี้คืออะไร มาหาคำตอบกันเลย....?

มาตรฐานระดับการป้องกัน ของแข็ง ของเหลว ระดับ 0 ไม่สามารถป้องกันอะไรด้เลย ไม่สามารถป้องกันของเหลวใดๆ ได้เลย ระดับ 1 ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 50 มม. ขึ้นไป เช่น หลังมือ แต่ไม่ป้องกันการยื่นชิ้นส่วนของร่างกายเข้าไปอย่างจงใจ ป้องกันหยดน้ำที่หยดลงมาในแนวดิ่ง ระดับ 2 ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 12 มม. ขึ้นไป เช่น นิ้วมือ หรืออะไรที่เล็กกว่า ป้องกันหยดน้ำที่หยดลงกระทบทำมุม 15 องศาจากแนวดิ่ง ระดับ 3 ป้องกันของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 2.5 มม. ขึ้นไป เช่น เครื่องมือ, สายไฟ เป็นต้น ป้องกันน้ำที่ตกกระทบทำมุม 60 องศาจากแนวดิ่ง ระดับ 4 ป้องกันจากของแข็งที่มีขนาดใหญ่กว่า 1 มม. ป้องกันน้ำได้รอบทุกทิศทาง ระดับ 5 ป้องกันฝุ่นละอองได้ แต่ไม่ครอบคลุมประเภทของฝุ่นทั้งหมด ป้องกันสายน้ำ (jet water) รอบทุกทิศทาง ระดับ 6 ป้องกันฝุ่นละอองได้ทั้งหมด ป้องกันน้ำ (jet water) ที่มีแรงดันคล้ายๆ กับน้ำทะเล ระดับ 7 ---------- ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการจุ่มลงในน้ำได้ แต่ความลึกต้องไม่เกิน 1 เมตร ระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที ระดับ 8 ---------- ป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการจุ่มลงในน้ำภายใต้แรงกดดันได้ ลึกกว่า 1.5 เมตร ระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที

ยกตัวอย่างมาตรฐาน IP ระดับ 68 หมายความว่าอย่างไร...?

ถ้าสมาร์ทโฟนรุ่นใดมีมาตรฐานนี้กำกับไว้อยู่ หมายความว่า ดีไวซ์นั้นจะสามารถกันฝุ่นได้ และกันนํ้าที่ความลึกไม่เกิน 1 เมตรครึ่ง ระยะเวลาไม่เกิน 30 นาที แต่ต้องเป็นนํ้าสะอาดและไม่มีแรงดันสูงเท่านั้น หากไม่เข้าใจลองอธิบายด้วยภาพดูครับ

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

15. ด้านกล้องดิจิตอล

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า กล้องดิจิตอลที่มีบนสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน นั้นมีประสิทธิภาพเกือบเทียบเท่ากล้อง DSLR เลยทีเดียว โดยก็มีทั้งโหมดต่างๆ มากมาย ที่ผสมผสานด้วยซอฟต์แวร์และเลนส์กล้อง รวมถึงเซ็นเซอร์ ส่งผลให้ภาพถ่ายที่ได้มีความสวยสดงดงามเป็นธรรมชาติ ซึ่งข่าวดีคือกล้องในสมาร์ทโฟนที่ดีๆ ไม่ต้องพบแค่เฉพาะรุ่นท็อปเท่านั้นแล้ว แต่ว่าเราก็สามารถพบในช่วงราคาตํ่ากว่าหมื่นก็มีเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เรามาทำความรู้จักรายละเอียดต่างๆ กันหน่อย

15.1 ความละเอียด : อย่างที่เราทราบกันว่าสมาร์ทโฟนทุกรุ่นต้องมีการโฆษณาว่าดีไวซ์ของตัวเองมีค่าความละเอียดเท่านั้นเท่านี้เช่น 12 ล้านพิกเซลบ้าง หรือ 20.7 ล้านบ้างละ แต่รู้หรือไม่ว่าถึงแม้จะความละเอียดสูงมากเพียงใด ก็ไม่ได้หมายความว่าภาพที่ได้นั้นจะมีความสวยสดงดงาม ด้วยเหตุที่ว่า การที่จะถ่ายภาพใดภายหนึ่ง นอกจากองค์ประกอบภายนอกแล้ว ภายในเป็นส่วนสำคัญเช่นกันอาทิ ประเภทของเซ็นเซอร์, เลนส์, ซอฟต์แวร์, รูรับแสง เป็นต้น

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า : ค่าความละเอียดสูงก็จริงอยู่ที่ทำให้ภาพถ่ายออกมาดี ท่วาก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ อย่างที่กล่าวข้างต้น มาประกอบกัน จนได้ภาพถ่ายออกมาเป็นขั้นตอนสุดท้าย แต่ก็อย่าลืมนะครับว่า เราอาจต้องทำใจไว้บ้าง เพราะถ้านำไปเปิดบนหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือหน้าจอทั่วไป ความสวยงามอาจไม่เหมือนกัน

15.2 OIS (ระบบป้องกันภาพสั่นไหว) : เราจะเห็นได้ว่าสมาร์ทโฟนส่วนใหญ่เริ่มนำระบบดังกล่าวใช้งานกันมากขึ้น โดยเดิมทีมี 2 แกนช่วยพยุงให้ภาพไม่สั่นไหว แต่ในปัจจุบันหลายบริษัทเริ่มพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กลายเป็น 3 แกน 4 แกน

15.3 ไฟแฟลช : ถ้าหากย้อนกลับไปในอดีต เรียกได้ว่าไฟแฟลชเป็นฟีเจอร์ที่ต้องร้อง Wow เลยทีเดียว เพราะช่วยให้การถ่ายภาพมีความสว่างมากขึ้น ทว่าเมื่อวันเวลาผ่านไปก็มีการพัฒนาตามไปด้วย ซึ่งจะมีหนึ่งดวง สองดวง หรือสามดวง และแต่ละดวงก็จะทำหน้าที่ต่างกันไป เพื่อให้ภาพถ่ายที่ได้ใช้แฟลชถ่ายนั้นมีความสมดุลของแสง เป็นธรรมชาติมากที่สุด

15.4 รูรับแสง : เชื่อว่าหลายคนยังมีความสับสนเกี่ยวกับเรื่องของรูรับแสงกันอยู่แน่ โดยรูรับแสงมีค่าหน่วยกำกับเรียกว่า “F” หรือที่เรียกกันว่า “ค่า F/Stop” ซึ่งเป็นตัวเลขกำกับแสดงขนาดของรูรับแสง อีกทั้งต้องจำเอาไว้ว่า " ค่าตัวเลขยิ่งน้อยรูรับแสงจะยิ่งกว้างขึ้น และค่าตัวเลขยิ่งมากรูรับแสงก็จะยิ่งแคบลง" ยกตัวอย่างเช่นกล้องสมาร์ทโฟนรุ่นหนึ่งที่มีค่า F/1.7 ก็จะถ่ายภาพได้ชัดสว่าง มากกว่าสมาร์ทโฟนที่มีค่า F/2.4 โดยจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อถ่ายในพื้นที่แสงน้อย

นอกจากนี้รูรับแสงยังสามารถใช้ปรับขนาดระยะโฟกัสซึ่งเวลาที่รูรับแสงเปิดกว้าง โฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์จะแยกส่วนกัน ทำให้สิ่งที่อยู่ในระยะโฟร์กราวด์คมชัด และสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในระยะแบ็คกราวด์จะเบลอ แต่ในทางกลับกันเมื่อรูรับแสงแคบ สิ่งที่อยู่ในระยะโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ก็จะอยู่ในช่วงโฟกัสทั้งหมด พื้นที่ที่อยู่ในโฟกัสนี้ เรียกว่า “ระยะชัดของภาพชัดตื้นและชัดลึก”

15.5 ความไวชัตเตอร์ หรือ Shutter Speed : อีกหนึ่งปัจจัยหลักในการควบคุมปริมาณแสง และลักษณะของภาพถ่าย กล่าวคือเมื่อแสงเดินทางผ่านเลนส์เข้ามายังตัวกล้อง ตัวชัตเตอร์จะเป็นเหมือนประตูเปิด-ปิด เพื่อกั้นแสงที่จะเดินทางต่อไปยังเซ็นเซอร์รับภาพที่อยู่ด้านหลังชัตเตอร์ต่อไป โดยยิ่งเปิดปิดเร็วมาก แสงก็จะเข้าได้น้อย ทว่าถ้าเปิดปิดช้ามาก แสงก็จะเข้าได้มาก

