เคสกันกระแทก เคสกันรอย และ เคสแฟชัน แตกต่างกันอย่างไร ?
เคสโทรศัพท์มือถือและ AirPods Pro พร้อมสายโซ่ - หนังลูกวัวแบบมีลายเคลือบเงา และโลหะสีทอง — แฟชั่น
we need to access your image to provide you with the virtual try on experience, which you can agree to by clicking below.

We do not store nor share this information, and your image is deleted automatically when you close the virtual try-on page. See the CHANEL Privacy Policy for more information on Chanel's use of personal data. By clicking I agree, you confirm that you also agree to the Chanel Legal Statement.
5 อันดับเคสมือถือที่เป็นของพรีเมี่ยมคุณภาพดี | - โรงงานผลิต สินค้าพรีเมี่ยม ของพรีเมี่ยม power bank แบตสำรอง ปากกา ริสท์แบนด์
การทำตลาดของเคสกันกระแทก ในยุคปัจจุบันถือว่ามีความก้าวหน้าและแตกต่างไปจากเดิมมาก เพราะเมื่อก่อนการผลิตเคสส่วนใหญ่มักจะคำนึงถึงความสวยงามและประสิทธิภาพกันกระแทกเท่านั้น แต่ในยุคปัจจุบันเคสกันกระแทกได้มีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่ก้าวกระโดดขึ้น ทั้งรูปร่าง ความปลอดภัย และ ฟังชั่นก์เสริมสำหรับอำนวยความสะดวก นอกจากนี้แล้วก็ยังมีแบรนด์ผู้ผลิตสินค้าชื่อดังอีกมากมาย ที่พากันเข้ามายกระดับเคสให้มีความหรูหราดูมีมาตรฐานยิ่งขึ้นด้วยเสมือนเป็นของพรีเมี่ยมเลยทีเดียว
โดยแบรนด์ที่มีมาตรฐานและมีชื่อเสียงโด่งดังจนได้รับการยอมรับใน ตลาดเคสโทรศัพท์มือถือ มากที่สุดมีอยู่ด้วยกัน 5 แบรนด์ดังต่อไปนี้
ถือเป็นแบรนด์ผู้ผลิตเคสมือถือชื่อดังที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย โดย UAG หรือชื่อเต็มคือ Urban Armor Gear นั้นได้รับการยอมรับในเรื่องการผลิตเคสที่มีความทนทานสูงเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งตั้งแต่การดีไซน์ไปจนถึงวัสดุที่ใช้ ล้วนได้รับการคำนึงถึงประสิทธิภาพกันกระแทกทั้งสิ้น แถมหน้าตาก็ยังดูแข็งแกร่ง เท่ห์ สมบุกสมบัน ที่สำคัญคือ UAG ไม่ได้ผลิตแค่เคสมือถือเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พวกเขายังผลิตเคสสำหรับอุปกรณ์เสริมอย่าง AirPods ไปจนถึงสายรัดข้อมือ Apple Watch ด้วย
Ringke ก็นับเป็นคู่แข่งอีกเจ้าหนึ่งที่ได้รับคำชมถึงประสิทธิภาพด้านการกันกระแทกที่ทำได้ดีไม่แพ้กัน ซึ่งถึงแม้ว่าชื่อเสียงอาจไม่ได้เทียบชั้นเท่ากับของ UAG ได้ แต่ Ringke ก็ยังพยายามทำตลาดเคสให้ผู้ใช้มีตัวเลือกมากกว่า ทั้งเคสกันกระแทกโดยตรง หรือ เคสแบบบางใสสำหรับใช้ป้องกันรอยขีดข่วน นอกจากนี้แบรนด์ก็ยังมีสินค้าจำพวก ฐานติดมือถือกับกระจกรถ และ สายชาร์จ เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับผู้ใช้ด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นของพรีเมี่ยมประจำแบรนด์นี้เลยก็ว่าได้
