รวมข้อดีข้อเสียของหน้าจอแบบ IPS LCD - ข่าวเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่
หน้าจอดี-ไม่ดี IPS LCD vs AMOLED อันไหนดีกว่ากัน?
หน้าจอ - ส่วนสำคัญที่สุดในการติดต่อระหว่างคนและอุปกรณ์พกพา ไม่ว่าจะสมาร์ทโฟนหรือว่าแท็บเล็ตก็ตาม ถ้าขาดสิ่งๆนี้ไปแล้วก็แทบจะทำให้เราใช้งานเจ้าอุปกรณ์อัจฉริยะของเราไปไม่ได้เลย แต่ว่าในปัจจุบันอุปกรณ์ต่างๆมีการเลือกใช้หน้าจอที่แตกต่างกัน ซึ่งโดยปกติเรามักจะพิจารณาคุณภาพของหน้าจอจากเพียงความละเอียด และความสดของสีเท่านั้น แต่ว่าในความเป็นจริงแล้วยังมีรายละเอียดอื่นๆที่น่าสนใจที่ควรต้องนำเอามาพิจารณาด้วย ซึ่งวันนี้เดี๋ยวผมจะมารวบรวมให้ได้ทราบกัน
· ถูกนำมาใช้ในการตลาดมากที่สุดเพราะเป็นตัวเลขที่ดูแล้วเข้าใจง่าย เห็นผลชัดเจน เช่น 480x800 (WVGA), HD (720x1280), Full HD (1080x1920), WQXGA หรือ QHD (1600x2560)
· ความละเอียดและจำนวนพื้นที่แสดงผลต้องสัมพันธ์กัน หน้าจอยิ่งใหญ่ความละเอียดควรมากตาม แต่ถ้าหน้าจอเล็กก็ไม่จำเป็นต้องละเอียดมากเกินให้ความจำเป็น
· Steve Jobs เป็นคนเอาทฤษฎีว่า หน้าจอมือถือที่ความละเอียดมากกว่า 300ppi (pixel per inch) ห่างจากตาราว 10 นิ้ว ตาคนเราจะแยกเม็ดพิกเซลบนหน้าจอไม่ได้ มาเผยแพร่ตั้งแต่ iPhone 4
· LG G3 ได้พยายามแย้งทฤษฎีนี้ด้วยการบอกว่าตาคนเรารับรู้ที่ความละเอียดสูงกว่านี้ (แต่ส่วนตัวผู้เขียนแยกไม่ออกนะ)
· 300 ppi ไม่ใช่เลขตายตัว อาจลดลงได้เมื่อหน้าจอใหญ่ขึ้นและระยะห่างจากจอ-ตามากขึ้น^1
ความแตกต่างของหน้าจอที่ความหนาแน่นของจำนวนพิกเซลต่างกัน
· CIE 1931 xy chromaticity diagram เป็นไดอะแกรมถูกหยิบยกนำขึ้นมาใช้อธิบายเรื่องของเฉดสีมากที่สุดโดยสีที่แสดงในกราฟนี้เป็นสีที่สร้างขึ้นมาจากการคำนวนทางคณิตศาสตร์ เพื่อจำลองสีที่มีตามธรรมชาติ
· จอมอนิเตอร์ ปริ้นเตอร์, และภาพแสดงบนอินเทอร์เน็ต ส่วนมากจะใช้ sRGB เป็นมาตรฐานเฉดสี ซึ่งมีพื้นที่เฉดสีที่ครอบคลุมน้อยกว่ามาตรฐานอื่น
· หน้าจอที่คุณภาพสูงมักจะให้สีออกมาได้เกินมาตรฐาน sRGB (1996) และพยายามเทียบกับ Adobe RGB (1998) ที่มีความกว้างของเฉดสีมากกว่า
· แต่หน้าจอที่แสดงสีได้เกินเฉด sRGB ไม่ได้หมายความว่าจะได้จอที่สีสวยเสมอไป ต้องมีการจัดการ (calibrate) กับสีที่เกินมานั้นให้ดีด้วย มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาสีเพี้ยนได้8
ตัวอย่างภาพ เปรียบเทียบภาพที่แสดงความกว้างของเฉดสีได้ต่างกัน ซึ่งภาพด้านล่างเป็นภาพ Original มีเฉดสีครบถ้วน กับภาพบนที่มีการลดจำนวนเฉดสีลงไป ทำให้สีดูซีดกว่าความเป็นจริง ซึ่งหน้าจอที่แสดงเฉดสีได้น้อยกว่าก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกันนี้เอง
สรุป หน้าจอที่แสดงสีครบถ้วนจะได้ภาพที่มีชีวิตชีวามากกว่า ซึ่งควรจะแสดงได้ไม่น้อยกว่ามาตรฐาน sRGB แต่ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องความถูกต้องของสีเป็นหลักด้วย
3. ความถูกต้องของสี ไม่สดหรือซีดเกินไป และไม่เพี้ยนติดสีอื่น^4
· เมื่อนำไปเปิดที่จออื่นๆ อาจตกใจกับภาพที่เคยสวดสดกลับเป็นซีดจางไม่เหมือนจอเรา
· แสงสีขาวที่แสดงบนหน้าจอควรต้องใกล้เคียงกับสีขาวจริงๆ ไม่ติด ฟ้า เขียว เหลือง แดง ม่วง
ซ้าย : เฉดสีของ Adobe RGB ซึ่งจอที่ดีควรจะมีจุดขาวอยู่ที่จุด D65 หรือคลาดเคลื่อนไปไม่มาก (credit: Wikipedia)
ขวา : การทดสอบความเที่ยงตรงของสี จะตรวจสอบจากสีที่แสดงตามจุดเทาต่างๆว่ามีการคาดเคลื่อนไปจากจุดต่างๆที่กำหนดไว้มากน้อยแค่ไหน (credit: DisplayMate)
สรุป หน้าจอที่ดีควรให้สีตรงตามธรรมชาติ ไม่อ่อนหรือสดเกินไป
4.ความสว่างสูงสุดและต่ำสุด สำหรับดูในที่สว่าง-มืด
· การเร่งแสงหน้าจอให้มากขึ้น ควรต้องทำคู่ไปกับการลดแสงสะท้อน เพราะมันเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้มองไม่เห็นหน้าจอเมื่ออยู่ในแสงจ้า
สรุป หน้าจอที่ดีควรสว่างสู้แสง ไม่สะท้อนภาพมาก และหรี่ให้น้อยจนถนอมสายตาได้
· คอนทราส เรโช (Contrast Ratio) คือ คุณสมบัติของหน้าจอที่บอกว่าสามารถไล่เฉดสีขาวไปถึงดำได้เนียนขนาดไหน5
หน้าจอที่ดีควรจะแยกเฉดสีตั้งแต่ขาวสุดไปถึงดำสุดได้ทุกช่อง ไม่ใช่เห็นเป็นปื้นๆ
· ปกติเวลามองหน้าจอ เราอาจจะไม่ได้มองไปตรงๆเสมอไป อาจมีการเอียงจอเพื่อแบ่งคนอื่นดู หรือมองด้านข้างขณะพรีเซ้นต์งานอยู่เสมอ
· หน้าจอจะให้แสงสว่างเต็มที่ต่อเมื่อเรามองเข้าไปตรงๆ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนองศาในการมอง ±30 องศา ความสว่างของจอจะลดลงอย่างมากทันที
สรุป หน้าจอที่มีคุณภาพโดยมากจะยังคงคอนทราส จุดขาว และความถูกต้องของสีเอาไว้ได้ แม้เปลี่ยนมุมมองภาพที่มอง
· ข้อจำกัดของจอ LCD คือเรื่องความบางของจอ และความสม่ำเสมอของแสง
· หน้าจอ OLED จะไปมีปัญหาเรื่องของสีเพี้ยนมากกว่า เพราะเม็ดสีอาจเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน
· ข้อสำคัญที่ต้องพิจารณา เพราะนี่การใช้งานในแต่ละวันว่ามันจะอยู่ได้ยาวนานขนาดไหน
· หน้าจอที่ใหญ่จะกินพลังงานสูงตามไปด้วย
เป็นจอยอดนิยมในอดีตและยังพบได้ในรุ่นประหยัดทั่วไป โดยเจ้า TFT LCD มันเป็นตัวที่พัฒนาขึ้นมาจากจอ LCD รุ่นแรกๆ โดยจะมีคุณภาพและความละเอียดที่ดีขึ้น แต่เจ้า TFT LCD ก็ยังมีปัญหาเรื่องมุมการมองแคบ สู้แสงแดดไม่ค่อยได้ และกินแบตมาก
