#มือใหม่ใช้มือถือ ข้อมูลน่ารู้สำหรับมือใหม่ที่กำลังจะเริ่มใช้งานสมาร์ทโฟน!!

ปัจจุบันนี้สมาร์ทโฟนนับเป็นปัจจัยสำคัญในชีวิตประจำวัน และ มีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจมีผู้ใช้หลายท่านยังมีข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับสมาร์ทโฟนอยู่ในใจ บทความนี้จะพาไปรู้จักสิ่งต่างๆ ที่ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมือใหม่ควรรู้ไว้เป็นพื้นฐาน..

หากจะอธิบายแบบง่ายๆ คือ ชื่อเรียกโทรศัพท์มือถือที่สามารถใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ได้ เช่น Line, Facebook, Instagram ฯลฯ บนตัวเครื่องได้ หรืออีกนัยนึงก็คือโทรศัพท์มือถือที่มีระบบปฏิบัติการในตัว ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ผลิตหลายค่ายมักจะนิยมนำหน้าจอสัมผัสขนาดต่างๆ มาใช้งานมากขึ้น รวมถึงดีไซน์ตัวเครื่องในรูปแบบต่างๆ มากมาย เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ให้มากที่สุด

ระบบปฏิบัติการ หรือ Operation system (OS) คือ ตัวกลางที่จะเชื่อมผู้ใช้งานกับแอพพลิเคชั่นต่างๆ บนตัวเครื่องให้เข้ากัน รวมถึงยังขับเคลื่อนการทำงานไปพร้อมๆ กับ Hardware บนตัวสมาร์ทโฟนเพื่อการประมวลผลการทำงานในส่วนต่างๆ ไปพร้อมกัน และ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยต้นๆ ในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนสักเครื่องมาใช้งานเลยทีเดียว

โดยในปัจจุบัน OS บนสมาร์ทโฟนนั้นมีหลากหลาย OS มาก แต่ระบบปฏิบัติการหลักที่ใช้กันในสมาร์ทโฟนในปัจจุบันจะมีอยู่ 2 OS ได้แก่

• Android OS พัฒนาโดย Google ถูกใช้ในสมาร์ทโฟนหลากหลายแบรนด์ เช่น Samsung, Huawei, oppo, Xiaomi, Realme, Motorola ฯลฯ

• iOS พัฒนาโดย Apple ถูกใช้ใน iPhone, iPad, Apple Watch และอุปกรณ์อื่นๆ ของ Apple เท่านั้น

นอกจากสองระบบปฏิบัติการนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนได้พัฒนาขึ้นมาเป็นของตนเอง หรือพัฒนาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งโดยเฉพาะ ส่วนมากมักจะมีพื้นฐานมาจาก Android OS โดยมีตัวอย่างระบบปฏิบัติการ ดังนี้

• ColorOS ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในสมาร์ทโฟนแบรนด์ OPPO และ realme มีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ Android

• MIUI ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในสามารถโฟนของ Xiaomi มีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ Android

• EMUI ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในสมาร์ทโฟนของ Huawei และ Honor มีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ Android

• WatchOS ระบบปฏิบัติการที่ใช้ใน Apple Watch มีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ iOS

• iPadOS ระบบปฏิบัติการใหม่ล่าสุดที่พัฒนามาเพื่อใช้งานบน iPad โดยเฉพาะ มีพื้นฐานจากระบบปฏิบัติการ iOS

เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ผู้ใช้งานมือใหม่มักจะสงสัยหรืออยากทราบแน่นอนว่า สเปกตัวเครื่องคืออะไรและเราจะอ่านเจ้าสเปกตัวเครื่องของสมาร์ทโฟนนี้ได้อย่างไร?

