ประวัติและความเป็นมา
บทที่ 1 ประวัติความเป็นมาของเทคโนโลยี 3G เทคโนโลยี 3G คืออะไร 3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต
3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน การตอบรับของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการเปิดสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่างก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้างผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) ของผู้ให้บริการเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการลดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม กับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะสร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone) เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ดังแสดงพัฒนาการในรูปที่ 1 เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า I-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก วิวัฒนาการของเทคโนโลยี 3G
โทรศัพท์มือถือมีวิวัฒนาการเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ รวมทั้งเป็นการบริหารจัดการคลื่นวิทยุอย่างมีประสิทธิภาพเป็นยุคหรือเจเนอเรชัน (generation) ซึ่งยุคของโทรศัพท์มือถือสามารถแยกแยะได้ดังนี้
เจเนอเรชันที่ศูนย์ (0G) เป็นยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ก่อนระบบเซลลูลาร์ ซึ่งก็คือโทรศัพท์ที่ใช้คลื่นวิทยุในการสื่อสารยุคแรก
เจเนอเรชันที่หนึ่ง (1G) นี่เป็นการเริ่มต้นการใช้ระบบสื่อสารแบบ เซลลูลาร์ โทรศัพท์มือถือในยุคนี้เป็นโทรศัพท์มือถือที่ใช้มารตรฐานการสื่อสารในระบบอนาล็อก และมีใช้กันในช่วง พ.ศ. 2523-2533
เจเนอเรชันที่สอง (2G) มีการพัฒนานำระบบดิจิตอลเข้าสู่โลกการสื่อสารไร้สาย นั่นคือมีการส่งสัญญาณในระบบดิจิตอล ซึ่งช่วยเพิ่มคุณภาพของสัญญาณ รวมทั้งยังทำให้สามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการสื่อสารข้อมูลที่ไม่ใช่เสียงเกิดขึ้นด้วย โทรศัพท์มือถือในยุคนี้สามารถใช้บริการ SMS ได้แล้ว
เจเนอเรชันที่ 2.5 และ 2.75 (2G และ 2.75G) พื้นฐานของโทรศัพท์มือถือยุค นี้ยังคงเหมือนกับยุคที่สอง โดยเพิ่มความสามารถในการสื่อสารข้อมูลอื่นๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทางบริการ WAP (Wireless Application Protocol) และ GPRS (General Packet Radio Service) ลักษณะของโทรศัพท์มือถือยุคนี้ที่เห็นได้อีกก็คือ จอสี และกล้อง
เจเนอเรชันที่ 3 (3G) โทรศัพท์ยุคที่สามนี้เป็นการใช้ระบบเครือข่ายรูปแบบใหม่ ด้วยจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลให้มากขึ้นสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต ข้อมูลด้านภาพ หรือธุรกรรมต่างๆ ซึ่งโลกสื่อสารไร้สายกำลังเดินเข้าสู่โทรศัพท์มือถือยุคนี้กันแล้ว รูปที่ 2 การเติบโตของบริการประเภท Non-Voice ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ในรูปแบบ Non-Voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบ หรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าบริการเหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่เพิ่มมูลค่าให้บริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของบริการประเภทต่าง ๆ บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมของทั้งทวีปเอเชียตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2553 ซึ่งในท้ายที่สุดบริการแบบ Non-Voice จะมีสัดส่วนที่เป็นนัยสำคัญต่อรายได้รวมทั้งหมด สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยเอง นับตั้งแต่การเปิดให้บริการประเภท Non-Voice อย่างจริงจังเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถสร้างรายได้เพื่อเสริมทดแทนการลดทอนของค่า ARPU ภายในเครือข่ายของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการสื่อสารไร้สายมัลติมีเดียของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (HUTCH) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา สภาพการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารไร้สายในประเทศไทยก็เริ่มมุ่งความสำคัญในการสร้างบริการ Non-Voice ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการ MMS อย่างเป็นทางการ การคิดโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแม้กระทั่งการทดลองเปิดให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (TV on Mobile) ซึ่งความพยายามของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละราย ทำให้เกิดกระแสความสนใจใช้บริการ Non-Voice เพิ่มมากขึ้น รูปที่ 3 การเติบโตของค่า ARPU ของผู้ให้บริการค่าย AIS และ DTAC
ในช่วงไตรมาสแรก พ.ศ. 2546 – ไตรมาสแรก พ.ศ. 2547 ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) รูปที่ 4 การเติบโตของตลาดผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย
ในช่วงไตรมาสที่สอง พ.ศ. 2546 – ไตรมาสแรก พ.ศ. 2547) ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) รูปที่ 3 และ 4 แสดงถึงความสำคัญของรายได้ที่เกิดขึ้นจากบริการ Non-Voice นับตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา อันมีผลทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเพิ่มค่า ARPU ของตนให้มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อม ๆ กับการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการภายในเครือข่ายของตน ซึ่งแตกต่างจากสภาพการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ที่รายได้เฉลี่ยของตนตกลงเรื่อย ๆ สวนทางกับการเพิ่มจำนวนของกลุ่มผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมใช้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของประเทศ มีการเพิ่มค่า ARPU ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากนโยบายการตลาดของผู้ให้บริการที่มีการจำกัดเวลาในการโทรให้สัมพันธ์กับวงเงินก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ความนิยมในบริการ Non-Voice ประเภท SMS และ EMS โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบของบริการดาวน์โหลดรูปภาพ (Logo/Animation) และเสียงเรียกเข้า (Ringtone) ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษามีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อการเพิ่มค่า ARPU ดังกล่าว บทที่ 2 การทำงานของ 3G ลักษณะในการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ, รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่, ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์ แบบสั้นๆ จุดเดนของ 3G จุดเดนที่สุดของคํ าวา 3G คือความเร็วในการเชื่อมตอ การติดต อ และการสง ข อมูล เนนการเชื่อมตอแบบ wireless (ไรสาย) ด วยความเร็วสูง นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพในสงของการรับสงขอมูลจากเดิมใหเร็วขึ้น เน นการติดตออยางสมบูรณ แบบ อยางการ call conference, ประชุมทางไกล,การดาวนโหลดภาพ เสียง clip Video เพลง ภาพยนตร หรือ Application ตางๆ รวมถึ งการติดตอธนาคารทางโทรศัพท การโอนเงิน เช็คยอดเงิน ซื้อขายของ หาพิกัด ตรวจสอบเสนทาง ซึ่งจะทําใหชีวิตสะดวกสบายยิ่งขึ้น3G ทําใหเราสามารถติดตอกันไดอยางรวดเร็วฉับไว ยอโลกในแคบลง เพิ่มความสะดวกสบายใหกับการดําเนินชีวิต ซึ่งถือว าเปนหัวใจหลักของเทคโนโลยี อีกจุดเดนของ 3G คือความสมจริง เปรี ยบเหมือนเปนการใสความรูสึกขาไป ไมใชเปนเพียงเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส เชน ไฟลเสียงสมจริง (Truetone) การแสดงภาพแบบ 3D หรือการติดตอเชื่อมโยงตางๆแบบ interactive และหัวใจหลักอยางการเปนระบบ Always on ซึ่งเปนการเชื่อมตอกับระบบอยูตลอดเวลา ทํ าใหเราไม พลาดการติดตออีกตอไปปจจุบันในเมืองไทยเองก็กาวใกลความเปน 3G อยูพอสมควร หากมองถึงตัวเครื่องโทรศัพท โทรศัพทที่รองรับในสวนนี้ก็จะรองรับในการทําอะไรไดหลายๆในเครื่องเดียว อยางเชน โทรศัพทมือถือหลายๆรุนที่สามารถ ถายภาพ ฟงเพลง Mp3 ดู TV ผานเครือขาย GPRS หรือ EDGE การจัดการขอมูล (Organizer)การส งผานขอมู ลในดานตางๆไมวาจะเปน IrDA Bluetooth Wi-Fi สวนในดานของระบบในเมื องไทย ที่เห็นวาใกลเคียงมาตรฐาน 3G ก็คงจะเปน การเชื่อมตอผาน EDGE ซึ่ง ดวยความเร็ว 118 K
เทคโนโลยี 3G น่าสนใจอย่างไร
จากการที่ 3G สามารถรับส่งข้อมูลในความเร็วสูง ทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ อย่างรวดเร็ว และ มีรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้น ประกอบกับอุปกรณ์สื่อสารไร้สายในระบบ 3G สามารถให้บริการระบบเสียง และ แอพพลิเคชั่นรูปแบบใหม่ เช่น จอแสดงภาพสี, เครื่องเล่น mp3, เครื่องเล่นวีดีโอ การดาวน์โหลดเกม, แสดงกราฟิก และ การแสดงแผนที่ตั้งต่างๆ ทำให้การสื่อสารเป็นแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่สร้างความสนุกสนาน และ สมจริงมากขึ้น 3G ช่วยให้ชีวิตประจำวันสะดวกสบายและคล่องตัวขึ้น โดย โทรศัพท์เคลื่อนที่เปรียบเสมือน คอมพิวเตอร์แบบพกพา, วิทยุส่วนตัว และแม้แต่กล้องถ่ายรูป ผู้ใช้สามารถเช็คข้อมูลใน account ส่วนตัว เพื่อใช้บริการต่างๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น self-care (ตรวจสอบค่าใช้บริการ), แก้ไขข้อมูลส่วนตัว และ ใช้บริการข้อมูลต่างๆ เช่น ข่าวเกาะติดสถานการณ์, ข่าวบันเทิง, ข้อมูลด้านการเงิน, ข้อมูลการท่องเที่ยว และ ตารางนัดหมายส่วนตัว
คุณสมบัติหลักของ 3G คุณสมบัติหลักของ 3G คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดเครื่องโทรศัพท์ (always on) นั่นคือไม่จำเป็นต้องต่อโทรศัพท์เข้าเครือข่าย และ log-in ทุกครั้งเพื่อใช้บริการรับส่งข้อมูล ซึ่งการเสียค่าบริการแบบนี้ จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเรียกใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายเท่านั้น โดยจะต่างจากระบบทั่วไป ที่จะเสียค่าบริการตั้งแต่เราล็อกอินเข้าในระบบเครือข่าย อุปกรณ์สื่อสารไร้สายระบบ 3G