จอ IPS เรียกได้ว่าเป็นจอ LCD ขั้นสูงที่พัฒนาขึ้นกว่าจอ TFT LCD เป็นอย่างมาก พบได้ตามมือถือรุ่น Hi-End ทั่วไป โดยจะมีการแก้ข้อเสียของ TFT LCD ไปแล้วทั้งเรื่องมุมการมองที่กว้างขึ้น กินพลังงานน้อยลง ความละเอียดสูง
ต่อยอดพัฒนาขึ้นมาจากเทคโนโลยี OLED ที่ได้รับการยอมรับว่าดีกว่า LCD เพราะสามารถสร้างสีขึ้นมาได้ดีกว่า มีอัตราการตอบสนองที่เร็วกว่า มุมการมองภาพที่กว้างขึ้น ให้แสงสว่างได้แรงชัดขึ้น และมีน้ำหนักที่เบากว่า LCD
เป็นเวอร์ชั่นของจอ AMOLED ที่พัฒนาโดย Samsung ซึ่งจะทำการรวมเอาเซนเซอร์จับสัมผัสใส่เข้าไปบนหน้าจอไปเลย ทำให้ได้จอที่มีความบางที่สุดในตลาด
ทั้งสองหน้าจอนี้ เป็นรุ่นที่ถูกนำไปใช้ใน Smartphone ระดับพรีเมียมมากที่สุด และแน่นอนว่าก็ถูกเปรียบเทียบกันมากที่สุดตามไปด้วย ซึ่งหากเอามาวัดกันในปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องยากที่จะใช้เพียงความรู้สึกมาบอกว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหน เพราะด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนากันขึ้นมาจากเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ใครที่เคยใช้ตัวไหนมาก่อน จากที่เคยไม่ชอบอาจจะเปลี่ยนใจได้ หรือเรียกได้อีกอย่างว่า IPS LCD และ Super AMOLED ดีแทบจะไม่ต่างกันแล้ว แต่ถ้าวัดเป็นตัวเลขแล้ว การตัดสินอาจจะมีการเทไปให้ทางฝั่ง AMOLED มากกว่า ซึ่งเดี๋ยวจะไปหามาเขียนให้ได้อ่านกันต่อไป
ถ้าเอาตาม"ทฤษฎี"แล้วจอ AMOLED อาจจะไม่ได้เวอร์หรือว่าสดเกินจริง แต่กลับให้ตามจริงได้มากกว่า เพราะว่าหน้าจอ Super AMOLED จะเป็นจอที่ให้เฉดสีได้กว้างกว่าจอ LCD และระบบ Print ที่ใช้กันทั่วไปแทบจะทุกที่ทุกบ้าน (sRGB) ทำให้เวลาที่เราเอาภาพไปเปิดที่จออื่นหรือปริ้นท์ออกมาแล้วจะได้คุณภาพด้อยกว่าบนจอ SuperAMOLED (อ้างอิงจากข้อ 2) แต่ต้องอย่าลืมว่าจอและระบบปริ้นท์ที่แย่กว่านั้น เป็นส่วนมากของคนทั่วไป จึงทำให้จอ AMOLED ดูเป็นคนส่วนน้อยและกลายเป็นสีเพี้ยนไปนั่นเอง
ส่วนเรื่องกินไฟมากน้อยนั้น ก็ขึ้นกับการใช้งานของแต่ละคนว่ามีการเปิดสีอะไรบนหน้าจอเป็นหลัก ซึ่งนั่นก็ทำให้เป็นการยากที่จะหาข้อสรุปที่ตายตัวว่าแบบไหนกินไฟมากกว่ากัน
ทั้งหมดนี้ต้องบอกว่าเขียนตามทฤษฎีนะ ส่วนของจริงเรื่องความสวยงามเป็นเรื่องความชอบส่วนบุคคล ตัดสินแทนกันลำบาก ทำได้ดีที่สุดคือ ต้องใช้เป็นตัวเลขวัดกันออกมาให้ชัดเจนว่าใครเจ๋งกว่าใครด้านไหนแทนไปเลย ยันกันที่ตัวเลข...แต่สุดท้ายแล้ว ต่อให้ตัวเลขออกมาเป็นอย่างไร เชื่อว่าก็ไม่ได้ทำให้ความชอบของคนนั้นๆต่อหน้าจอที่เค้าชอบลดลงได้แต่อย่างใด ^^
จอแสดงผล PLS-LCD vs IPS LCD ต่างกันอย่างไร? ตัวไหนน่าใช้มากกว่ากัน!