ข้อมูลด้านสเปกตัวเครื่องเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้งานจำเป็นต้องทราบข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อสมาร์ทโฟนเครื่องนั้นๆ มาใช้งาน และยังป้องกันการให้ข้อมูลที่ผิดพลาดของผู้ผลิตอีกทางหนึ่งด้วย สำหรับการอ่านสเปกตัวเครื่องนั้นสามารถอ่านได้หลากหลายตามความสนใจของผู้ใช้งานว่าจะต้องการทราบข้อมูลเชิงลึกมากน้อยแค่ไหน

แต่สำหรับผู้ใช้งานมือใหม่ แนะนำว่าการทราบสเปกพื้นฐาน น่าจะเพียงพอที่จะทำให้การตัดสินใจเลือกซื้อ สำหรับข้อมูลพื้นฐานด้านสเปกที่ร้านค้าหรือผู้ผลิตมักจะใช้ในการโปรโมตนั้น มีดังนี้

มาเริ่มอ่านและเข้าใจในรายละเอียดของสเปกตัวเครื่องกันดีกว่า

จากสเปกข้างบนจะเห็นได้ว่ามีการระบุว่า หน้าจอ Dynamic AMOLED ซึ่งในส่วนตรงนี้จะเป็นการบอกชื่อเทคโนโลยีของหน้าจอที่นำมาใช้บนสมาร์ทโฟนเครื่องนั้น ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีจะมีคุณสมบัติในการแสดงภาพที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละรุ่นและยี่ห้อ เช่น หน้าจอ Dynamic AMOLED ตามในตัวอย่างนั้นจะให้คุณสมบัติการแสดงผลของภาพที่สีสันตรงตามความเป็นจริงมาก โดยเป็นเทคโนโลยีหน้าจอของ Samsung

และต่อมาคือการบอกขนาดของหน้าจอว่ามีความกว้างกี่นิ้ว โดยการวัดขนาดหน้าจอนั้นจะวัดจากแนวทะแยงมุมของจอมุมหนึ่งไปยังอีกมุมที่ตรงข้ามกันนั่นเอง

ถัดมาเป็นความละเอียดของหน้าจอ ซึ่งเราสามารถใช้วิธีการจำแบบง่ายๆ ได้ด้วยการดูจากตัวเลขที่น้อยกว่าดังเช่นในตัวอย่าง 1440 x 3040 พิกเซล ให้เราดูที่เลขน้อยคือ 1440 เลขนี้จะบอกให้เราทราบถึงระดับความคมชัดของหน้าจอตามระดับมาตรฐาน ดังนี้

ทั้งนี้การดูระดับความละเอียดของหน้าจอนั้นยังมีอีกหลายๆ ปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อความละเอียดของหน้าจอให้มีความคมชัดที่แตกต่างกันออกไปจากระดับมาตรฐานต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน

สุดท้าย "อัตราส่วนของหน้าจอ" ก็เป็นอีกหนึ่งข้อมูลที่สำคัญ เพราะในปัจจุบันสมาร์ทโฟนมีอัตราส่วนของหน้าจอหลายรูปแบบมาก ทั้งอัตราส่วนแบบ 16:9, 18:9, 19:9, 19.5:9 หรือ 21:9 ซึ่งในตัวอย่างที่ยกมานั้นใช้หน้าจอสัดส่วน 19:9 เมื่อเทียบกับสัดส่วนมาตรฐานแบบ 16:9 นั่นหมายความว่าจอแบบ 19:9 จะยาวกว่า แต่ความกว้างนั้นเท่าเดิม ถ้าเราเล่น Facebook หรือ Twitter เราก็จะเห็นข้อมูลบน Timeline มากขึ้น เพราะจอที่ยาวขึ้นก็จะแสดงผลแนวตั้งได้มากขึ้นนั่นเอง

ถัดจากรายละเอียดของหน้าจอแล้วก็มาเป็นเรื่องของ CPU หรือ Central Processing Unit ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานทั้งหมดของสมาร์ทโฟนเลยก็ว่าได้ โดยการอ่านรายละเอียดด้าน CPU ของสเปกสมาร์ทโฟนนั้นสามารถทำได้ดังนี้