ภาพลักษณ์ของ Spigen ดูแล้วจะเน้นไปที่ความทันสมัยและการตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้มากกว่า ด้วยหน้าตาที่สวยงาม หรูหรา เรียบง่าย หยิบจับถนัดมือ อีกทั้งยังมีการออกแบบสำหรับใช้งานร่วมกับสมาร์ทโฟนได้หลากหลายรุ่นอีกด้วย ของพรีเมี่ยมดีๆ นี่เอง ไม่ว่าจะ iPhone, Samsung หรือ Huawei การหาซื้อก็ทำได้ง่ายกว่าเพราะมีตัวแทนจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย
หากคุณเป็นคนที่ชอบเคสของพรีเมี่ยมที่มีการออกแบบที่เรียบง่ายไม่มากความ แต่ประสิทธิภาพการใช้งานจะต้องได้รับมาตรฐานความปลอดภัยที่เชื่อถือได้จริง เคสของ Otterbox ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคุณ ซึ่งแบรนด์นี้ได้ผลิตเคสสำหรับโทรศัพท์มือถือของค่ายดังออกมาอย่างมากมาย รวมถึงอุปกรณ์ iPad หรือถ้าหากต้องการอุปกรณ์อื่น ๆ ของ Otterbox เพิ่ม ก็เลือกได้ทั้งอุปกรณ์สายชาร์จและกล่องเก็บความเย็น
ปิดท้ายกับสุดยอดเคสของพรีเมี่ยมจากแบรนด์ผู้ผลิตที่ได้รับการยอมรับ ถึงความสามารถด้านการปกป้องโทรศัพท์มือถือจากแรงกระแทกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ด้วยระบบการทดสอบมาตรฐานระดับกองทัพสหรัฐอเมริกา ที่ดูดซับแรงกระแทกได้มากถึง 10% และยังป้องกันการตกพื้นจากความสูง 11 ฟุต ได้อย่างปลอดภัย ตัวเคสมาพร้อมกับดีไซน์หลากสไตล์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ทุกกลุ่ม และยังใช้ได้กับสมาร์ทโฟนทุกรูปแบบ
และนี่ก็คือรายชื่อแบรนด์ผู้ผลิตเคสสมาร์มโฟนระดับพรีเมี่ยม ที่มีชื่อเสียงมาเป็นอันดับต้น ๆ ของวงการ อีกทั้งยังเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้จำนวนมาก ซึ่งเคสจากทุกค่ายล้วนเหมาะอย่างยิ่ง สำหรับการนำไปใช้งานร่วมกับโทรศัพท์มือถือราคาแพงให้ดูสวยงามสมราคากว่าที่เป็น เคสของทุกแบรนด์ล้วนเป็นของพรีเมี่ยมคุณสูงเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้แล้วเคสมือถือยังสามารถนำมาทำเป็นของพรีเมี่ยมเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ตนเองได้อีกด้วย
เคสมือถือที่ทำเป็นของพรีเมี่ยม จะเน้นที่คุณภาพ ดีไซน์เฉพาะ สำหรับผู้ที่สนใจเคสมือถือที่ไม่เหมือนใครลองหาซื้อมาใช้กันได้ตามร้านค้าต่าง ๆ แต่หากสนใจอยากสั่งของพรีเมี่ยมเพื่อสร้างรายได้เพิ่มเติมสามารถสอบถามได้ที่โรงงานของพรีเมี่ยม ผู้ผลิตของพรีเมี่ยมคุณภาพมาตรฐาน ทั้งกระบอกน้ำ ปากกา แฟลชไดร์ฟ ร่ม ถุงผ้า หน้ากากผ้า เป็นต้น
เคสกันกระแทก เคสกันรอย และ เคสแฟชัน แตกต่างกันอย่างไร ?