ในช่วงนี้หลายคนอาจเริ่มเห็น Samsung รวมถึงอีกหลายแบรนด์นำจอแสดงผล "PLS-LCD" ออกมาใช้บนผลิตภัณฑ์กันมากขึ้น จนทำให้หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่าจอชนิดนี้คืออะไร? หรือมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร? รวมถึงมีความแตกต่างจากจอ IPS LCD ที่เป็นจอยอดนิยมบนสมาร์ตโฟนในปัจจุบันนี้ตรงไหน? ดังนั้นเพื่อไขข้อสงสัยเหล่านี้ ที่อาจเกิดขึ้นกับบางคนที่กำลังเลือกซื้อสมาร์ตโฟนเครื่องใหม่กันอยู่ ผมเลยขอหยิบข้อมูลง่ายๆ ของจอ PLS-LCD มาเล่าผ่านบทความนี้ เพื่อให้เห็นถึงความต่างของจอแสดงผลทั้งสอชนิดนี้ และให้ข้อมูลในมุมต่าง ๆ ที่อาจช่วยในการตัดสินใจในการซื้อสมาร์ตโฟนเครื่องใหม่ของแต่ละคนได้ ไปพร้อม ๆ กันครับ
"PLS-LCD" เป็นหน้าจอแสดงผล LCD รูปแบบหนึ่ง (Type) ที่ทาง Samsung นำมาพัฒนาต่อยอดขึ้นใหม่จากเทคโนโลยีจอแสดงผล LCD ทั่วไปในตลาด เพื่อแก้ปัญหาของหน้าจอ LCD ที่มีขอบเขตการใช้งานให้ดีขึ้น โดยชื่อของ PLS เป็นอักษรย่อมาจากคำว่า ' Plane to Line Switching ' เป็นชื่อเทคโนโลยีการผลิตหน้าจอแสดงผล ที่มีการจัดเรียงและการสลับการจัดวางโมเลกุลของชั้นคริสตัลเหลว (LC) ที่เป็นโครงสร้างของหน้าจอ LCD ใหม่ ส่งผลให้หน้าจอมีการแสดงสีสันได้คมและสดใสมากขึ้นกว่าจอภาพแบบ Twisted nematic (TN) ที่เป็นพื้นฐานในการพัฒนาจอ LCD ขนิดนี้ขึ้นมา และนิยมใช้กันแต่ก่อนอย่างแพร่หลาย
หรือกล่าวแบบง่าย ๆ ก็คือ จอแสดงผล PLS-LCD เป็นจอ LCD รูปแบบหนึ่งที่มีการพัฒนาในเรื่องของจัดเรียงองค์ประกอบภายในหน้าจอใหม่ จนทำให้คุณภาพในการแสดงผลที่เคยเป็นจุดอ่อนของจอ LCD ทำได้ดีขึ้นในเรื่องของมุมมองภาพ, ความสว่าง และสีสัน จนทำให้รับชมได้อรรถรสมากขึ้นเมื่อเทียบกับจอ LCD ทั่วไปที่เราใช้งานกันมาอย่างยาวนาน โดยมีแบรนด์อย่าง Samsung เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เทคโนโลยีในการผลิตนี้นั่นเอง
ที่นี้ถ้าหากหยิบจอ PLS-LCD มาเทียบกับจอแสดงผล "IPS-LCD" ที่เป็นลิขสิทธิ์ของบริษัท LG เป็นอย่างไรบ้าง? ก่อนอื่นต้องเกริ่นก่อนว่า จอแสดงผลทั้งสองรูปแบบนี้คือจอแบบ LCD ทั้งคู่นะครับ เพียงแต่มีรูปแบบ (Type) ที่แตกต่างกันออกไปโดยแยกไปตามเทคโนโลยีการผลิตของแต่ละเจ้าของเท่านั้น ดังนั้นขอบเขตการทำงานหรือมุมมองภาพ รวมไปถึงโทนสีสันต่าง ๆ ยังคงอยู่ในขอบเขตและข้อจำกัดของจอแบบ LCD ทั้งหมด