จากตัวอย่างด้านบนนั้นจะหมายความว่า สมาร์ทโฟนรุ่นนี้ใช้หน่วยประมวลผลรุ่น Exynos 9820 จากบริษัท Samsung และเป็นแบบ Octa-Core ซึ่งมีความเร็ว 2.7 GHz สำหรับชนิดของ CPU นั้นสามารถแบ่งได้ตามความนิยมในปัจจุบัน ดังนี้

และบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน CPU ในปัจจุบันที่นิยมนำมาใช้งานบนสมาร์ทโฟนนั้นมีหลักๆ ด้วยกัน 5 บริษัท ได้แก่

• Ax ของ Apple (x จะเป็นตัวเลขของแต่ละรุ่น เช่น ล่าสุด รุ่น A13)

ROM กับ RAM เป็นหนึ่งสิ่งที่ผู้ใช้สมาร์ทโฟนมือใหม่มักจะไม่รู้ว่าคืออะไรหรือจำสลับกัน ดังนั้น เรามาดูกันว่าแต่ละอย่างนั้นคืออะไรกันบ้าง

• ROM คือพื้นที่จัดเก็บข้อมูลภายในเครื่อง หรือเรียกง่ายๆ ว่าความจำส่วนนี้ใช้เก็บรูปเก็บเพลงและแอปพลิเคชั่นต่างๆ นั่นเอง โดยข้อมูลที่ผู้ผลิตให้มานั้นอาจจะมีการคลาดเคลื่อนบ้าง เนื่องจากพื้นที่ภายในเครื่องส่วนหนึ่งจะถูกใช้งานด้วย OS และฟีเจอร์ต่างๆ ตามที่ผู้ผลิตรายนั้นๆ ใส่มาให้ ปัจจุบันที่นิยมใส่มาให้ก็จะมีตั้งแต่ความจุ 16/32/64/128 GB และมากกว่านั้นที่ 256/512 GB

• RAM หรือ Random Access Memory เป็นหน่วยความจำอีกส่วนหนึ่งบนสมาร์ทโฟน ที่จะส่งผลต่อการทำงานในส่วนต่างๆ บนสมาร์ทโฟนเป็นอย่างมาก หากมี RAM เยอะ จะสามารถใช้งานแอปพลิเคชั่นหลายตัวได้พร้อมกันโดยที่ไม่มีตัวไหนถูกปิดไป นิยมใส่มาให้ในสมาร์ทโฟนตั้งแต่ความจุ 2/4/6/8/12 GB

ผู้ใช้งานหลายๆ คนคงคิดว่ามี ROM และ RAM เยอะไว้น่าจะดี สมาร์ทโฟนคงจะทำงานได้เร็วขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วต้องอาศัยปัจจัยอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็น OS ที่ใช้, CPU และอื่นๆ อีกมากที่ทำให้สมาร์ทโฟนในแต่ละเครื่องนั้นเร็วไม่เท่ากัน

ในส่วนของกล้องสมาร์ทโฟนปัจจุบัน ก็มักจะมีตั้งแต่ 1 เลนส์หรือมากกว่าแล้ว สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟนมือใหม่ก็อาจจะไม่ทราบว่ามีหลายเลนส์แล้วแต่ละเลนส์มันต่างกันอย่างไร แล้วที่เรียกกันว่าเลนส์ wide เลนส์ Macro เหล่านั้นคืออะไร เราจะมาอธิบายกันว่าศัพท์เรียกกล้องที่มากับสมาร์ทโฟนแต่ละคำนั้นคืออะไร

• Rear Camera คำนี้หมายถึงกล้องที่อยู่ด้านหลังของตัวเครื่อง หรือกล้องหลัก ที่จะใช้งานในการถ่ายรูปส่วนมาก ซึ่งกล้องหลังนี้จะมีเลนส์ตั้งแต่ 1 เลนส์ขึ้นไปจนถึงสูงสุด (ในตอนนี้) คือ 5 เลนส์เลยทีเดียว แล้วแต่ละเลนส์จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน

• เลนส์หลัก เป็นเลนส์ที่มีอยู่ในทุกเครื่อง และถูกตั้งค่าเป็นกล้องหลักของการถ่ายภาพ (ในกรณีที่มีหลายเลนส์) เลนส์นี้จะเป็นเลนส์ที่ผู้ผลิตใส่เป็นข้อมูลหลักว่ากล้องในแต่ละรุ่นมีความละเอียดเท่าไหร่ ส่วนมากก็จะเริ่มตั้งแต่ 2 ล้านพิกเซลขึ้นไป จนถึงสูงที่สุดในตอนนี้ (ณ วันที่เขียน) คือ 64 ล้านพิกเซล ในอนาคตก็จะมีสูงกว่านี้อีกที่ 108 ล้านพิกเซลเลยทีเดียว เลนส์หลักก็จะมีทั้งเลนส์แบบปกติ และเลนส์ Wide (ถ่ายภาพได้มุมกว้างขึ้น) บางรุ่นก็จะใส่เทคโนโลยี OIS หรือกันสั่นเข้ามาเพื่อช่วยลดความเบลอในการถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอ

• เลนส์เพิ่มเติมอื่นๆ ในกรณีที่ตัวเครื่องมีกล้องมากกว่า 1 เลนส์ เลนส์ที่เสริมมาก็อาจมีคุณสมบัติได้ ดังนี้

• เลนส์ Ultra-wide เลนส์ประเภทนี้จะทำให้เราถ่ายภาพได้มุมกว้างมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะกว้างกว่ากล้องหลักในกรณีที่กล้องหลักเป็นเลนส์ Wide ซึ่งบางรุ่นก็จะเก็บภาพได้กว่าถึง 123 องศาเลยทีเดียว

• เลนส์ Depth เลนส์ประเภทนี้จะทำให้เราสามารถจับโฟกัสวัตถุที่ต่างระยะกันได้ละเอียดมากขึ้น พูดมาเท่านี้อาจจะยังนึกไม่ออก ให้เราลองนึกภาพว่า เวลาเราถ่ายภาพดอกไม้แบบระยะใกล้ๆ เลนส์ประเภทนี้จะช่วยให้เราจับโฟกัสของดอกไม้ได้ดีขึ้น และฉากหลังก็จะถูกละลายหรือเบลอได้มากขึ้น ซึ่งส่วนนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับค่า f/ ของเลนส์ด้วย ถ้าค่า f/ ยิ่งน้อย ก็จะยิ่งเบลอได้มากขึ้น

• เลนส์ Macro เลนส์ประเภทนี้หลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินชื่อกัน เลนส์นี้จะช่วยในการจับภาพวัตถุระยะใกล้ให้ดีมากขึ้น ปกติในกล้องทุกประเภทจะมีระยะใกล้สุดที่กล้องจะโฟกัสวัตถุได้และภาพยังชัดเท่าเดิม แต่เมื่อขยับวัตถุใกล้เข้ามาอีกภาพก็จะไม่ชัดแล้ว ถ้าตัวเครื่องมีเลนส์นี้ก็จะช่วยให้สามารถนำวัตถุเข้ามาใกล้กล้องได้มากยิ่งขึ้น สายส่องพระหรือส่องเหรียญก็คงจะชอบเลนส์นี้กันมากแน่ๆ

• เลนส์ Telephoto เลนส์ประเภทนี้ผู้อ่านเห็นชื่อแล้วก็คงจะงงๆ กัน แต่ถ้าพูดว่าเลนส์นี้คือ "เลนส์ซูม" ทุกคนก็คงจะร้องอ๋อกันแน่ๆ เพราะเลนส์ประเภทนี้จะช่วยให้เราสามารถซูมภาพถ่ายได้โดยไม่เสียความละเอียด ซึ่งสมาร์ทโฟนบางรุ่นที่มีเลนส์นี้ก็สามารถซูมได้ถึง 50 เท่า หรือถ่ายรายละเอียดบนดวงจันทร์จากพื้นโลกได้เลยทีเดียว

