รัฐ-เอกชน เปิดขุมพลัง5G ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ-สังคม ประเทศไทยครอบคลุมทุกมิติ หนุนสู่ผู้นำระดับอาเซียน
ดีอีเอส เดินหน้าส่งเสริมเทคโนโลยี5G ชูผลประโยชน์สามส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ด้าน 'ดีแทค' โชว์เคสสู่ยูสเคส แนะ 5 สิ่งที่ต้องรู้ รับมือเศรษฐกิจไทยจะไม่เหมือนเดิม รับการพื้่นตัวหลังโควิด '5G' จะเข้ามายกระดับชีวิตดิจิทัล
นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ "Shaping Tomorrow: Power of 5G และ Tech Convergence" จัดโดย บางกอกโพสต์ ว่า รัฐบาลได้ส่งเสริมการพัฒนา 5G สำหรับการส่งเสริมความเท่าเทียม ทั้งสำหรับเมืองอัจฉริยะ ด้านสาธารณสุข อาทิ โรงพยาบาลศิริราช ดิจิทัลฟาร์ม อาทิ ลุ่มน้ำสงขลา หรือ ด้านการท่องเที่ยวในเขตเมืองเชียงใหม่และจังหวัดภูเก็ต
ขณะที่ เทคโนโลยี 5G ประกอบด้วยข้อดีสามประการสำหรับการนำนวัตกรรมไปใช้ เรียกว่า ผลประโยชน์สามส่วน (Triangle benefits) ได้แก่ การปรับปรุงบรอดแบนด์มือถือ การขยายระบบ IoT หรือ Internet of Things (อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง) และเครือข่ายสื่อสารที่ที่มีดีเลย์ต่ำ
โดยดีอีเอสรวมถึงหน่วยภาครัฐที่เกี่ยวได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการวางโครงสร้างพื้นฐานในระบบ 5G อย่างต่อเนื่อง ในประเทศ เผื่อนำนวัตกรรม 5G เป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 5 ส่วน ได้แก่ เมืองอัจฉริยะ สาธารณสุข ภาคการเกษตร การท่องเที่ยว และการบริการ
โดยรัฐบาลหวังให้ความเคลื่อนไหวนี้ เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยฟื้นฟูทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะยุค New Normal ที่เกิดหลังการระบาดใหญ่ ซึ่งการพัฒนา 5G ของภาคสาธารณสุขได้ผลักดันให้ประเทศกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการแพทย์อันดับ 1 ของเอเชีย จากการปรับใช้ 5G และการลงทุนของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศเป็นแรกๆของภูมิภาคที่ขับเคลื่อน 5G นับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2020
"5G จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่รัฐบาลจะเสริมอย่างจริงจังและอำนวยความสะดวกในการนำโซลูชันและแพลตฟอร์มไปใช้ในทุกภาคส่วนเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศจากนี้ไปโดยเฉพาะเพื่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่ผ่านมากว่า 1 ปีแล้ว ที่ประเทศไทยได้นำแพลตฟอร์มและโซลูชั่น 5G ไปใช้ในหลายภาคส่วนม ต้องขอบคุณการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 5G ซึ่งจัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว รวมถึงการลงทุนเครือข่ายโดยผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ค่ายต่างๆ" รมว. ดีอีเอส กล่าว
นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม รายใหญ่ระดับโลก กล่าวยกย่องประเทศไทย ในฐานะผู้นำ 5G ในอาเซียน และยังจะประโยชน์จากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากขึ้นด้วยการจัดตั้งพันธมิตร 5G ระดับชาติ ด้วยในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้งหมดไทยถือเป็นผู้นำด้าน 5G อย่างแน่นอน เห็นได้จากการพัฒนาเทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อให้บริการในตลาดผู้บริโภคและอุตสาหกรรมของไทย ในขณะนี้