สำหรับ 3G อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่โทรศัพท์เท่านั้น แต่ยังปรากฏในรูปแบบของอุปกรณ์ สื่อสารอื่น เช่น Palmtop, Personal Digital Assistant (PDA), Laptop และ PC ได้ทราบว่าประเทศไทยกำลังจะมีบริการ 3G เป็นครั้งแรก โดยกิจการร่วมค้าไทย – โมบาย ซึ่งปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM 1900 เมกะเฮิตรซ์ มาเป็นบริการ 3G แบบ W-CDMA อีกทั้งยังถือเป็นการเปิดให้บริการ 3G เป็นรายแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นเพื่อเป็นการทำความเข้าใจกับมาตรฐาน 3G ที่มีอยู่หลากหลาย จึงขอนำเสนอบทความพิเศษ “ รู้จัก 3G เพื่อความเข้าใจสู่โลกไร้สายยุคใหม่ ” สำหรับผู้สนใจในเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายทุกท่าน โดยบทความจะนำเสนอในรูปแบบง่าย ๆ ไม่เน้นหนักเทคนิคมากจนเกินไป โดยในตอนแรกนี้จะเสนอภาพรวม ก่อนที่จะเข้าสู่รายละเอียดเพิ่มเติมในบทความตอนต่อไปซึ่งถือเป็นตอนสุดท้าย ปญหาสําคัญของระบบไรสาย การที่พัฒนาการของการสื่ อสารไรสายและระบบติดตามตั วยังไปไดไมทันใจ ทั้ งนี้ เพราะมีอุปสรรคและปญหาที่สําคัญ ซึ่งเปนปญหาหลักสี่ประการคือ 1. ระบบไรสายใชอัตราการรับสงขอมูลไดต่ำ 2. คาบริการคอนขางแพง 3. โมเด็มรับสงแบบคลื่นวิทยุ ใชกําลังงานไฟฟาสูง 4. ระบบยูสเซอรอิ นเตอรเฟสที่ใชกับระบบติดตามตั วยังไมดี ไมเหมาะกับการใชงานขณะเคลื่อนที่ ปญหาเหลานี้เปนปญหาที่ระบบไรสายในยุ ค 3G ตองแก ไขใหไดใหหมด โดยเฉพาะระบบโทรศัพทเคลื่อนที่ที่ตองเพิ่มอัตราการรับสงขอมูลใหไดมาก เพื่อจะ สงรูปภาพหรือภาพเคลื่อนไหวไดตองมี อัตราค าใชบริการที่ถู กลง และเครื่องที่ใช ตองใชกําลั งงานต่ำเพื่อจะใชไดนาน สวนระบบการเชื่อมตอในปจจุบันก็กาวมาในรูปแบบ WAP – Wireless Application Protocol หรือที่เรียก ยอ ๆ วา WAP ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G แม้จะสามารถรองรับการสื่อสารประเภท Non-Voice ได้ แต่ก็ไม่อาจสร้างบริการประเภท Killer Application ที่ผลิกผันรูปแบบการให้บริการได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสถาการณ์การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจนในตลาดประเภท Non-Voice แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็จะพบว่าบริการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นบริการประเภท SMS และ EMS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้า รวมถึงการเล่นเกมส์ตอบปัญหาหรือส่งผลโหวตที่ปรากฏอยู่ตามสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการพื้นฐานในเครือข่าย 2G ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิตรซ์ , 1800 เมกะเฮิตรซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา แม้เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice ในลักษณะเดียวกับที่พบในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ตาม แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดสรรวงจรสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุจากสถานีฐานไปยังเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการต่อไป โดยในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกสำหรับใช้บริการ ความสนใจที่จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรับส่งข้อมูลจึงมีอยู่เฉพาะการเล่นเกมส์และส่ง SMS, MMS ซึ่งทำได้ง่าย และมีการประชาสัมพันธ์ดึงดูดใจมากมาย บทที่ 3 มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย – โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน Cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น