• Front Camera คำนี้หมายถึงกล้องที่อยู่ด้านหน้าของตัวเครื่อง หรือเรียกสั้นๆ ว่า "กล้องหน้า" ซึ่งก็จะมีความละเอียดของกล้องที่แตกต่างกันไปในแต่ละรุ่น กล้องหน้าส่วนมากมักจะใส่โหมดที่เรียกว่า "บิวตี้" มาให้ เพื่อให้การถ่ายภาพใบหน้าหรือ "เซลฟี่" นั้นมีความสวยงามมากขึ้น กล้องหน้าโดยปกติมักจะใส่มาให้เพียง 1 เลนส์เท่านั้น แต่บางรุ่นอย่างเช่น Samsung Galaxy S10+ ก็จะใส่มาให้ถึง 2 เลนส์ ซึ่งอีกเลนส์นั้นเป็นเลนส์ RGB Depth ซึ่งช่วยในการทำหน้าชัดหลังเบลอนั่นเอง

• แบตเตอรี่ขนาดเท่าไหร่ รองรับชาร์จไวไหม? การทราบขนาดแบตฯ นั้นก็มีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานเหมือนกัน เช่นสามารถทำให้เราตัดสินใจได้ว่าหากจะซื้อ Power Bank สักอันจะซื้อที่ขนาดเท่าไหร่? และจะชาร์ตแบตฯ สมาร์ทโฟนเราได้กี่ครั้ง นอกจากนั้นหากสมาร์ทโฟนรองรับระบบชาร์จไว ก็จะทำให้เราชาร์ตแบตเตอรี่เต็มได้เร็วมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเป็นประโยชน์มากในเวลาที่เรารีบแต่แบตเตอรี่เราจะหมด

• การเชื่อมต่ออื่นๆ ที่รองรับ นับเป็นอีกสิ่งที่ผู้ใช้งานหลายๆ คนใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อสมาร์ทโฟน สำหรับการเชื่อมต่ออื่นๆ ที่น่าสนใจ ได้แก่ Bluetooth, NFC, HDMI, MHL, WiFi, Screen Mirrorring ฯลฯ เป็นต้น โทรศัพท์ในยุคปัจจุบันก็ควรจะรองรับการเชื่อมต่อได้หลากหลายประเภทแล้ว

แต่ละคนมักจะมีเหตุผลการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนั้นหลักการในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนสักเครื่องเพื่อมาใช้งานก็ย่อมแตกต่างกันเช่นกัน แต่โดยหลักๆ แล้วเราควรเลือกซื้อสมาร์ทโฟนที่ตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตประจำวันของตัวเราให้ได้มากที่สุด และนั่นน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนสักเครืองมาใช้งาน อีกสิ่งหนึ่งที่อยากแนะนำคือ ไม่ควรเลือกซื้อสมาร์ทโฟนตามคำแนะนำของคนอื่น จนกว่าจะได้ลองสัมผัสหรือเล่นด้วยตนเอง เนื่องจากตามเหตุผลข้างต้นที่ได้กล่าวไป นอกจากนั้น "คุณอาจจะได้สมาร์ทโฟนที่ตอบโจทย์เพื่อนคุณมากกว่าตัวคุณเองก็เป็นได้"

หวังว่าบทความนี้จะพอเป็นแนวทางช่วยให้ผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมือใหม่หลายๆ คน รวมถึงผู้ใช้อีกหลายๆ ท่านสามารถเข้าใจเรื่องราวของสมาร์ทโฟนได้ง่ายขึ้น และช่วยตัดสินใจในการเลือกซื้อสมาร์ทโฟนสักเครื่องมาใช้งานได้ง่ายขึ้นไม่มากก็น้อย

Write a Comment