ส่วนลักษณะของภาพโดยยิ่งเปิดปิดเร็วก็จะยิ่งหยุดการเคลื่อนไหวเอาไว้ได้นิ่งสนิทมากยิ่งขึ้น เสมือนการฟรีสสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้หยุดนิ่ง ทว่าในทางกลับกัน ยิ่งเปิดปิดช้า ก็จะยิ่งทำให้เกิดลักษณะการเคลื่อนไหวของวัตถุในภาพมากยิ่งขึ้น แต่ข้อระวังคือไม่ควรใช้ในตอนกลางวันเพราะภาพถ่ายจะมีแสงจ้าไปเลย ดังนั้นจึงเหมาะถ่ายแค่ตอนกลางคืน และที่สำคัญภาพก็จะมีการเบลอเกิดขึ้นอาจต้องอาศัยขาตั้งเข้าช่วย จึงสรุปว่าเราต้องพิจารณาสิ่งที่กำลังถ่ายว่าควรเลือกความเร็วการเปิด/ปิดชัตเตอร์เร็วหรือช้า เพื่อให้ตรงวัตถุประสงค์ของภาพที่ต้องการจะถ่าย และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ของภาพได้ดีที่สุดนั่นเอง

โดยความเร็วชัตเตอร์จะมีหน่วยเป็นวินาที เช่น 1/15 คือ 1 ส่วน 15 วินาที หรือ 1/30 เท่ากับ 1 ส่วน 30 วินาที ยิ่งค่าตัวเลข "ส่วน" มากเท่าใด ความเร็วชัตเตอร์ก็จะมากขึ้นเท่านั้น

15.6 ความไวแสง หรือ ISO

สำหรับ ISO ทำหน้าที่ควบคุมแสงที่มากระทบกับเซ็นเซอร์ภาพ โดยจะแบ่งออกเป็นการตั้งค่าแบบตํ่าและสูง ซึ่งจะมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน โดย....

ค่า ISO ที่สูงมักใช้ในการถ่ายภาพพื้นที่สภาวะแวดล้อมที่มีแสงน้อยเนื่องจากแสงสว่างน้อยจึงจำเป็นที่จะต้องเร่งสัญญาณภายในตัวกล้องให้มีความไวแสงเพิ่มมากขึ้นเพราะถ้าหากเราไม่เลือกใช้ค่า ISO ที่สูงนั้นจะทำให้ภาพที่ได้เกิดอาการเบลอไม่ชัด หรือมืด เป็นต้น และหากปรับสูงเกินไปภาพที่ได้ก็จะมี Noise เกิดขึ้นมากตามไปด้วย ส่งผลให้ภาพแย่ลงไปโดยปริยาย

ส่วนค่า ISO ต่ำมักใช้ถ่ายในพื้นที่ที่มีแสงสว่างมาก เช่น ถ่ายภาพกลางแจ้ง หรือในพื้นที่ที่มีแสงเพียงพอ โดยภาพที่ได้จะมี Noise เกิดขึ้นเล็กน้อย หรือไม่มีเลย

สุดท้ายจึงสรุปได้ว่าค่า ISO : ต้องปรับให้ให้มีความเหมาะสมต่อสภาพแวดล้อมของพื้นที่ที่จะถ่ายรูป แต่ถ้าจะปรับค่า ISO สูงๆ ก็ต้องมองหาสมาร์ทโฟนที่มีเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยลด Noise ที่เกิดขึ้น

โดยทั้งสามข้างต้นรูรับแสง, ความไวชัตเตอร์ และความไวแสงเปรียบเหมือนเป็นลูกเล่นที่ช่วยให้ถ่ายภาพเป็นเรื่องสนุก และหลากหลายยิ่งขึ้น ส่งผลให้สามารถสื่อสารครุบทุกอารมณ์เหมือนประโยคที่ว่า "ภาพหนึ่งภาพสามารถสื่อสารแทนคำพูดได้หลายล้านคำ" แต่อย่าลืมทั้ง 3 ปัจจัยต้องมีการตั้งค่าให้มีความสัมพันธ์กันด้วย และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกเช่นกัน

ทั้งนี้การถ่ายภาพออกมาให้ดีเยี่ยมต้องอาศัยอยู่หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, ปัจจัยแวดล้อม, ความพอดีของเหตุการณ์นั้นๆ ที่เราต้องการจะถ่าย และประสบการณ์ เพราะฉะนั้นจงเลิกเชื่อความเชื่อผิดๆ ว่าค่าความละเอียดกล้องสูงจะทำให้ภาพถ่ายออกมาดี โดยจริงอยู่มันก็แค่ส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด

การถ่ายภาพตัวเอง ปรากฏให้เห็นครั้งแรก ต้องย้อนกลับไปปี 1839 หรือเมื่อประมาณ 180 ปีที่แล้ว ของ “โรเบิร์ต คอร์นีเลียส” นักเคมีสมัครเล่นและผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ วิธีการของเขา คือ การถอดฝาครอบเลนส์แล้ววิ่งเข้าไปที่จุดตำแหน่งถ่ายภาพ นั่งเป็นเวลาหนึ่งนาที ก่อนจะวิ่งกลับปิดเลนส์อีกครั้ง จึงออกมาเป็นรูปถ่ายตามที่เห็น ซึ่งเป็นภาพ "เซลฟี" ที่มีหลักฐานอ้างอิงชัดเจน โดยด้านหลังของภาพ ถูกเขียนไว้ว่า “The first light Picture ever taken. 1839.” Selfie คืออะไร? ภาพถ่ายเซลฟีรูปแรกของโลก!

16. การเคลื่อนไหวและท่าทาง (Gesture) : ฟีเจอร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานสมาร์ทโฟน โดยจะใช้ลักษณะเฉพาะในการตั้งค่า เช่น วาดตัว C บนหน้าจอเพื่อเรียกใช้งานการโทร, วาดตัว W เพื่อปลุกหน้าจอ หรือถ้ามีสายโทรเข้าก็ให้ควํ่าหน้าจอลงเพื่อตัดสายการสนทนานั้น เป็นต้น

17. ด้านเครื่องหมายกำกับมาตรฐานของสมาร์ทโฟน เชื่อว่าหลายคนยังเกิดความสงสัยเกี่ยวกับเครื่องหมายต่างๆ ที่ปรากฏอยู่บนฝาหลังของสมาร์ทโฟนว่าคืออะไรมีความหมายอะไร และมีไว้ทำไม เพราะฉะนั้นเรามาหาคำตอบกันเลย...?

สำหรับเครื่องหมายดังกล่าวหมายถึงเครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) กล่าวคือเป็นการแสดงมาตรฐานของผลิตภัณฑ์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ หรือองค์กรที่กำกับดูแล นั้นจะเป็นผู้รับรอง ก็เพื่อระบุว่าอุปกรณ์ผ่านการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยแล้ว ทั้งจะยังมักถูกใช้เพื่อแสดงว่าอุปกรณ์ดังกล่าวสามารถขายได้ในบางประเทศ หรือภูมิภาคเหล่านั้น และเครื่องหมายที่มักใช้แสดงอยู่บนสมาร์ทดีไวซ์ทั้งหลายมีดังต่อไปนี้ (อ้างอิงจากเว็บไซต์

1. เครื่องหมาย CE หรือ Conformite European Mark : โดยเป็นเครื่องหมายที่แสดงว่าสินค้าอุตสาหกรรมที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรปทั้งสินค้านำเข้า รวมถึงสินค้าที่ผลิตใน EU มีการออกแบบและการผลิตที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยตามระเบียบข้อบังคับที่ EU กำหนดไว้เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคถึงความปลอดภัยในการใช้สินค้า และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างคุณภาพสินค้าอีกด้วย

2. 4-digit number : มักจะอยู่ถัดจากเครื่องหมาย CE โดยเป็นการระบุว่าอุปกรณ์นั้นๆ ได้ผ่านการทดสอบอย่างอิสระ และก็ถูกรับรองแล้วจากตัวแทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เข้าร่วมทดสอบจากหลายประเทศ หรือที่เรียกกันว่า "Notified Body"

ตัวเลขทั้ง 4 ตัวเป็นตัวบ่งชี้ระดับของผลิตภัณฑ์ (Class) ยกตัวอย่างเช่น iPhone 6 ที่มีตัวเลขกำกับอยู่ด้านหลัง "0682" หมายความว่าได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นไปตามกฎหมายสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้องและด้านการทดสอบมาตรฐาน เช่น ความปลอดภัยผู้บริโภค, การรบกวนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและอื่น ๆ)

3. เครื่องหมาย FCC หรือ Federal Communications Commission : โดยจะเป็นหน่วยงานที่วางระเบียบกฏเกณฑ์เกี่ยวกับวิทยุ, โทรทัศน์, สายเคเบิ้ล, ดาวเทียม ในประเทศสหรัฐอเมริกา และโคลัมเบีย ดังนั้นเพื่อที่จะวางจำหน่ายได้นั้น ก็จะต้องผ่านการรับรองมาตรฐานต่างๆ จากหน่วยงานดังกล่าวเสียก่อน

4. เครื่องหมาย UL หรือ Underwriters Laboratories : โดยเป็นองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหาผลกำไร ทำหน้าที่รับรองความปลอดภัยของสินค้าในประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุก่อสร้าง มาตั้งแต่ ปีค.ศ. 1894 หรือ 122 ปีมาแล้ว ซึ่งวิธีประเมินของหน่วยงานดังกล่าวจะมีมาตรฐานไม่น้อยกว่า 1200 มาตรฐานสำหรับการทดสอบ