รูปที่ 6 ศักยภาพในด้านการรองรับการสื่อสารข้อมูลอัตราเร็วสูงของมาตรฐาน W-CDMA ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) กล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA: 24 September 2003) 1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น 2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย 3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอดีต
รูปที่ 7 เปรียบเทียบอัตราการเติบโตของเครือข่าย GSM และ W-CDMA ใน 10 ไตรมาสแรกนับตั้งแต่วันเปิดให้บริการครั้งแรก ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) 4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM 5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band) 6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ
รูปที่ 7 เทคโนโลยี WiMAX กับพัฒนาการทางเทคนิค ที่มา (ไพรัตน์ ยิ้มวิลัย, 2548) อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยี WiMAX ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บางประการ โดยเฉพาะคุณลักษณะทางเทคนิคที่จำกัดการใช้งานในขณะเคลื่อนที่ ข้อเท็จจริงก็คือเทคโนโลยี WiMAX ได้รับการพัฒนาขึ้นบนมาตรฐานสื่อสารไร้สาย IEEE802.16 โดยมีลำดับขั้นการพัฒนาเริ่มจาก IEEE802.16d ซึ่งกำลังจะมีการประกาศใช้งานทั่วโลกภายในปี พ.ศ. 2548 รองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงในหลายย่านความถี่ใช้งาน เช่น 2.5 กิกะเฮิตรซ์, 3.5 กิกะเฮิตรซ์ และ 5.8 กิกะเฮิตรซ์ ด้วยรูปแบบการส่งสัญญาณแบบเส้นทางตรง (Line of Sight หรือ LOS) และการสื่อสารแบบเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วไป (Non Line of Sight หรือ NLoS) แต่มาตรฐาน IEEE802.16d ไม่สามารถรองรับผู้ใช้งานที่มีเคลื่อนที่ไปมาได้ จนกว่าจะมีมาตรฐาน IEEE802.16e ซึ่งคาดว่าจะได้รับการพัฒนาจนพร้อมประกาศใช้งานได้จริงในปี พ.ศ. 2550 มาตรฐานใหม่นี้สามารถให้บริการผู้ใช้งานที่มีการเคลื่อนที่ แต่ก็ยังจำกัดในเรื่องของความเร็วในการเดิน โดยทั่วไปน่าจะเหมาะกับการเดินไปมาในระยะทางใกล้ เช่น ลุกจากที่นั่งพร้อมอุปกรณ์สื่อสารเพื่อไปยังอีกจุดหนึ่งที่อยู่ใกล้ (Nomadic Movement) การรองรับบริการแบบเคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากขึ้นคงต้องรอจนถึงปี พ.ศ. 2551 ไปแล้ว อย่างไรก็ตามพัฒนาการของเทคโนโลยี WiMAX อาจเกิดขึ้นเร็วกว่านี้ หากผลตอบรับจากการเปิดให้บริการเป็นไปด้วยดี จนทำให้ผู้พัฒนาเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากบริษัท Intel ต้องเร่งผลักดันมาตรฐาน IEEE802.16e และ IEEE802.16e+ ให้เกิดขึ้นเร็วกว่ากำหนดเดิม 3. เทคโนโลยี Flash-OFDM (Flash Orthogonal Frequency Division Multiplexing)เป็นอีกเทคโนโลยีทางเลือกซึ่งใช้การรับส่งข้อมูลแบบ OFDM เช่นเดียวกับที่ใช้ในเครือข่าย WiMAX ทั้งนี้ Flash-OFDM เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยบริษัท Flarion ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีย่านความถี่ใช้งานได้ตั้งแต่ช่วง 450 เมกะเฮิตรซ์ ขึ้นไปจนถึง 2.5 กิกะเฮิตรซ์ แล้วแต่ว่าประเทศใดมีย่านความถี่ช่วงใดว่างสำหรับใช้งาน คุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีดังกล่าวรองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็ว 3 เมกะบิตต่อวินาทีจากสถานีฐานไปสู่อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย และ 800 กิโลบิตต่อวินาทีในทางกลับกัน ย่านความถี่ที่น่าจะมีการนำไปใช้กับเทคโนโลยี Flash-OFDM มากที่สุดก็คือ 450 เมกะเฮิตรซ์ ซึ่งเป็นความถี่ดั้งเดิมที่ใช้กับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ NMT (Nordic Mobile Telephone) ซึ่งเป็นเครือข่ายโบราณในยุค 1G และพบว่ายังมีการถือครองสิทธิ์ความถี่ดังกล่าวอย่างมากในบรรดาประเทศแถบยุโรปตะวันออก ซึ่งเพิ่งอยู่ในยุคเปิดประเทศ และมีการพัฒนาเครือข่ายจากยุค 1G ไปเป็นเครือข่ายสื่อสารข้อมูลไร้สายที่เน้นต้นทุนต่ำ จึงเหมาะกับการเปิดตัวของมาตรฐาน Flash-OFDM ในฐานะของทางเลือกหนึ่งสำหรับการให้บริการ BWA โดยไม่ต้องรอขออนุมัติใช้ย่านความถี่เมื่อเทียบกับการเลือกเปิดให้บริการ HSDPA หรือ WiMAX เมื่อนำเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายทั้ง 3 ชนิด ที่จัดว่าเข้าข่ายเป็นทางเลือกในการนำมาเปิดให้บริการ BWA มาจัดกลุ่มตามคุณสมบัติการให้บริการเพื่อกำหนดรูปแบบการนำไปใช้งานแล้วก็จะได้ดังแสดงในรูปที่ 8 โดย HSDPA มีความเหมาะสมกับบริการ BWA ที่ผู้ใช้งานเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ WiMAX ตามมาตรฐาน IEEE802.16d ซึ่งเป็นรุ่นแรกที่จะมีการเปิดตัวใช้งานในเร็ว ๆ นี้ เหมาะสำหรับการเปิดใช้งานในลักษณะของเครือข่ายบรอดแบนด์แบบใช้งานประจำที่ โดยอาศัยคลื่นความถี่วิทยุจากสถานีฐาน WiMAX เป็นช่องทางในการนำสัญญาณข้อมูลไปยังอุปกรณ์รับส่งที่ติดตั้งอยู่ภายในที่พักอาศัยหรือสำนักงาน ซึ่งโดยทั่วไปเรียกชื่ออุปกรณ์ประเภทนี้ว่า CPE (Customer Premises Equipment) ซึ่งอาจมีลักษณะไม่ต่างจากโมเด็ม ADSL หรือเราเตอร์ ADSL ที่มีใช้งานกันในปัจจุบัน ทั้งนี้จากรูปที่ 8 จะเห็นว่ามาตรฐานสื่อสารแบบ WiFi หรือ WLAN และมาตรฐาน WiMAX รุ่นถัดไป (IEEE802.16e) มีขีดความสามารถเพียงพอในการรองรับผู้ใช้งานที่พอจะมีการเคลื่อนที่บ้าง นอกจากการจัดแบ่งประเภทของบริการที่สอดคล้องกับการเคลื่อนที่ของผู้ใช้งานแล้ว คุณภาพของการรับส่งข้อมูล (Quality of Service) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการกำหนดประเภทของการให้บริการ โดยเทียบกับเทคโนโลยีบรอดแบนด์แบบมีสาย เช่น ADSL ซึ่งให้บริการผู้ใช้งานที่อยู่ประจำที่และรับประกันคุณภาพในการรับส่งข้อมูลในระดับที่สูงมาก เนื่องจากใช้คู่สายสัญญาณในการรับส่งข้อมูล สำหรับบริการ WiMAX แบบประจำที่นั้น จะมีคุณภาพในการรับส่งข้อมูลต่ำกว่า ADSL เนื่องจากเป็นการใช้คลื่นความถี่วิทยุ หากต้องการให้มีคุณภาพสูงขึ้นก็ต้องลดอัตราเร็วในการรับส่งหรือลดจำนวนผู้ใช้งานที่พึงให้บริการได้ เพื่อชดเชยกับข้อมูลปรับแก้คุณภาพ (Overhead) ที่ต้องใส่เพิ่มเข้าไป จึงส่อให้เห็นว่าการกำหนดค่าบริการ WiMAX แบบประจำที่นั้นอาจจะทำได้ไม่สูงกว่า ADSL มากนัก แม้จะถือว่าเป็นบริการ BWA แบบเน้นการใช้งานประจำที่ ที่เป็นทางเลือกทดแทนการขอคู่สาย ADSL ในพื้นที่ทุรกันดานหรือขาดแคลนวงจรสื่อสารแบบบรอดแบนด์ก็ตามที ซึ่งนับว่าสอดคล้องกับตำแหน่งทางการตลาดของกลุ่มผู้ใช้งานประจำที่ซึ่งแสดงในรูปที่ 3
Write a Comment