เวลาเราซื้อมือถือเครื่องใหม่กันทีนึง ก็คงจะหนีไม่พ้นต้องหาซื้อเคสมาใส่กันเพื่อปกป้องมือถือเครื่องใหม่ของเราให้ดูใหม่อยู่เสมอ และเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานขึ้น แต่ในท้องตลาด ก็มืเคสมือถือมากมายหลายแบบ ทั้งเคสแฟชัน เคสกันรอย และเคสกันกระแทก ที่มีคุณสมบัติและวัสดุของเคสแตกต่างกันไป แล้วทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องใช้เคสแบบไหน และเคสแบบไหนถึงจะดีกับเรามากที่สุด ลองมาอ่านคุณสมบัติของเคสแต่ละแบบกัน
เคสแฟชัน เป็นเคสโทรศัพท์ที่เน้นความสวยงาม ไม่เน้นปกป้องตัวเครื่อง เคสแบบนี้จะมีการออกแบบและลวดลายสีสันที่แล้วแต่ยี่ห้อและคนออกแบบจะทำออกมา เคสแฟชันจะมีทั้งแบบที่เป็นโรงงานผลิตออกมาเป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเคสพิมพ์ลายหรือสกรีนลาย และแบบแฮนด์เมด ที่มีคนรับจ้างทำแบบชิ้นต่อชิ้น ไม่เน้นการกันรอยหรือกันกระแทก นั่นหมายความว่าเมื่อใช้งานไปสักระยะ พลาสติกอาจมีการเสื่อมสภาพ และเปลี่ยนสีได้ในกรณีที่เป็นเคสใส
เคสแบบนี้สามารถหาได้ทั่วไปและมีราคาถูก เริ่มตั้งแต่หลักสิบขึ้นไปจนถึงหลักร้อย เคสชนิดนี้จะใช้พลาสติกเกรดที่มีความทนทานน้อย เพราะจุดประสงค์เพียงแค่นำมาพิมพ์ลายเพื่อให้เวลาที่เอาเคสไปใส่กับโทรศัพท์แล้วเกิดความสวยงามน่าใช้ขึ้นกว่าเครื่องมือถือแบบเดิม ๆ เท่านั้น
เคสแฮนด์เมด ก็คือเคสที่มีการปั้นหรือทำเคสโดยใช้ฝีมือของผู้ทำเพื่อประดับชิ้นงานดังกล่าวลงบนตัวเคสโดยเฉพาะ (ตามชื่อเลย แฮนด์เมด = ทำด้วยมือ) โดยจะมีทั้งแบบการตกแต่งด้วยเรซิน การสกรีนลาย การวาดลวดลายลงไปบนเคส และการติดของประดับตกแต่งอื่น ๆ เช่น สายโซ่ หรือจิวเวลรีลงไป เพื่อความสวยงาม เคสแบบนี้มักจะต้องสั่งออกแบบไปก่อน แล้วรอรับสินค้าในภายหลัง เรียกว่าทำตามสั่ง (Made by Order) โดยตรง
เคสชนิดนี้ส่วนใหญ่มักใช้เคสพลาสติกแข็งเป็นหลัก เพื่อให้สิ่งที่ติดประดับลงไปบนเคส สามารถติดได้คงทนไม่เลื่อนหลุด แต่ก็มีบางแบบเช่นกันที่สามารถใช้เคสแบบซิลิโคนนิ่มได้ด้วย เช่นเคสตัวอย่างด้านล่าง
เคสกันรอยจะมีคุณสมบัติตามชื่อ นั่นคือการกันรอยขีดข่วนให้กับตัวเครื่อง สำหรับแบรนด์ที่มีชื่อหรือเป็นที่รู้จักกันดี ก็จะใช้วัสดุที่มีคุณภาพกว่าเคสแฟชัน และส่วนใหญ่ก็จะสามารถกันกระแทกได้ระดับเบา ๆ เช่น พลัดตกจากมือลงบนโต๊ะในขณะนั่งอยู่ที่โต๊ะ เป็นต้น