โดยในตลาดผู้บริโภคคาดว่ามีผู้ใช้บริการ5G ราว3ล้านราย มีการขยายตัวอย่างมากของเครือข่ายสัญญาณ5G กว่า 20,000 แห่ง ทั่วประเทศ รวมถึงประสบการณ์การใช้งานที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับ 4G ทั้งในแง่ของความเร็วในการดาวน์โหลดและความหน่วง ส่วนในตลาดอุตสาหกรรม 5G นั้นก็ได้รับการยอมรับจากบริษัทใหญ่ในภาคส่วนสำคัญๆของไทย เช่น ภาคการผลิต บริการทางการเงิน การค้าปลีก การดูแลสุขภาพ และการเกษตร
ขณะที่ Huawei ยังได้มีการหารือเกี่ยวกับนโยบายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ครอบคลุมระดับโลก อาทิ แผนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ในประเทศจีนที่มี 5Gเป็นองค์ประกอบหลัก สหภาพยุโรปยุคใหม่ ในสหภาพยุโรป รวมถึงข้อตกลงใหม่ในเกาหลีใต้ และแผนกู้ภัยในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
จากโชว์เคสสู่ยูสเคส และ 5สิ่งที่คุณต้องรู้
นายชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าว กล่าวถึงโชว์เคส (Showcase) สู่ ยูสเคส (Use case) 5 สิ่งที่คุณต้องรู้ ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป การฟื้นตัวของประเทศไทยหลังจากการระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของดิจิทัลมากขึ้น
"เราจะพบว่าผู้ใช้งานสามารถนำแอปพลิเคชัน โซลูชัน และปรับตัวสู่เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้อย่างรวดเร็ว รัฐบาลเปิดตัวแอป “เป๋าตัง” หรือ Paotang เมื่อสองปีที่ผ่านมา และล่าสุดมีผู้ใช้งานราว 40 ล้านคน เรียกได้ว่าแม้ในตลาดที่มีภาวะเติบโตเต็มที่ การชำระเงินด้วย QR Code ยังเพิ่งเริ่มและมีช่องว่างให้คนเข้าถึง" นาารัค กล่าว
ทั้งนี้ คือมุมมองที่มั่นใจว่าการเชื่อมต่อด้วยดิจทัล สามารถเป็นเครื่องมือที่ปลดล็อกศักยภาพเพื่อจะฟื้นประเทศ หลังจากนี้ไปโครงสร้างทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไปและไม่กลับมาแบบเดิม รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภค การทำงาน และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และการมของเทคโนโลยี 5G ที่ทำให้ทุกฝ่ายต้องทำงานร่วมกันที่มากขึ้น ทั้งภาครัฐและเอกชน
ดังนั้น 5G ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยสร้างโอกาส และการเติบโตให้แก่ประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการเครื่องมือดิจิทัลมาช่วยปลดล็อกให้ธุรกิจสามารถเติบโต พร้อมกับยกระดับเศรษฐกิจไทยให้ก้าวผ่านช่วงสำคัญหลังสถานการณ์แพร่ระบาดได้
2. สำหรับ 5G ไม่ใช่แค่เครือข่ายแต่เป็นแพลตฟอร์ม เทคโนโลยี 5G นั้นแตกต่างจาก 4G เพราะมันเป็นมากกว่าเครือข่าย โดยเป็นทั้งโซลูชันและแพลตฟอร์ม สำหรับ 4G ผู้ให้บริการมือถือและผู้ให้บริการโซลูชันต่างทำงานกันอย่างอิสระได้ โดยพื้นฐานการออกแบบแอปพลิเคชันไม่ต้องมองว่าเครือข่ายกำลังทำอะไร ในขณะเดียวกันเครือข่ายก็พัฒนาไปโดยไม่ต้องคำนึงว่าแอปกำลังทำอะไร ผู้ใช้งานเติบโตขึ้นมาก แต่มีข้อจำกัด ในแง่ของความมั่นใจและวางใจความเร็วที่ต้องการกำหนดโดยเฉพาะกับการเชื่อมต่ออุปกรณ์