5. เครื่องหมายถูกที่วงกลมล้อมรอบ เรียกว่า Ctick : เป็นมาตรฐานของประเทศออสเตรเลียที่จะแสดงว่าอุปกรณ์ดังกล่าวนั้นได้ผ่ายการทดสอบความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Compatibility Standards) และสามารถวางจำหน่ายได้ในประเทศออสเตรเลีย

6. เครื่องหมายถังขยะที่มีรูปกากบาท : หมายถึง อย่าทิ้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นี้ลงถังขยะ และก็ต้องรีไซเคิลอย่างเหมาะสมด้วย โดยผู้เป็นเจ้าของเครื่องหมายคือ หน่วยงาน Waste Electrical และ Electronic Equipment

7. NOM : เป็นเครื่องหมายแสดงถึงว่าอุปกรณ์นั้นๆ ได้รับการอนุมัติมาตรฐานจากหน่วยงาน Norma Oficial Mexicana ประเทศเม็กซิโก โดยเป็นหน่วยงานที่กำหนดหลักเกณฑ์ รายละเอียดคุณลักษณะแนวทางลักษณะ หรือความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์ เพื่อรับรองว่าสามารถใช้งานได้ในประเทศ

8. NYCE : โดยจะเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้ควบคู่กับ NOM ซึ่งจะเป็นหน่วยงานของรัฐในประเทศเม็กซิโก ที่จะคอยกำกับดูแลความปลอดภัยของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และไอที ซึ่งชื่อเต็มๆ ของหน่วยงานคือ Electronics Standardization and Certification

9. VCCI (Voluntary Control Council for Interference) : มาตรฐานแจ้งเตือนการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยรัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับผลิตภัณฑ์ IT ทั้งหลายเพื่อระบุถึงคุณภาพผลิตภัณฑ์ว่าผ่านเกณฑ์เกี่ยวกับสัญญาณรบกวนหรือไม่

10. เครื่องหมายอัศเจรีย์ที่อยู่ในวงกลม หรือ Alert symbol : เนื่องจากว่าผู้ให้บริการก็จะมีคลื่นความถี่ครอบครองแตกต่างกันไปในประเทศต่างๆ ส่งผลให้อุปกรณ์ อาจมีการพยายามใช้คลื่นความถี่ที่ไม่ถูกกฏหมาย โดยเฉพาะในประเทศยุโรป

18. การชำระเงินซื้อสินค้าหรือบริการผ่านสมาร์ทโฟน : ถือเป็นเทรนด์มาแรงที่หลายฝ่ายหันมาให้ความสำคัญ เนื่องจากจะเปลี่ยนวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตไปเลย เพิ่มคุณค่าให้กับสมาร์ทโฟน ลดค่าของบัตรลงไป ไม่ต้องพกให้หนักกระเป๋าอีกต่อไป ทั้งนี้ในต่างประเทศเองร้านค้าชั้นนำต่างก็นำระบบดังกล่าวมาให้บริการเพื่อความสะดวกของลูกค้าส่วนประเทศไทยก็มีเหมือนกันแต่ยังไม่แพร่หลายนัก

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

สำหรับ Mobile Payment คือ การจ่ายเงินผ่านสมาร์ทโฟนระบบจะออนไลน์เสมอและเชื่อมต่อกับบัญชีธนาคารหรือบัตรเครดิต ทำให้สามารถใช้จ่ายได้ทุกที่ทุกเวลาโดยที่ไม่พกเงินสด

ประโยชน์ต่อตัวเราเมื่อชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน

ไม่จำเป็นต้องพกบัตรเครดิตหรือเงินสดเยอะ ป้องกันการโจรกรรม

ประหยัดเวลา สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ต้องการอะไรก็จ่ายโอนได้ทันที

สามารถวางแผนและตรวจสอบยอดได้ทุกการใช้จ่าย

มีโปรโมชั่นส่งเสริมการขายที่น่าสนใจ

ประโยชน์ต่อร้านค้าเมื่อมีบริการชำระเงินผ่านสมาร์ทโฟน

เพิ่มช่องทางการชำระเงิน และลดต้นทุนเกี่ยวกับการจัดการบริหารเงินสด

เพิ่มโอกาสในการซื้อและกลับมาใช้บริการซํ้า

ความทันสมัยของร้านจะช่วยดึงดูดลูกค้า

ลดการเก็บเงินสดไว้ที่ร้าน และสะดวกแก่การจัดทำบัญชีร้าน

ข้อควรระวังการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสมาร์ทโฟน

ศึกษาวิธีใช้ละข้อป้องกันธุรกรรมทางการเงินจากผู้ให้บริการอย่างละเอียด

ติดตามข่าวสารจากผู้ให้บริการอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อรู้เท่าทัน

หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านที่ง่ายต่อการคาดเดา

ตรวจเช็คยอดเงินในบัญชีอย่างต่อเนื่อง

จบลงแล้วนะครับ สำหรับเรื่องราวๆ ต่างของสมาร์ทโฟน โดยทั้ง 15 ข้อ เราได้พาไปทำความรู้จักกันให้มากขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานว่าแต่ละอย่างเป็นอะไร ทำหน้าที่ยังไง แล้วถ้าเราจะซื้อสักเครื่องหนึ่งมีวิธีการเลือกยังไงบ้าง รู้เท่าทัน! มิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ หมดตัวได้แค่เพียงปลายนิ้ว

19. วิธีการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนมีขั้นตอนอะไรบ้าง

เริ่มแรกควรถามตัวเองว่าจุดประสงค์การใช้งานด้านใดบ้างรวมถึงการนำสมาร์ทโฟนมาประยุกต์ใช้ต่อชีวิตประจำวันแบบไหน เพื่อสามารถกำหนดตัวเลือกได้อย่างชัดเจน เพราะหากเลือกทุกรุ่นคงไม่ไหว เนื่องจากมีตัวเลือกมากมายเหลือเกินในปัจจุบัน โดยปัจจัยรองลงมาที่ต้องคำนึงคือเรื่องของราคาแต่ก็ขึ้นอยู่กับสองตัวแปร หากมีฟีเจอร์ให้ใช้มากราคาจะสูงตามไปด้วย ส่วนถ้าฟีเจอร์ใช้งานทั่วไปราคาจะแบ่งเป็นหลายช่วง และสุดท้ายปัจจัยอื่นๆ เช่น บริการหลังการขาย, การรับประกัน เป็นต้น

เจาะลึกรายละเอียดลงไปก็จะเป็นปัจจัยภายในเฉพาะดีไวซ์

1. หน้าจอ : ปัจจุบันมีหลายขนาดตั้งแต่ตํ่ากว่า 5 นิ้ว จนถึง 12 นิ้ว บางแบรนด์จะมีเทคโนโลยีหน้าจอที่เพิ่มคุณสมบัติของการแสดงผลด้วย แน่นอนว่าจะทำให้ภาพสวยกว่าเดิม โดยในปัจจุบันจะเป็นเทรนด์หน้าจออัตราส่วน 18:9 แนะนำว่าให้มองหาสมาร์ทโฟนลักษณะเช่นนี้เพราะจะทำให้เรารับชมคอนเทนต์ได้เพลิดเพลินไม่ว่าจะเป็นเกมหรือวิดีโอแม้แต้ท่องเว็บไซต์ก็สบายสายตามากขึ้นสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

2. ความละเอียดหน้าจอ : ถามว่ายิ่งความละเอียดมากภาพจะสวยขึ้นไหม คำตอบคือก็ใช่ เพียงแต่ดวงตาเรามิอาจแยกแยะเฉดสีได้ครบถ้วนมากกว่าระดับ FullHD อีกทั้งถ้ายิ่งมีความละเอียดสูงก็จะส่งผลต่อการสิ้นเปลืองแบตเตอรี่ด้วย ข้อแตกต่างสำคัญนอกเหนือจากความละเอียดคือคอนเทนต์ HDR ที่จะทำให้การชมคอนเทนต์ของเราเปลี่ยนไปจากเดิม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

3. หน่วยประมวลผล (CPU) / กราฟฟิก (GPU) : มีผลอย่างมากหากเป็นผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกม และการเล่นคอนเทนต์ VR ซึ่งหากเจาะจงอาจต้องแบ่งชิปเซ็ตหลายระดับ ถ้าเป็น Snapdragon ต้องเลือกรุ่น 425 / 435 / 630 / 660 / 835 ส่วน Mediatek ต้องเน้นชิปเซ็ตระดับกลางขึ้นไป อาทิ P23 P25 หรือ P30 ถ้าเป็นของ Kirin จาก Huawei ต้อง 960 และ Exynos 7880 ของ Samsung