เคสซิลิโคน จะใช้วัสดุเป็นซิลิโคนตามชื่อ ซึ่งก็จะมีความยืดหยุ่นและสามารถบิดงอได้ ทำให้มีความนิ่มและสัมผัสยืดหยุ่นกว่าเวลาจับถือหรือใช้งาน เกรดของซิลิโคนที่นำมาผลิตเคสก็จะแตกต่างกันไปตามผู้ผลิตและราคา แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเคสราคาแพงจะใช้ซิลิโคนเกรดดีเสมอไป เคสกันรอยแบบซิลิโคนนี้จะสามารถกันรอยได้ในระดับปานกลาง แต่ก็จะมีรอยที่ตัวมันเองได้ด้วยเช่นกัน (กันรอยให้โทรศัพท์ แต่ไม่ได้กันรอยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเอง) ขึ้นอยู่กับเกรดซิลิโคนที่ใช้เช่นกัน
และเนื่องจากซิลิโคนก็เป็นวัสดุที่อยู่ในกลุ่มพลาสติกเหมือนกัน ดังนั้น เมื่อใช้งานไปสักระยะ ก็จะมีอาการเคสหมองเปลี่ยนสีเป็นสีเหลืองได้ โดยระยะเวลาในการเปลี่ยนสี ก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพวัสดุที่เปลี่ยนไปข้างต้น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
เคสพลาสติกในที่นี้จะเป็นเคสพลาสติกแบบแข็ง ที่ไม่สามารถจับบิดงอได้เหมือนเคสซิลิโคน เมื่อทำการใส่เข้ากับโทรศัพท์แล้วก็จะลงล็อคและยึดติดกับตัวเครื่องได้พอดีไม่ขยับหรือเคลื่อนไป โดยเคสพลาสติกจะหนาหรือบาง ก็ขึ้นอยู่รูปแบบของเคส และการออกแบบของผู้ผลิตเจ้านั้น ๆ ไม่จำเป็นต้องมีสีใสเสมอไป ซึ่งในปัจจุบันก็มีสีและแบบเคสพลาสติกให้เลือกกันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น สีทึบ สีรุ้ง สีพาสเทล แบบขุ่น แบบกลิตเตอร์ (กากเพชร) ฯลฯ
เคสพลาสติกแบบนี้ จะเป็นเคสที่นิยมนำมาทำเป็นเคสแฟชันมากที่สุด เพราะมีความแข็งแรงพอที่จะสามารถเอาไปแต่งเสริมเติมต่อได้หลากหลายรูปแบบ แต่เพราะมันไม่ได้มีความนิ่มและยืดหยุ่นเหมือนเคสซิลิโคน ดังนั้น จึงต้องระวังเรื่องตกกระแทกเป็นพิเศษ ซึ่งถ้าพลาสติกเกรดดีแบรนด์ดังหน่อย ก็จะกันกระแทกได้มากกว่าพลาสติกเกรดทั่วไปที่ขายในราคาถูก ที่เวลาร่วงหลุดจากมือที อาจจะแตกตั้งแต่เคสแล้วสร้างรอยให้เครื่องโทรศัพท์เราต่อได้อีกทอด ขึ้นอยู่กับระดับความสูงในการร่วง
เคสหนังจะเน้นในเรื่องของความดูหรูหราน่าใช้งาน โดยปกติแล้ว ตัวเคสจะไม่ได้สร้างจากหนังแล้วเอามาขึ้นรูปเลยโดยตรง แต่จะใช้การหุ้มหนังเข้ากับเคสพลาสติกแข็งอีกที ทำให้สามารถใส่เข้ากับโทรศัพท์ได้ง่าย เคสหนังจะมีหลายราคาขึ้นอยู่กับวัสดุหนังที่นำมาทำเคส โดยแบรนด์ไฮเอนด์บางแบรนด์ เช่น Coach, Gucci, MCM, Louis Vuitton ก็มีมาทำเคสโทรศัพท์ขายกับเขาด้วยเช่นกัน สนนราคาก็เริ่มตั้งแต่หลักพันไปจนถึงหลักหมื่นเลยล่ะ