โดยที่จอ IPS-LCD (In-Plane Switching Liquid-Crystal Display) เป็นจอแสดงผล LCD ที่มีความโดดเด่นในเรื่องของขอบเขตและความเที่ยงตรงของสี ที่ทำได้ใกล้เคียงกับสีจริงเป็นอย่างมาก จนนิยมใช้เป็นหน้าจอสำหรับตกแต่งภาพจากโปรแกรมแต่งภาพต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ รวมทั้งยังเป็นจอแสดงผล LCD ที่ให้มุมมองกว้าง มีค่าความสว่างสูง และตอบสนองได้ไว จึงเป็นที่นิยมในการใช้งานบนจอแสดงผลคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟนอย่างแพร่หลายจนมาถึงปัจจุบัน
ในขณะที่จอแสดงผล PLS-LCD ของ Samsung เป็นจอแสดงผล LCD ที่ทางซัมซุงเคลมไว้ว่า ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพที่ดีกว่าจอ IPS-LCD ในเรื่องของสีสัน, ความคมชัด, ความสว่าง, มุมมองของภาพ และการตอบสนอง ซึ่งทั้งหมดที่ว่าทำได้ดีกว่าราว ๆ 10-15% เมื่อเทียบกับจอ IPS-LCD รวมทั้งยังประหยัดพลังงานได้มากกว่าประมาณ 5-10% อีกด้วย หรือก็คือเป็นจอที่ทำได้ดีกว่า IPS LCD ในทุกด้านคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ราวๆ 10-15% นั่นเอง
อย่างไรก็ตามถึงแม้ทาง Samsung จะเคลมว่า จอ PLS-LCD ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่จนทำให้มีประสิทธิภาพการแสดงผลในภาพรวมที่ดีกว่าจอ IPS-LCD อยู่ประมาณ 10-15% แต่เมื่อถูกนำมาใช้งานจริงบนผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น จอคอมพิวเตอร์ หรือ จอสมาร์ตโฟน เสียงจากผู้ใช้งานส่วนมากจะกล่าวไปในทิศทางเดียวกันว่า แยกผลลัพธ์ของจอทั้งสองชนิดไม่ออกเลย เพราะถือว่าให้ผลลัพธ์ออกมาในระดับที่ใกล้เคียงกันมาก ในขณะที่ส่วนที่เหลือก็จะเลือกชื่นชอบไปตามความชอบโทนสีของตัวเองนั่นเอง
โดยในปัจจุบันจอ PLS-LCD บนฝั่งอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง 'สมาร์ตโฟน' จะมีเพียงซัมซุงที่เป็นเจ้าของเพียงแบรนด์เดียวเท่านั้นที่เลือกใช้งาน นอกนั้นจะยังคงใช้เป็นหน้าจอ IPS-LCD กันซะส่วนใหญ่ แต่ทางฝั่งของคอมพิวเตอร์-โน็ตบุ๊ค จะเริ่มเห็นหลาย ๆ แบรนด์นำจอชนิดนี้ไปใช้งานกันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว
สุดท้ายก็ต้องบอกว่า "ขึ้นอยู่กับความชอบ" ของแต่ละคนแล้วล่ะครับว่า ชื่นชอบสไตล์การแสดงผลในภาพรวมของจอแสดงผลตัวไหนมากกว่า ในเมื่อในด้านประสิทธิภาพถือทำออกมาได้ในระดับที่ไล่เลี่ยกันมาก ๆ ที่เหลือก็อยู่ที่ความชอบส่วนบุคคลแล้ว ก็จะคล้าย ๆ กับเวลาที่เราถามเพื่อนว่า "ภาพวาด อันไหนสวยกว่ากัน?" แต่ละคนก็จะมีสไตล์ความชอบที่แตกต่างกันตามมุมมองด้านศิลป์ของตัวเองนั่นเอง
รวมข้อดีข้อเสียของหน้าจอแบบ IPS LCD - ข่าวเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่
IPS LCD: IPS LCD คือชีวิตของหน้าจอที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ มากมายหลายรุ่นที่มีในเรทราคา 5000 ถึง 10000 บาท ซึ่งจะเป็นลักษณะหน้าจอที่ไม่แพงมากและสามารถใช้ได้กับสมาร์ทโฟนได้กับทุกรุ่น