4. Ram : มีผลหรือไม่มีผล คำตอบคือมีการใช้งานจะไหลลื่นต้องพึ่งปัจจัยนี้โดยเฉพาะระบบแอนดรอยด์อย่างน้อยต้องซื้อ 3GB หากมีงบประมาณเพียงพอ แต่ถ้าไม่ห้ามซื้อรุ่นที่มี RAM 1GB เด็ดขาดเพราะจะทำให้รับประสบการณ์การใช้งานที่ไม่ดีเช่น ความเสถียร ความรวดเร็ว เป็นต้น ส่วนระบบ iOS สบายใจได้เพราะแอปเปิ้ลได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ของพวกเขาได้ตรงต่อลักษณะการใช้งานในปัจจุบัน

5. พื้นที่เก็บข้อมูลภายใน (Rom) : ควรเลือกซื้อรุ่น 32GB หรือขึ้นไป และมองหารุ่นที่รองรับการ์ดหน่วยความจำภายนอกเพื่อการใช้งานระยะยาว ไม่ต้องมานั่งเคลียข้อมูลบ่อยๆ

6. ระบบเชื่อมต่อ : แนะนำว่าให้ซื้อที่มีฟังก์ชั่น NFC เพื่อเพิ่มความสนุกด้านความบันเทิง ส่วนระบบ Bluetooth ก็ควรเป็นเวอร์ชั่น 4.2 หรือขึ้นไป โดยในปัจจุบันก็เดินทางมาถึงเวอร์ชั่น 5.0 แล้ว

7. รองรับ 4G : เพื่อประสบการณ์การใช้งานที่ดี แต่ข้อสำคัญต้องตรวจสอบว่าพื้นที่ที่ใช้งานของเรา ประสิทธิภาพของเครือข่าย 4G ดีมากน้อยแค่ไหนและของโอเปอเรเตอร์ใดบ้าง เพราะว่าบางพื้นที่นั้นรองรับแค่บางเจ้าเท่านั้น

คำตอบสุดท้ายสำหรับวิธีการเลือกซื้อสมาร์ทโฟน : ต้องถามตัวเองว่าจุดประสงค์การใช้งานเป็นอย่างไร แต่ละวันใช้อะไรบ้าง และที่สำคัญคือต้องไปลองเล่น ลองจับ ลองทดสอบด้วยตัวเอง และก็ลองหาข้อมูลเพิ่มเติม อ่าน เช่นรีวิว ตัวอย่างภาพถ่าย เพื่อจะได้รู้ข้อดีข้อเสีย และค้นหาคำตอบได้ดียิ่งขึ้น ว่าสุดท้ายแล้วที่เราวางกรอบราคาและตัวเลือกไว้ทั้งหมด เมื่อประเมินแล้วควรจะซื้อรุ่นใดดี

นอกจากนี้การซื้อสมาร์ทโฟนยังมีอีกคำจำกัดความที่ต้องรู้ " REFURBISHED " รู้หรือไม่ว่าคืออะไร

อีกหนึ่งคำจำกัดความที่ก่อนซื้อสมาร์ทโฟนต้องรู้ เชื่อว่าหลายคนอาจเคยสังเกตหลังชื่อรุ่นจะมีวงเล็บกำกับสินค้าไว้ เช่น Apple iPhone 6 (REFURBISHED) แถมราคาวางจำหน่ายยังถูกกว่าเสียด้วย ซึ่งเกิดคำถามตามมาว่าทำไมถึงราคาถูกกว่าตั้งเยอะ แล้วแตกต่างจากสินค้าปกติทั่วไปอย่างไร มาหาคำตอบกันเลย

สำหรับสินค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใดที่มีกำกับคำว่า " รีเฟอร์บิช " (REFURBISHED) ต่อท้ายนั่นหมายความว่า สินค้าที่ถูกส่งคืนกลับไปยังผู้ผลิตเพื่อซ่อมแซ่มแล้วนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้งหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. นำ iPhone 6 ไปส่งซ่อมต่อศูนย์บริการ แต่ว่าเครื่องนั้นยังอยู่ในประกันจึงได้รับเครื่องใหม่มาใช้งานแทน และเครื่องนั้นหากอยู่ในสภาพที่ซ่อมแซ่มได้ไม่ส่งผลต่อการใช้งานภายหลังจะมีการนำมาวางจำหน่ายอีกครั้งหนึ่งหลังผ่านการซ่อมแซ่มจากโรงงานพร้อมผ่านมาตรฐานการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าแล้ว

หรือจะเป็นสินค้าตัวโชว์หรือกล่องบรรจุภัณฑ์มีปัญหาไม่สามารถนำมาวางจำหน่ายได้ ผู้ขายสินค้าก็จะส่งคืนไปยังโรงงานเพื่อปรับปรุงซ่อมแซ่มให้เหมือนใหม่ แล้วจึงนำมาวางจำหน่ายอีกครั้งหนึ่ง

จึงสรุปได้ว่า สินค้ารีเฟอร์บิชคือสินค้าที่มีปัญหาเกิดขึ้นแล้วไม่ว่าจากสาเหตุใดก็ตาม แล้วนำกลับไปซ่อมแซ่มใหม่ให้สามารถใช้งานได้ปกติอีกครั้งหนึ่งพร้อมผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากโรงงาน และเมื่อนำมาวางจำหน่ายจะต้องกำกับคำว่า REFURBISHED ไว้ด้วยดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมราคาถึงถูกกว่าราคาทั่วไป เพราะเคยเกิดปัญหาขึ้นมาแล้วนั่นเอง

อย่างไรก็ตามอาจเกิดคำถามขึ้นว่าท้ายที่สุดแล้ว ควรซื้อมาใช้งานหรือไม่

สำหรับสินค้า REFURBISHED อย่างที่เกริ่นข้างต้นคือสินค้าที่มีปัญหาแล้วนำกลับไปซ่อมแซ่มจากนั้นนำมาวางจำหน่ายอีกรอบ โดยผ่านมาตรฐานการตรวจสอบของผู้ผลิต แต่การซื้อของแน่นอนว่าคือเรื่องละเอียดอ่อน แยกแยะด้วยตาเปล่าทำได้ยาก!!!

โดยในปัจจุบันมีหลากหลายช่องทางให้เลือกซื้อ ดังนั้นหากซื้อกับตัวแทนที่ไม่ได้มาตรฐานก็อาจได้เครื่องที่มีปัญหามาใช้งานแทน ไม่มีทางรู้เลยว่าสินค้ารีเฟอร์บิชเคยเกิดปัญหาใดซึ่งสามารถแก้ไขหายขาดได้หรือไม่ เพราะฉะนั้นถ้าต้องการซื้อจริงๆ ควรซื้อกับตัวแทนจำหน่ายที่เชื่อถือได้ อย่างน้อยยังมีประกันและความน่าเช่อถือให้อุ่นใจ เรียกร้องได้เวลาเกิดปัญหาของตัวสินค้า

อย่างไรก็ตามหากเจอเครื่องที่ชอบและต้องการจะซื้อแล้ว เราต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าเป็นของใหม่ที่ไม่ได้มีรอยแกะ หรือฉีดขาดใดๆ ของพลาสติกที่ห่อหุ้ม ที่สำคัญการจะซื้อควรต้องเลือกร้านขายที่ได้มาตรฐาน มีหลักแหล่ง และใบอนุญาต เพราะฉะนั้นจึงขอสรุปวิธีการตรวจเช็คเครื่องก่อนนำกลับบ้าน

1. พลาสติกที่ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ : ต้องไม่มีรอยแกะหรือรอยฉีกขาด โดยยังถูกห่อหุ้มไว้เรียบร้อย

2. หลังจากผ่านข้อ 1 ลำดับต่อไปคือ ตรวจเช็คอุปกรณ์ภายในกล่อง : เบื้องต้นควรมีทุกอย่างครบ เช่น หูฟัง, สาย MicroUSB/Lightning, อะแดปเตอร์, คู่มือการใช้งาน, เข็มจิ้มถาด SIM, มีใบรับประกันสินค้า

3. ตรวจเช็คสภาพเครื่อง : เครื่องใหม่ทุกเครื่องจะมีสติ๊กเกอร์ หรือพลาสติกแปะไว้บนหน้าจอรวมถึงหลังตัวเครื่องในบางแบรนด์และที่สำคัญต้องไร้ริ้วรอยขีดข่วนต่างๆ ปุ่มกดต้องอยู่ในสภาพแข็งแรงกดสะดวก ไม่รู้สึกฝืดหรือมีเสียงดังออกมาผิดสังเกตเวลากด

4. ตรวจสอบหมายเลข IMEI หลักๆ จะมี 3 วิธีง่ายๆ : หมายเลขบนกล่องและหมายเลขที่แสดงในสมาร์ทโฟนต้องเหมือนกัน มิเช่นนั้นจะมีปัญหาในการบริการหลังการขาย