นอกเหนือจากการนำหนังมาทำเคสเพื่อความสวยงามแล้ว ยังมีเคสหนังที่ถูกนำมาดัดแปลงเพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งาน เช่น เคสใส่บัตร อีกด้วย
เคสฝาพับ จะมีรูปร่างหน้าตาคล้าบกับกระเป๋าถือของผู้หญิง โดยเคสฝาพับ จะมีโครงเคสด้านในที่ทำจากพลาสติกแข็งเช่นเดียวกัน ส่วนที่หุ้มเคสและการทำเป็นฝาพับด้านนอก จะใช้วัสดุแตกต่างกันตามการออกแบบของผู้ผลิต เช่น หนัง ผ้าสักกะหลาด หนังกึ่งพลาสติก เป็นต้น ซึ่งจะสามารถกันรอยได้มากกว่าเคสทั่วไป (เพราะคลุมเครื่องทั้งหมด) และกันกระแทกได้ปานกลาง
เคสฝาพับ มักเป็นเคสที่นำไปต่อยอดเป็นเคสเสริมฟังก์ชันการใช้งานมากที่สุด เพราะมีพื้นที่ว่างสำหรับการตกแต่งสร้างสรรค์มากกว่าเคสอื่น ๆ ที่มักติดปัญหาในเรื่องดีไซน์ของโทรศัพท์ เช่น รูเจาะของกล้องหลังที่มีตำแหน่งไม่ตรงกันในโทรศัพท์แต่ละรุ่น
เคสประเภทนี้จะถูกออกแบบมาให้มีความทนทานต่อการตกกระแทกเป็นพิเศษ ซึ่งจะช่วยยืดอายุการใช้งานของโทรศัพท์จากการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดขึ้นได้ โดยวัสดุที่เป็นส่วนประกอบของเคสจะมีหลากหลายขึ้นอยู่กับผู้ผลิตโดยตรง เช่น เคสของ UAG จะใช้การผสมผสานวัสดุอย่างโพลีคาร์บอเนต พลาสติกแข็ง และยาง TPU เข้าด้วยกัน, เคสของ Otterbox จะใช้โพลีคาร์บอเนตและซิลิโคน เป็นต้น
ส่วนเรื่องการกันรอยนั้นมาคู่กันอยู่แล้ว เพราะในระดับที่สามารถกันกระแทกได้แล้วเนี่ย เรื่องเล็กน้อยอย่างกันรอยนี่หายห่วง (กันรอยให้เครื่องอย่างเดียวนะ ไม่นับตัวเคสที่อาจมีรอยได้เอง ขึ้นอยู่กับวัสดุของเคสนั้น ๆ)
โดยเคสที่สามารถกันกระแทกได้แบบไร้กังวล จะเป็นเคสกันกระแทกที่มีมาตรฐานทางทหาร หรือที่นิยมเรียกกันว่า Military Standard (MIL-STD) เพราะเป็นเครื่องรับรองได้ว่ามีความทนทานและมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะนำไปใช้ทางการทหารได้ เช่น ทนต่อการตกกระแทก ทนต่อการสั่นสะเทือน หรือเรียกรวม ๆ ได้ว่า ทนต่อการนำไป "สมบุกสมบัน" นั่นเอง