รองรับความละเอียดสูงสุดน่าจะได้ถึง FHD plus ส่วนมากมักใช้กับโทรศัพท์มือถือหลายรุ่นเช่น xiaomi ที่ใช้ในรุ่นเรือธงอย่าง xiaomi 10 pro และใช้ในเรียวมีรุ่นต่างๆ อย่างเช่น เรียลมี 5 หรือเรียวมี 5 โปร
สร้างนวัตกรรมของ IPS LCD นั้นได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ว่าหน้าจอชนิดนี้นั้นมีการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วมากๆแต่ถึงอย่างไรก็ตาม ความสดของสีนั้นก็จะไม่สามารถสู้หน้าจอประเภท oled อย่างเช่น super amoled กับ super amoled plus ได้
แต่หน้าจอ IPS LCD ก็ยังถูกใช้กับรุ่นของไอโฟน ในปัจจุบันอย่างเช่น iPhone 8 plus iPhone 7 plus iPhone XR iPhone 11 ที่มีราคาละลายอยู่ประมาณ 2 หมื่นกว่าบาท ก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไปจากหน้าจอแบบ super amoled สั่งวันนี้นั้นเราจะมาดูกันว่าหน้าจอ IPS LCD จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไรบ้าง แล้วใครอยากรู้ว่าเรานั้นเราจะมาดูพร้อมกันเลย.
ข้อดีของหน้าจอ IPS ก็มีหลายๆอย่างเลยเราจะพามาดูกันนั่นก็คือ
อย่างแรกเลยก็คือข้อดีของหน้าจอ IPS LCD นั้น จะช่วยประหยัดพลังงานทำให้แบตเตอรี่ของเรานั้นไม่หมดเร็วและจะช่วยทำให้เครื่องไม่ร้อนเร็ว หน้าจอนั้นไม่ต้องใช้ความสีสดมาก
ซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานในการใช้แบตเตอรี่ของคุณในชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้นทำให้ การใช้งานมากยิ่งขึ้นอีกด้วยกับการใช้งานหน้าจอแบบ IPS LCD ส่วนมากจะอยู่ในโทรศัพท์รุ่นที่มีราคาถูก
ถ้าไม่นับแอปเปิ้ลอย่าง iPhone xr iPhone 11 ก็จะถูกใช้ ในรุ่นที่มีเรทราคาที่สามารถจับต้องได้แล้วเป็น SmartPhone ราคาประหยัด อย่างเเบรนด์ vivo oppo samsung เป็นต้น และข้อดีข้อที่ 3 ของมันก็คือเราสามารถ ทำค่าอัตรารีเฟรชได้สูงกว่าหน้าจอแบบ oled ถือหน้าจอแบบ super amoled เฟืองก็จะให้การทัชสกรีนและการตอบสนอง ที่ลื่นไหลมากกว่า และเร็วมากกว่า เป็นต้นด้วย.
ข้อเสียของหน้าจอแบบ IPS LCD นั่นก็คือ ในการประมวลผลของสิ่งนั้นจะสามารถสู้หน้าจอแบบ oled กับ super amoled ไม่ได้เลย และหน้าจอแบบ IPS LCD ถึงจะช่วยประหยัดแบต
แต่ถ้าเราใช้ควบคู่กับการอัดวีดีโอในเวลาเดียวกันกับเล่นเกมมันก็จะทำให้ เครื่องรอแล้วทำให้แบตเตอรี่หมดไวได้และนี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งข้อเสียของหน้าจอแบบ IPS เราอาจจะดูภาพของสี ได้ไม่สดเท่าหน้าจอแบบ oled จริงๆ.
Write a Comment