3.1 ดูได้จากข้างกล่อง : โดยทุกกล่องจะมีเขียนกำกับไว้ชัดเจน

3.2 เช็คด้วยหมายเลข : *#06# สามารถกดเพื่อตรวจเช็คหมายเลขอีมี่

3.3 จากเมนูการตั้งค่า : เกี่ยวกับโทรศัพท์

การขายสมาร์ทโฟนผู้ใช้งานควรจะต้องตระหนักว่าข้อมูลส่วนตัวเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, ข้อมูลบัตรเครดิต, ข้อความกับเบอร์โทร ล้วนต้องเก็บรักษาอย่างดีดังนั้นจึงมีเคล็บลับเบื้องต้นมาฝากสำหรับผู้ที่มีความต้องการจะขาย มีวิธีดังต่อไปนี้ครับ

1. ถอดซิมการ์ด อย่าลืมนะครับว่าในปัจจุบันมีการลงทะเบียนซิมการ์ดแล้ว ดังนั้นก่อนนำไปขายจะต้องถอดออกเสียก่อน เพื่อป้องกันผลลัพธ์ที่ร้ายแรงตามมาจากการแอบอ้าง

2. ผู้ใช้ระบบแอนดรอยด์ต้องอย่าลืมว่าก่อนทำการรีเซ็ตข้อมูล ก็ควรที่จะถอดการ์ดหน่วยความจำภายนอกออกเสียก่อน เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับการ์ด

3. แบ็คอัพข้อมูล ระบบแอนดรอยด์แนะนำว่าใช้บัญชี Google เพียงแต่ต้องตรวจสอบให้ดีเนื่องจากบริการต่างๆ ของกูเกิลนั้นแยกส่วนกันหรือพูดง่ายๆ ว่าการ Backup ไม่ได้บันทึกทุกอย่างไว้ในที่เดียว ซึ่งจะมีบางประเภทเช่น รูปภาพ ก็จะต้องแบ็คอัพผ่าน Google Photo

ขณะที่ระบบ iOS ก็สะดวกหน่อยครับ เพราะว่าจะสำรองข้อมูลทั้งหมดไว้ อ่านวิธีการสำรองข้อมูลได้ที่ : แต่ก็อย่าลืมเปิดเครื่องขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งแล้วเลือก "set it up as a new device"

4. รีเซ็ตเครื่องด้วยฟังก์ชั่น Reset Factory เพื่อล้างข้อมูลทั้งหมดภายในเครื่อง ให้เหมือนตอนแกะกล่อง

20. รหัสตรวจสอบสมาร์ทโฟน : หลายคนคงสงสัยว่ามีรหัสตรวจสอบอะไรด้วยเหรอเนี่ย เนื่องจากว่าอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งก่อนจับจองเป็นเจ้าของก็จะต้องเช็คความเรียบร้อยเสียก่อน เพราะฉะนั้นจึงมีรหัสขึ้น โดยแต่ละแบรนด์มีความแตกต่างกันไป

วิธีดังกล่าวเป็นของสมาร์ทโฟน แฟบเล็ต และแท็บเล็ตระบบแอนดรอยด์เท่านั้น โดยจะช่วยให้เราทราบถึงความสมบูรณ์ของอุปกรณ์ภายใน และภายนอกเช่น หน้าจอ, ระบบสัมผัส, ลำโพง, การรับสัญญาณ, กล้องถ่ายภาพ หรือปุ่มกดรวมถึงการทำงานของฟังก์ชั่นพื้นฐานอื่นๆ ว่าสามารถตอบสนองต่อการทำงานได้เป็นปกติหรือไม่

Alcatel : *#458#

Flash : *#2886#

TP-Link : *#06#

TWZ : *#8888#

ยกตัวอย่างเช่นของ Huawei กด *#*# 2846579#*#*

21. วิธีตรวจเช็คว่าสมาร์ทโฟนของเรามีเซ็นเซอร์อะไรบ้าง : เซ็นเซอร์แต่ละประเภทมีอยู่หลากหลาย ช่วยให้สมาร์ทโฟนของเรามีความพิเศษในการทำงานแตกต่างกัน เช่น การวัดค่า, การควบคุมทิศทาง, การประเมินผล เป็นต้น ทั้งนี้ใครต้องการตรวจเช็คว่าดีไวซ์ของตนเองมีเซ็นเซอร์อะไรอยู่บ้าง มีวิธีตรวจสอบดังนี้

ถ้าเป็นตระกูล iPhone ทางที่ดีสุดคือเช็คจากเว็บไซต์หลักเนื่องจากไม่มีแอพพลิเคชั่นที่เช็คได้แน่ชัดว่ามีเซ็นเซอร์อะไรบ้าง ขณะที่ส่วนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์สามารถเช็คได้จากแอพฯ Sensor Box for Android : ดาวน์โหลด Google Play Store

22. ลำดับต่อไปมาดูเกร็ดความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมาร์ทโฟน

วิธีดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น และการลบ

ผู้ใช้งานในระบบแอนดรอยด์ ก็สามารถดาวน์โหลดแอพฯ ได้ที่ Google Play Store ขณะที่ระบบ iOS ก็จะเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ App Store โดยจะต้องเข้าสู้ระบบเพื่อทำการดาวน์โหลด อย่างไรก็ตามข้อควรระวังคือแอพฯ มีทั้งเสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย

อีกทั้งในแอพฯ บางตัวก็ยังมี In-App Purchase หรือ การซื้อของภายในเกม อาทิ เช่น ฟีเจอร์พิเศษ, ไอเทมภายในเกมหรือการตัดโฆษณา เป็นต้น โดยการซื้อเหล่านี้จะผูกอยู่กับไอดีนั้นๆ ซึ่งแต่ละแอพฯจะมีหัวข้อที่ชื่อกู้คืนสิ่งที่ซื้อ ซึ่งจะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อผู้ใช้นำ ID ที่ดาวน์โหลดไว้ในเครื่องที่หนึ่ง ไปเข้าสู่ระบบในเครื่องที่สอง และสามารถใช้งานสิ่งที่เราซื้อภายในแอพฯ ได้เหมือนเดิมเพียงแต่ว่าต้องเป็นสิ่งที่ใช้แล้วไม่หมด อาทิ ฟีเจอร์พิเศษภายในแอพฯ เป็นต้น ทว่าทางที่ดีควรที่จะปรึกษาผู้พัฒนาแอพฯ นั้นๆ เสียก่อนว่าถ้าทำในกรณีดังกล่าวจะเกิดปัญหาใดๆ บ้าง

ส่วนการสมัคร ID แนะนำว่าถ้าผู้ใช้เป็นสมาร์ทโฟนระบบแอนดรอยด์ ก็ควรที่จะสมัครอีเมล์ Gmail ไว้ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานอย่างครบถ้วนจากทุกบริการของ Google ด้วยไอดีเดียว เช่นเดียวกับระบบ iOS ที่ผู้ใช้ก็ควรที่จะสมัครไอดีเดียวไว้เหมือนกัน เรียกง่ายๆ ว่าสามารถควบคุมบริหารจัดการได้

แต่อย่าลืมว่าการตั้งรหัสผ่าน ID เป็นส่วนสำคัญมาก ไม่ควรที่จะเผยแพร่ให้ใครรู้ และไม่ควรตั้งรหัสที่คาดเดาง่าย หรือใกล้ตัวมากเกินไป เนื่องจากผู้ใช้ต้องคำนึงว่า หนึ่งไอดีที่เราใช้งานมีข้อมูลส่วนตัว รวมถึงธุรกรรมต่างๆ ที่เราเคยทำไว้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังทางที่ดีควรจะเปลี่ยนรหัสผ่านบ่อยๆ เพื่อป้องกันถูกแฮ็กและดักจับข้อมูลจากการใช้งานที่สุ่มเสี่ยงหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์

วิธีการลบแอพพลิเคชั่น : ผู้ใช้งานจะสามารถเข้าไปลบแอพฯ ได้ที่ ที่เก็บข้อมูลแล้วเลือกถอนการติดตั้ง หรือว่าใช้แอพฯ ช่วยลบ

การ Reset Factory ทำให้สมาร์ทโฟนกลับคืนสู่การตั้งค่าจากโรงงาน

วิธีนี้ถือเป็นอีกหนึ่งพื้นฐานที่ผู้ใช้งานควรรู้เนื่องจากจะช่วยรีสมาร์ทโฟนกลับไปเหมือนใหม่ตั้งแต่ตอนที่ซื้อมา เพราะบางครั้งใช้งานนานๆ ในระบบแอนดรอยด์หากไม่ได้รับการบริหารจัดการที่ดีการทำงานของระบบจะช้าลงอย่างเห็นได้ชัด หน่วงบ้าง ค้างบ้าง และวิธีนี้หากผู้ใช้ต้องการขายเครื่องใช้ฟังก์ชั่นนี้ในการล้างข้อมูลทั้งหมดได้เลย ซึ่งมีวิธีทำดังต่อไปนี้

ระบบแอนดรอยด์เวอร์ชั่น 6.0 ไม่มีการครอบทับ UI : เปิดการตั้งค่า < สำรองข้อมูลและรีเซ็ต < รีเซ็ตการตั้งค่าจากโรงงาน