เคสกันกระแทกจากอลูมิเนียม ถึงแม้ว่าชื่อจะบอกว่าผลิตด้วยวัสดุหลักเป็นอลูมิเนียม แต่ก็มีการผสมวัสดุอื่นในการผลิตขึ้นเพื่อกันกระแทกด้วยเช่นกัน โดยกรอบด้านนอกของเคสจะผลิตจากอลูมิเนียมเพื่อความสวยงาม ส่วนด้านในของกรอบจะเป็นวัสดุ EVA ซึ่งเป็นโฟมโพลิเมอร์ที่นิยมนำไปทำแผ่นกันกระแทก พื้นรองเท้า แผ่นรองเมาส์ เสื่อโยคะ เป็นต้น จึงทำให้เครื่องไม่เป็นรอยจากอลูมิเนียม เพราะมี EVA คั่นกลางระหว่างเคสกับเครื่อง
ตอนแรกผู้เขียนชั่งใจอยู่ว่าจะจัดมันไปอยู่ในระดับกลางหรือระดับสูงสุดดีสำหรับ เคสบัมพ์เปอร์ แต่เนื่องจากว่าประเภทของตัวเคสไม่ใช่ตัวชี้วัดระดับการกระแทก แต่เป็นวัสดุของมันต่างหากที่เป็นตัวชี้ขาดในเรื่องนี้ ดังนั้นถึงของจับมันแยกออกมาดีกว่า ซึ่งวัสดุที่ว่าก็จะมีตั้งแต่ยางกันกระแทกแบบบาง ๆ ที่พอมีความยืดหยุ่น ไปจนถึงซิลิโคนเกรดที่ใช้ทางการแพทย์เลยล่ะ
โดยเคสบัมพ์เปอร์ จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวตรงที่ เคสแบบนี้มักจะไม่มีพื้นหลังของเคสมาให้ (แต่บางรุ่นก็มี) จะมีเพียงกรอบข้างให้ใส่เท่านั้น นั่นหมายความว่ามันจะไม่สามารถกันรอยขีดข่วนด้านหลังของเครื่องได้ แต่เมื่อถึงเวลาตกกระทบ ด้วยความที่เคสบัมพ์เปอร์ ถูกออกแบบมาให้มีขอบที่ยกสูงกว่าตัวเครื่อง ดังนั้นเวลาตก ขอบจะสัมผัสก่อน ทำให้ได้รับแรงกระแทกน้อยลงโดยขึ้นอยู่กับวัสดุ สำหรับแบรนด์ที่ทำเคสบัมพ์เปอร์ขายและมีวัสดุในระดับดีก็เช่น Elephant, ElementCase
เคสกันกระแทกระดับปานกลาง จะไม่หนาและหนักเท่าเคสที่มีการกันกระแทกในระดับสูงสุด ทำให้ชั้นของวัสดุมีความบางกว่า และมีน้ำหนักเบากว่า แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณสมบัติในการตกกระแทกในระดับการใช้งานทั่วไป เช่น ตกจากมือขณะยืนหรือเดิน ตกจากมือลงกระทบกับขั้นบันได เป็นต้น แบรนด์ที่อยู่ในข่ายนี้ก็เช่น UAG, Otterbox, Pelican, Gear4, JTLegend, Case-Mate, ElementCase, Spigen, Mous, ฯลฯ
เคสกันกระแทกระดับสูงสุด มักจะมีวัสดุที่หนาและมีความคงทนมากที่สุดในบรรดาประเภทเคสโทรศัพท์ทั้งหมด ทำให้มีประสิทธิภาพในการกันกระแทกระดับสูงสุด สามารถทนต่อการตกกระแทกได้ในจำนวนครั้งที่มากที่สุด ซึ่งในหลาย ๆ แบรนด์ สามารถผ่านการทดสอบประสิทธิภาพได้เหนือกว่าที่มาตรฐานทางทหารกำหนดไว้เสียด้วยซ้ำไป แบรนด์ที่อยู่ในข่ายนี้ก็เช่น UAG, Otterbox, Pelican, Gear4, Case-Mate, SupCase เป็นต้น