ระบบ iOS : เปิดการตั้งค่า < ทั่วไป < รีเซ็ต < ลบข้อมูลและการตั้งทั้งหมด

อย่างไรก็ตามวิธีข้างต้นในบางรุ่นสมาร์ทโฟนถึงแม้จะคืนค่าสู่โรงงานก็ยังพบว่ายังไม่ลบข้อมูลภายในทั้งหมดดี อาทิ เอกสาร, รูปภาพ เพราะฉะนั้นถ้าเราจะรีเซ็ตเพื่อนำสมาร์ทโฟนไปขายต่อ หรือให้ผู้อื่นจึงควรจะตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นภายหลัง

นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีกในการรีเซ็ต แต่ผู้ใช้งานจะต้องใช้ความระมัดระวังเพราะผิดวิธีหรือผิดขั้นตอน อาจส่งผลเสียทำให้เครื่องพังได้ในที่สุด ดังนั้นถ้าเป็นมือใหม่ควรปรึกษาที่ศูนย์บริการแต่ละแบรนด์ เพื่อความชัวร์ และแก้ไขได้อย่างถูกวิธี หรือคลิกอ่านบทความเพิ่มเติม :

1. การรับประกันอุปกรณ์ (สมาร์ทโฟน, แฟบเล็ต และแท็บเล็ต) : เหมือนกับอุปกรณ์ทั่วไปที่เมื่อซื้อสินค้าก็ต้องมีประกัน โดยจะแยกออกเป็นประกันร้านและประกันศูนย์ ซึ่งเงื่อนไขของลักษณะการเคลมจะแตกต่างกันไปดังนั้นผู้ซื้อจะต้องศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อ ยกตัวอย่างเช่น นาย ก. ซื้อสมาร์ทโฟน ที่ร้านนาย A และจ่ายเงินไปแล้วพร้อมกับบอกว่าหากสินค้ามีปัญหาสามารถนำมาเปลี่ยนได้ไม่เกิน 5 วัน โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหลังจากนี้ต้องส่งเคลมที่ศูนย์เท่านั้น และประกันของศูนย์จะมีระยะเวลาอีกเช่นกัน เช่น 6 เดือน, 1 ปี หรือ 2 ปี เป็นต้นนับจากวันที่ซื้อครั้งแรก

แปลความได้ว่า : หากสินค้าเกิดปัญหานาย ก. ก็สามารถนำสมาร์ทโฟนมาเปลี่ยนได้เลย โดยที่ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด หรือพูดง่ายๆ ว่าเครื่องใหม่นั่นเอง ส่วนถ้าเกิน 5 วันไปแล้วจะต้องไปติดต่อทำเรื่องที่ศูนย์บริการของแบรนด์นั้นๆ ต่อไปแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอ่านเงื่อนไขการรับประกันของแบรนด์ด้วยว่าสามารถเคลมหรือเคลมไม่ได้เรื่องใดบ้าง

คลิกอ่านเงื่อนไขการรับประกันช่องทางออนไลน์ได้ที่ :

2. นอกจากประกันร้านแล้ว การประกันต่างหากก็มีเหมือนกัน เพียงแต่ผู้ใช้ต้องทำเพิ่ม

ซื้อประกันสมาร์ทโฟน : ถ้าใครยังงงว่าประกันสมาร์ทโฟนคืออะไร ให้นึกว่าเสมือนทำประกันรถยนต์ หรือประกันชีวิตต่างๆ ซึ่งมีประโยชน์เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุใดขึ้น ส่วนสมาร์ทโฟนเช่นเดียวกัน เราจะได้รับความคุ้มครองตามที่ได้ทำกรมธรรม์ไว้ โดยมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาดังต่อไปนี้

ประเภทของกรมธรรม์

สิทธิความคุ้มครอง

เงื่อนไขรับประกัน

ข้อยกเว้นการไม่รับประกัน

ความรับผิดชอบส่วนแรก

ระยะเวลาคุ้มครอง

อาณาเขตคุ้มครอง

วงเงินคุ้มครอง

เงื่อนไขและเอกสารประกอบในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

การบริการ เช่น การให้เครื่องใช้ชั่วคราว, บริการส่งคืนหลังซ่อมเสร็จ, จุดบริการรับซ่อม เป็นต้น

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

แน่นอนว่าสมาร์ทโฟนมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ความเสี่ยงก็มีเช่นกัน หากใช้งานอย่างไม่ถูกวิธีในด้านพฤติกรรมของบุคคล อ่านรายละเอียด....

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

25. เบอร์ฉุกเฉินที่เราควรทราบ มีดังต่อไปนี้

แน่นอนว่าในหนึ่งวันทุกคนต้องมีกิจกรรมหลายอย่างที่ต้องทำซึ่งการติดต่อสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญจึงต้องจดจำเบอร์ต่างๆ ไว้ เผื่อว่าเกิดเหตุฉุกเฉิน หรืออยากทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทางทีมงานก็ได้รวบรวมเบอร์ให้แล้ว

26. สำหรับผู้ที่ต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมในเครือข่ายของตนเองก็ได้รวบรวมเบอร์ Call Center ไว้ให้แล้ว นอกจากนี้หากใครกำลังประสบปัญหา SMS กวนใจ คิดเงินโดยไม่เต็มใจ สามารถกดเบอร์ *137 เพื่อเคลียให้หมดไป

คลิกภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

27. การทำความสะอาดหน้าจอสมาร์ทโฟน

เมื่อเราต้องใช้งานสมาร์ทโฟนทุกๆ วัน แน่นอนว่าย่อมเกิดคราบสกปรกบนหน้าจอ เพราะไม่ว่าจะเป็นการทัชสกรีน หรือการเอาหน้าแนบเพื่อโทร หน้าจอต้องสัมผัสกับคราบบนนิ้วมือ คราบเหงื่อ และความมันบนใบหน้า รวมถึงฝุ่นต่างๆ ที่ปลิวมาเกาะ ดังนั้น เราจึงต้องมั่น ทำความสะอาดหน้าจอมือถือ และต้องทำความสะอาดอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับหน้าจอ ด้วยวิธีการง่ายๆ ทำความสะอาดจอมือถืออย่างไร ให้กลับมาเหมือนใหม่อีกครั้ง

28. มาทำความรู้จักอุปกรณ์เสริมที่นิยมใช้กับสมาร์ทโฟน

แน่นอนว่าการใช้งานสมาร์ทโฟนเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อกิจกรรมในหนึ่งวันเพราะบางคนมีไลฟ์สไตล์ที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นจึงต้องอาศัยเหล่าอุปกรณ์เสริมเข้ามาเติมเต็ม

28.1 Power Bank (แบตฯ สำรอง) : อีกหนึ่งอุปกรณ์เสริมยอดฮิตของใครหลายคนเพราะถ้าหากพึ่งพาแค่แบตเตอรี่ที่มีในสมาร์ทโฟนแล้วใช้งานในหนึ่งวัน ก็คงไม่พอ ดังนั้นจึงต้องมีอุปกรณ์ดังกล่าวติดตัวกันไว้ เผื่อชาร์จยามฉุกเฉิน เพราะฉะนั้นเราลองมาดูวิธีเลือกแบตเตอรี่สำรอง และวิธีรักษากันครับ มีรายละเอียดดังนี้

วิธีเลือกซื้อแบตเตอรี่สำรอง

28.1.1 ถามตัวเองว่าเราใช้งานสมาร์ทโฟนขนาดไหน : ตอบตัวเองว่าหนึ่งวันเราใช้สมาร์ทโฟนขนาดไหนหรือกับอุปกรณ์ใดบ้าง เพื่อประเมินความเหมาะสมของความจุ ทำให้มีตัวเลือกการซื้อแคบลงและเจาะจงมากขึ้น

28.1.2 เมื่อประเมินลักษณะการใช้งานแล้ว ต่อไปมาดูคุณสมบัติที่ควรมี!!!