เคสเสริมฟังก์ชันการใช้งาน เป็นเคสที่ถูกออกแบบมาให้มีหน้าที่มากกว่าการป้องกันรอยที่เกิดจากการใช้งานและการตกกระแทกเบื้องต้น เช่น เคสใส่บัตร ที่เอามาใส่บัตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเครดิต บัตร ATM นามบัตรต่าง ๆ หรือบัตรอื่น ๆ ที่ต้องการได้ และเคส Wireless Charge ที่ทำให้โทรศัพท์ที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการชาร์จไร้สาย สามารถใช้ชาร์จแบบไร้สายได้ด้วย
เคสใส่บัตร มีฟังก์ชันการใช้งานตามชื่อเลยคือ สามารถใส่บัตรหรือธนบัตรแบบพับได้ เคสแบบนี้จะมีข้อดีคือสามารถพกเครื่องโทรศัพท์ไปไหนมาไหนได้โยไม่ต้องกลัวลืมกระเป๋าสตางค์ เพราะมีบัตรมีเงินอยู่ในมือถือที่เดียวแล้ว โดยส่วนมาก เคสใส่บัตรมักจะถูกผลิตมาในรูปของเคสหนัง หรือเคสฝาพับ เพราะมีความยืดหยุ่นของวัสดุและรูปทรงของเคส ที่สามารถนำมาทำเคสใส่บัตรได้ แต่ก็มีเคสแบบพลาสติกที่ทำซองใสติดด้านหลังเพื่อการใส่บัตรด้วยเหมือนกัน
เคสชาร์จแบบไร้สาย (Wireless Charge Case) เป็นเคสที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้โทรศัพท์มือถือที่ไม่มีฟังก์ชันชาร์จไร้สาย สามารถใช้งานฟังก์ชันดังกล่าวได้ เช่น การวางบนแท่นชาร์จเพื่อชาร์จแบตเตอรี่โดยไม่ต้องเสียบสายชาร์จกับตัวโทรศัพท์
แต่เคสแบบนี้ จะต้องใช้การเสียบหัวชาร์จของเคส เข้ากับพอร์ตเสียบสายชาร์จของโทรศัพท์ตลอดเวลาแทน ทำให้ไม่สามารถเสียบหูฟังได้ในกรณีที่โทรศัพท์รุ่นนั้น ๆ ใช้พอร์ตเดียวกันกับการชาร์จ ไม่ได้มีช่องเสียบหูฟังแยก เคสแบบนี้ จะมีทั้งแบบที่ผู้ผลิตอิสระทำ และแบบที่เจ้าของค่ายมือถือรุ่นนั้น ๆ ทำเอง เช่น Huawei เป็นต้น
สรุปการเลือกเคสมือถือที่เหมาะกับตัวคุณก็คือ ต้องตั้งคำถามกับตัวเองก่อนว่า คุณเป็นคนใช้โทรศัพท์มือถือแบบไหน เช่น ถ้าหากคุณเป็นคนใช้มือถือไม่ค่อยติดมือ ส่วนใหญ่วางกับโต๊ะ เวลาไปเข้าห้องน้ำไม่พกมือถือไปด้วย หรือมีกระเป๋า / ซองใส่มือถืออีกที ก็สามารถใช้เคสแฟชัน หรือเคสกันรอยทั่วไปได้ เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว
แต่ถ้าคุณเป็นคนที่พกมือถือติดตัวตลอดเวลา ใช้มือถือราคาแพง และต้องหยิบออกมาดูหรือใช้นอกสถานที่หรือกลางแจ้งอยู่บ่อย ๆ การขยับมาใช้เคสที่กันรอยรอบด้านอย่างเคสฝาพับ หรือ เคสกันกระแทก ก็จะช่วยให้อุ่นใจเรื่องความปลอดภัยของมือถือที่คุณใช้ได้ในระดับหนึ่งว่า มันจะไม่เสื่อมสภาพก่อนอายุการใช้งานที่ควรจะเป็น และจะไม่เกิดอาการรวนอันเนื่องมาจากการตกกระทบของชิ้นส่วนภายใน
Write a Comment