มองหาแบตฯ ประเภทลิเธียมโพลิเมอร์

อัตราการจ่ายไฟทั้ง Input และ Output 0.5 (ช้า) 1A (ปานกลาง) 2.1A (เร็ว) < เลือกแบบนี้ทำให้เราประหยัดเวลาได้เยอะ

มีสเกลบอกระดับพลังงานคงเหลือ

ระบบความปลอดภัย เช่น การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร, การตัดกระแสไฟในการชาร์จ เมื่อชาร์จแบตฯ เต็มแล้ว, การป้องกันอุณหภูมิของแบตฯ สำรอง เป็นต้น

เงื่อนไขการรับประกัน

เครื่องหมายมาตรฐานรับประกันคุณภาพ อาทิ CE / FCC / RoHS เป็นต้น

28.1.3 เลือกซื้อแบตฯ สำรองจากตัวแทนจำหน่ายที่เชื่อถือได้ เช่นเดียวกับยี่ห้อของ Power Bank ต้องอยู่ในข่ายเป็นที่ยอมรับ

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

ข้อแนะนำ 5 วิธีที่จะช่วยดูแลรักษาแบตฯ สำรอง หรือที่เรามักเรียกกันว่า "Power Bank" ให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น

28.2.1 หลีกเลี่ยงการใช้งานแบตเตอรี่สำรองจนแบตเตอรี่หมด เพราะจะลดประสิทธิภาพการกักเก็บประจุไฟฟ้า

28.2.2 ถ้าไม่ได้ใช้แบตฯ สำรองเป็นระยะเวลานานก็ควรจะชาร์จไฟให้แบตเตอรี่อย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 1 เดือน เพื่อเป็นการรักษาประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ และเป็นการป้องกันไม่ให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพก่อนกำหนด

28.2.3 เก็บให้ห่างจากแสงแดดและความชื้น เนื่องจากความร้อนของแสงแดด จะทำให้อุปกรณ์ภายในแบตฯ สำรองอายุการใช้งานสั้นลง เช่นเดียวกับความชื้นที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อแผงวงจร และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

28.2.4 มั่นดูแลแบตฯ สำรองให้สะอาดอยู่เสมอและไม่ควรใช้ผ้าเปียกเช็ดทำความสะอาด เนื่องจากจะทำให้เกิดความชื้น อีกทั้งถ้าไม่ได้ใช้งานก็ควรวางแบตฯ สำรองให้อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ นอกจากนี้ก็ไม่ควรนำวางใกล้เตาไมโครเวฟ, สารเคมี, วัตถุติดไฟง่าย เป็นต้น เพื่อความปลอดภัย

28.2.5 ไม่ควรใช้งานขณะชาร์จ เช่น เล่นเกมส์, ดูวิดีโอ, สนทนาระยะเวลานาน เพราะกิจกรรมเหล่านี้จะทำให้แบตฯ สำรองเกิดความร้อนอาจทำให้แผงวงจร และแบตเตอรี่เสื่อมประสิทธิภาพได้

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

28.2 Case (เคส) : ถูกออกแบบเพื่อป้องกันรอยต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตัวดีไวซ์ไม่ว่าจะเป็นด้านหน้าจอ, ขอบตัวเครื่อง, ด้านหลังตัวเครื่องและปัจจุบันเองก็มีรูปแบบแตกต่างกันโดยจะเน้นความสวยงามมากขึ้น ส่วนวิธีการเลือกซื้อเคส : ต้องขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้เองทั้งยังเป็นสินค้าที่ไม่ได้มีอายุการใช้งานนาน ขณะที่วิธีรักษาคือ ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง เช่นเดียวกับความชื้น เพราะจะทำให้เหลือง และเปื่อยยุ่ยหากเป็นซองหนังหรือผ้า

28.3 Bluetooth Speaker : ถึงแม้ว่าหลายแบรนด์จะนิยมใส่ชิปเซ็ตเสียงหรือออกแบบซอฟต์แวร์ เฉพาะ รวมถึงดีไซน์ให้มีพลังเสียงที่ไม่เหมือนใครก็ต้องบอกว่าทำได้ดีแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ภายในของสมาร์ทโฟนมีอย่างจำกัด ส่งผลให้ไม่สามารถยัดฮาร์ดแวร์มาให้ เพื่อให้ผลลัพธ์เสียงเทียบเคียงลำโพง ดังนั้นด้วยข้อจำกัดดังกล่าว ลำโพงบลูทูธจึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

จะเห็นว่าในปัจจุบันแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องเสียง ต่างหันมาให้ความสนใจ ตลาดอุปกรณ์เสริมของสมาร์ทโฟนกันหลายหลาย ซึ่งก็ไม่ได้มีแค่ความไพเราะ นุ่มนวลเท่านั้น แต่มาพร้อมฟีเจอร์ ต่างๆ เช่น แบตฯ สำรอง, สามารถกันนํ้ากันฝุ่นได้, นาฬิกาปลุก เป็นต้น

28.4 Headset : อีกหนึ่งอุปกรณ์เสริมที่กำลังเป็นเทรนด์ เพราะบางคนก็ชื่นชอบการอยู่ในโลกของเสียงเพลง ไม่ต้องการเสียงรบกวนภายนอกเนื่องจากดีไซน์ที่ครอบทับทั้งใบหู รวมถึงที่คาดหัวยังได้ออกแบบให้ไม่ระคายต่อผิวของศรีษะ อย่างไรก็ตามหูฟังในปัจจุบันก็มีหลายประเภท โดยคุณสมบัติกับวัสดุการผลิตก็แตกต่างกันด้วย เพราะฉะนั้นเคล็ดลับการเลือกหูฟัง คือต้องทดลองดู เพื่อจะตรวจเช็คว่า เสียงที่ได้นั้นตรงกับความชอบเราหรือไม่เนื่องจากโทนเสียงของแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน และที่สำคัญต้องเป็นไฟล์เพลงระดับ 192Kbps ขึ้นไปครับ

28.5 ฟิลม์กันรอย : อีกหนึ่งสิ่งที่ผู้ใช้หลายคนต้องมีต้องใช้ เพราะจะช่วยปกป้องหน้าจอของดีไวซ์จากรอยนิ้วมือรอยขีดข่วนรวมถึงดูดซับแรงกระแทกเมื่อทำตก (แต่ก็ไม่ 100% ซึ่งก็ยังมีหลายกรณีที่ทำทำตกพื้นแล้ว หน้าจอยังแตกถึงแม้จะติดฟิลม์ที่เคลมไว้ว่าตกไม่แตก ดังนั้นเรื่องแบบนี้อาจขึ้นอยู่กับดวงผสมโรงด้วยเช่นกัน) และที่สำคัญบางรุ่นมีคุณสมบัติช่วยลดแสงสีฟ้าจากสมาร์ทโฟน จะช่วยถนอมสายตานั่นเอง

28. 6 USB On-The-Go : หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า OTG โดยใครหลายคนมักนิยมมาเสียบกับตัวสมาร์ทโฟนเพื่อถ่ายโอนข้อมูล ทำให้ไม่เปลืองพื้นที่เก็บข้อมูลของดีไวซ์ เช่น รูปถ่าย, เพลง, วิดีโอ เอกสารงานต่างๆ เป็นต้น มีประโยชน์อย่างยิ่ง อาทิ สามารถถ่ายโอนได้เลย หากคนสองคนมีฟีเจอร์ OTG บนสมาร์ทโฟน ซึ่งไม่ต้องพึ่งพาวิธีอื่นที่เสียเวลากว่าและอาจมีค่าใช้จ่าย

28.7 Smartwatch (นาฬิกาอัจฉริยะ) : เป็นเทรนด์ที่มาแรงเลยทีเดียวโดยช่วยปลุกกระแสของการรักสุขภาพ ด้วยคุณสมบัติเฉพาะที่ออกแบบในการวัดค่า ประเมินผล ทำให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ว่าต้องออกกำลังกายลักษณะใดจึงจะได้ตามเป้าที่วางไว้ในแต่ละรอบวันหรือรอบสัปดาห์ อย่างไรก็ตามหลายแบรนด์ก็ยังอัดฟีเจอร์ต่างๆ เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้ทำอะไรมากกว่าเดิม ทว่าก็มีราคาที่สูงขึ้นเช่นกัน ดังนั้นจึงขอแนะนำวิธีเลือกซื้อ Smartwatch กับ 5 ขั้นตอนง่ายๆ

ประเมินตนเองใช้งานลักษณะใด เพื่อกำหนดตัวเลือกชัดเจน ไม่ยึดติดแบรนด์ดังแต่ต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือให้ดี เลือกดีไซน์ให้เหมาะสมไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน มองหาสเปกและฟีเจอร์ที่ตอบโจทย์การใช้งาน รักการออกกำลังกายต้องมีฟีเจอร์ด้านสุขภาพครบถ้วน ใช้งานแอพพลิเคชั่นได้หลากหลาย ตรวจเช็คสมาร์ทโฟนรองรับ SmartWatch รุ่นนั้นหรือไม่

คลิกภาพเพื่อดูขนาดใหญ่

28.8 Smartband (สายรัดข้อมืออัจฉริยะ) : วัตถุประสงค์จะใช้งานไม่ต่างกันกับนาฬิกาอัจฉริยะ เพียงแต่รูปลักษณ์จะไม่เหมือนกัน และก็เน้นไปที่การออกกำลังกายซะส่วนใหญ่ อีกทั้งราคาก็ถูกกว่าด้วย ดังนั้นใครที่ตั้งเป้าไว้เพื่อวัดค่าต่างๆ เพื่อสุขภาพ ควรซื้อสายรัดข้อมือมากกว่า

28.9 Virtual Reality Glasses (แว่น VR) : เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีเก่าแต่ใหม่ในปัจจุบันเลยทีเดียว ต้องบอกว่าได้มีการพัฒนามาอย่างยาวนาน ย้อนไปตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1957 - 1962 ที่นาย Morton heilig กับเพื่อนๆ ของเขา ร่วมมือกันสร้าง "Sensorama" เครื่องดูภาพยนตร์แบบ 3 มิติขึ้นเป็นครั้งแรกแต่ก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จ เนื่องจากต้นทุนที่สูงไม่ว่าจะเป็นในการสร้างเครื่องให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงฟิลม์ภาพยนตร์แบบ 3 มิติ แน่นอนว่าถึงจะสร้างได้เมื่อประเมินแล้วก็ไม่สามารถขายได้ เพราะต้นทุนสูง = ราคาวางจำหน่ายสูง

หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาเรื่อยๆ ประสบความสำเร็จบ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ ด้วยปัจจัยหลายอย่าง อาทิ เทคโนโลยี, ต้นุทน, ทิศทางของตลาด เป็นต้น ยังไม่เอื้ออำนวย ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป เทคโนโลยีเสมือนจริง หรือ Virtual Reality เริ่มแพร่หลายมากขึ้น มีการนำมาทดลองและพัฒนากับความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ

เมื่อเริ่มแพร่หลาย จึงมีการคิดว่าจะทำอย่างไรให้สามารถเข้าถึง User มากที่สุด ไม่ต้องจำเจ เล่นอยู่เพียงแต่ในบ้าน หรือสำนักงาน เหมือนพวกเครื่อง Playstation หรือ Xbox ดังนั้นคำตอบจึงมาหยุดที่สมาร์ทโฟน เพราะด้วยคุณสมบัติ พกพาไปไหนก็ได้ มีแอพฯ ที่หลากหลาย และมีใช้กันทุกคน

หลังจากทราบจุดเริ่มต้นแล้ว มาทำความรู้จักคำว่า VR ให้มากขึ้นว่าที่จริงคืออะไรกันแน่

เป็นเทคโนโลยีสร้างโลกเสมือนจริง ผ่านการจำลองสภาพแวดล้อม จากขั้นตอนของกระบวนการทางเทคนิค (ซอฟต์แวร์) ที่พัฒนาขึ้นตามวัตถุประสงค์ เพื่อการเปิดโลกและมุมมองใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเดิม หรือเรียกว่าแบบ 360 องศา ทำให้เราจะมีอรรถรสด้านความบันเทิงดียิ่งขึ้น เพราะว่าเราก็จะเป็นส่วนหนึ่งในโลกนั้นและมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบได้ด้วย

ถ้าใครยังไม่เห็นภาพลองนึกว่า เราอยู่บริเวณหน้าผาและต้องข้ามไปอีกฝั่งด้วยท่อนไม้ แน่นอนว่าเต็มไปด้วยอารมณ์ความกลัวและความหวาดเสียว เพราะการจะข้ามท่อนไม้หน้าผาสูงๆ คงไม่ใช่เรื่องง่าย

ทั้งนี้เราก็ยกสถานการณ์ข้างต้นมา เพียงแต่จะถูกจำลองสถานการณ์ขึ้นในแว่นเท่านั้น และเราไม่ต้องไปอยู่บริเวณหน้าผาจริงๆ โดยจะอยู่ในสถานที่ใดก็ได้ความรู้สึกก็ยังครบอรรถรสเหมือนเดิม และแว่น VR อนาคตจะกลายเป็นธุรกิจที่ร้อนแรง มาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ๆ ในแขนงเดียวกันหรือมีส่วนผสมที่ทำให้ประสบการณ์การใช้งานดียิ่งขึ้นอีก

ราคาแว่น VR เป็นอย่างไร

ต้องบอกว่าแล้วแต่ความพึงพอใจของผู้ใช้ว่าใช้งานลักษณะใดรวมถึงรูปลักษณ์ และก็ปัจจัยอื่นๆ เช่น การแสดงผล ฟีเจอร์พิเศษ แน่นอนว่าคุณสมบัติครบครันราคาก็สูงส่วนถ้าเอาเฉพาะดูแบบ 360 องศา ไม่เน้นความสวยงามของแว่นผลิตภัณฑ์จำพวก Cardbox ตอบโจทย์เช่นกัน โดยมีราคาประหยัดกว่าด้วย แต่ข้อเสียคืออาจระคายเคืองเพราะวัสดุลังกระดาษ หากเก็บรักษาไม่ดีก็เสียหายง่าย

อย่างไรก็ตามมาดูในส่วนของสมาร์ทโฟนกับแว่น VR บ้าง : จะให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาร์ทโฟนต้องมีเซ็นเซอร์ Gyroscope เพื่อควบคุมทิศทางให้ตรงตามลักษณะการเคลื่อนไหวของผู้ใช้งานแม่นยำมากขึ้น และเพื่อให้การแสดงผลนั้นมีความสวยงาม ก็ควรใช้หน้าจอสมาร์ทโฟนที่ความละเอียดระดับ FullHD หรือขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับสเปกของแว่นดังกล่าวด้วย

นอกจากนี้เทคโนโลยี VR ก็ยังมีส่วนเพิ่มเติมคือเทคโนโลยี AR ที่ช่วยเพิ่มความจริงขึ้นอีก หากบอกว่า Virtual Reality คือการจำลองโลกเสมือน ดังนั้น Augmented Reality หรือ AR คือรูปแบบใหม่ที่จะเพิ่มมิติขึ้นอีก กล่าวคือ จะเป็นการซ้อนภาพเข้าไปอีกทีหนึ่ง ทำให้รู้สึกสมจริงมากขึ้น ถ้าให้เห็นภาพเลยก็คล้ายกับเกม Pokemon Go ที่เมื่อเปิดโหมดดังกล่าว ภาพพื้นหลังที่ปรากฏอยู่ในกล้องดิจิตอลก็จะแสดงขึ้น รวมถึงเจ้าโปเกม่อนด้วย

หรืออีกหนึ่งตัวอย่าง...

ขอบคุณคลิปวิดีโอประกอบจาก IKEA

28.10 Drone : อีกหนึ่งอุปกรณ์ยอดฮิตที่ใครหลายคนได้นำมาใช้ประโยชน์ในแง่ของธุรกิจ กับการช่วยเหลือต่างๆ รวมถึงซื้อไว้เล่นเพื่อความบันเทิงส่วนตัวซึ่งราคาต้องบอกว่ามีตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักแสนเลยทีเดียว แน่นอนว่าฟีเจอร์ก็ต้องแตกต่างกันไปตามราคา อย่างไรก็ตามผู้ใช้ทั่วไปที่จะซื้อมาเพื่อเล่นก็ควรศึกษารายละเอียดให้ถี่ถ้วนก่อน

มือใหม่ต้องเริ่มต้นอย่างไร

การจะเลือกซื้อโดรนเพื่อบินเล่นทั่วไป ต้องมองหาแบบรุ่นสี่ใบพัดหรือ Quadcopter ซึ่งตัวบอดี้เฟรมรูปทรงต่างกันไปตามรูปแบบโครงร่างคล้ายตัวอักษร X หรือ H จุดเด่นคือ สามารถทรงตัวและต้านลมแรงได้ดี (จุดนี้สำคัญต้องทดลองบิน) รวมถึงการบันทึกวิดีโอจะทำทิศทางดีกว่าด้วย ถัดมาก็จะต้องดูฟีเจอร์ต่างๆ เพิ่มเติมเช่นระยะการควบคุม, แบตฯ, ตัวคอนโทรลเลอร์ เมื่อเราจับแล้วสะดวกเหมาะกับมือไหมคล่องตัวหรือไม่, ฟีเจอร์ระบบกลับบ้านเองอัตโนมัติต้องดูว่ามีระบบการบินอย่างไร เพราะหากไม่มีแบบแผน อาจบินชนตึกหรือสิ่งกีดขวางต่างๆ ได้, ระบบรักษาความสูงอัตโนมัติ, กล้อง เป็นต้น

ข้อควรระวัง : ไม่ควรจะเล่นในสถานที่ที่มีลมแรง และก็ไม่นำไปบินใกล้กับสิ่งกีดขวาง อาทิ สายไฟ, ต้นไม้ หรือว่าแนวตึกทั้งหลาย ถ้ายังเป็นมือใหม่อยู่เนื่องจากถ้าตกพังขึ้นมาที แน่นอนว่าอาจไม่ได้ขึ้นบินอีกเลย ดังนั้นจึงต้องอยู่ในความไม่ประมาท

ข้อควรรู้ : การจะซื้อโดรนพื้นฐานสำคัญนอกจากการศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วนแล้ว ปัจจัยที่จะต้องรู้เพิ่มเติม นั่นคือกฏหมาย : หลักเกณฑ์การขออนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน ประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558

จบลงแล้วนะครับสำหรับอุปกรณ์เสริมยอดฮิตที่นิยมนำมาผสมผสานการใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนซึ่งต้องบอกว่าหลายๆ อย่างทำให้ชีวิตในประจำวันสะดวกสบายขึ้นเยอะ เช่นเดียวกับเติมเต็มด้านความบันเทิง ทำให้อะไรๆ ที่เหมือนเดิมกลับแตกต่างจนรู้สึกสนุกสนาน

สารบัญคัมภีร์สมาร์ทโฟน อยากรู้เรื่องใด คลิกเลือกที่หัวข้อได้เลย!

Write a Comment