การมาของ 5G ประสิทธิภาพจะสูงขึ้นมาก เนื่องจากเครือข่ายกลายเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนา use case 5G ไม่ใช่แค่เป็นเพียง G อีกตัวหนึ่ง ที่ให้แค่ความเร็วแต่เป็นแพลตฟอร์ม ที่มากับการนำพลังการประมวลผล อุปกรณ์ บริการเครือข่าย และบริการคลาวด์มารวมกันในระบบนิเวศเดียว 5G สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทยได้อย่างแท้จริง
3. สู่การเพิ่มศักยภาพการผลิตเพิ่ม 3 เท่าด้วย 5G นี่คือเหตุผลที่การใช้งาน 5G แตกต่างจาก 4G มาก และนี่คือเหตุผลที่การนำมูลค่าสูงสุดของ 5G มาต่อยอดการใช้งานในอุตสาหกรรม เช่น การผลิต คุณสามารถเห็นได้จากการศึกษานี้โดย OMDIA บริษัทที่ปรึกษาและวิจัยระบุว่า 5G ที่นำมาใช้ในกระบวนการผลิตจะสร้างศักยภาพที่ยิ่งใหญ่เพิ่มถึง 3 เท่า
ดีแทคจึงไม่ได้พัฒนามุ่งเน้นที่ 5G บนคลื่น 700 MHz ที่นำมาใช้งานบนมือถือ แต่ดีแทคยังนำคลื่น 26 GHz มาใช้งาน 5G ด้วยรูปแบบ use case ต่างๆ ร่วมกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมด้วย และวันนี้ จากโชว์เคส (Showcase) สู่ ยูสเคส (Use case) ที่เกิดจากความร่วมมือกันข้ามอุตสาหกรรม ซึ่งเราเรียกว่าการทำงานร่วมกันเพื่อผลลัพธ์ที่แท้จริง
ดีแทค ได้เข้าไปร่วมมือกับพันธมิตรผู้นำในหลากหลายอุตสาหกรรมอย่าง “เอบีบี ออโตเมชั่น” (ABB Automation) ในการนำ 5G ไปเพิ่มประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการทำงาน หรือความร่วมมือกับ “อาซีฟา” (ASEFA) เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารจัดการพลังงาน “ดับบลิวเอชเอ กรุ๊ป” (WHA Group) ในโซลูชันบริหารจัดการน้ำอัจฉริยะ และ ปตท. (PTT) ไปใช้กับกล้องตรวจการณ์อัจฉริยะ รวมถึงการจับมือกับ อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด หรือ AWS ผู้ให้บริการคลาวด์คอมพิวติ้งที่มีบริการครบถ้วนที่สุดและมีผู้ใช้งานจำนวนมาก จัดทดสอบ PoC (Proof-of-Concept) สำหรับ 5G Private Network และ Edge Computing เพื่อสาธิตการใช้งานจริงให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม
4. การทำงานร่วมกันเพื่อผลลัพธ์ที่แท้จริงต้องการสองสิ่ง คือ use case ที่ใช้งานได้จริง และ ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี สำหรับ use case ที่ใช้งานได้จริง เป็นรากฐานสำคัญที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมและดีแทคต้องการให้ผู้ประกอบการของคิดการใหญ่มองไปข้างหน้าหลังวิกฤตโควิด-19 โดยความสำคัญคือกลุ่มอุตสาหกรรมจะเชี่ยวชาญต่อสิ่งที่ดำเนินการมาอย่างดีที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของการผลิต การขนส่ง สาธารณูปโภค และธุรกิจพลังงาน 5G สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจของพวกเขาได้ การเชื่อมต่อกับ IoT การนำเซ็นเซอร์ประหยัดพลังงาน สามารถจัดการค่าใช้จ่ายได้อย่างแม่นยำและประหยัด การรับส่งข้อมูลตอบสนองแบบเรียลไทม์ช่วยลดความเสี่ยงให้ธุรกิจ การฝึกอบรมผ่าน VR และ AR จะนำพาบุคลากรของคุณไปสู่อีกระดับ ดังนั้น use case จะต้องตอบโจทย์การใช้งานมีความหมายต่อธุรกิจของผู้ประกอบการจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่แท้จริง มิฉะนั้นก็เป็นเพียงการจัดโชว์จากผู้ให้บริการหรือผู้ผลิตอุปกรณ์
ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี 5G มีความสำคัญที่จะพาองค์กรสู่นวัตกรรมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เราต้องผนึกกำลังจากผู้มีประสบการณ์ โดยดีแทคได้รับการสนับสนุนและความเชี่ยวชาญของกลุ่มเทเลนอร์พร้อมนำประสบการณ์ต่างๆ ที่ให้บริการและการทำงานร่วมกับพันธมิตรชั้นนำในอุตสาหกรรมระดับโลกสู่ประเทศไทย ทั้งนี้ “กลุ่มเทเลนอร์” คือ ผู้นำด้านบริการโทรคมนาคมที่สำคัญในกลุ่มสแกนดิเนเวีย ยุโรปกลางและตะวันออก รวมถึงแถบเอเชีย ที่มีลูกค้าทั่วโลกประมาณ 169 ล้านราย และเป็นผู้บุกเบิกโครงการ 5G Verticals INNovation Infrastructure (5G-VINNI) ซึ่งมีเป้าหมายผลักดันเทคโนโลยีและการใช้งาน 5G สู่กลุ่มยุโรป และมีความร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกต่าง ๆ เช่น Ericsson, Amazon และ Microsoft 5. 5G Private Network สร้างสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อความปลอดภัยขั้นสุดยอดและออกแบบกำหนดเครือข่ายได้เฉพาะองค์กร การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการหลังโรคระบาด คือการเปลี่ยนโครงสร้างสู่ดิจิทัล การนำ IoT มาใช้งานโดยอัตโนมัติ รูปแบบการผลิตที่กำหนดอยู่บนเครือข่ายดิจิทัล
ข้อกำหนดการใช้เครือข่ายที่ต่างกันของผู้ผลิตอุตสาหกรรม การปลดล็อกกรอบการใช้งานแบบเดิมสู่ลงทุนระยะยาว การรับส่งข้อมูลความเร็วสูง อย่างแม่นยำ เหนือสิ่งอื่นใดคือความปลอดภัยต่อเครือข่ายองค์กร นี่คือคำตอบก้าวต่อไปของ 5G กับ Private Network
แน่นอนว่า ก้าวต่อไปของการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยีไม่ใช่แค่การเพิ่มสปีด การเข้าถึง WiFi หรือ low latency เท่านั้น แต่ความสำคัญของเทคโนโลยีสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมคือความแม่นยำ และความปลอดภัยในโครงข่ายเฉพาะองค์กร รวมถึงการกำหนดค่าความเร็วในการรับส่งข้อมูล เครือข่ายที่ถูกกำหนดมาเฉพาะทำให้ผู้ประกอบการหรือองค์กรสามารถบริหารจัดการเครือข่ายของพวกเขาเองได้ทั้งหมด จะทำให้ก้าวผ่านจาก Showcase สู่ use case เกิดประโยชน์สำหรับการใช้งานได้จริง
สำหรับรการนำ 5G Private Network มาปลดล็อกอุตสาหกรรมนั้น ถึงเวลาก้าวไปข้างหน้าในการลงทุน และออกแบบตามความต้องการของแต่ละองค์กรที่มีข้อกำหนดต่างกัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ให้บริการหรือผลิตสินค้าที่มีความเฉพาะกลุ่ม (Vertical Industry) เช่น อุตสาหกรรมภาคการผลิต การประกอบรถยนต์ กลุ่มท่าเรือขนส่งสินค้า กลุ่มคมนาคมขนส่ง กลุ่มสาธารณสุข กลุ่มการเกษตร เป็นต้น
ร่วมกับ เอดับบลิวเอส สโนวบอล เอดจ์ (AWS Showball Edge) จัด Proof of Concept (POC) สาธิตกล้องอัจฉริยะ อุปกรณ์ที่มาพร้อมสตอเรจและการประมวลผลบนคลาวด์คอมพิวติ้งจากเอดับบลิวเอส ซึ่งนอกจากจะสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างสถานที่ต่างๆ กับคลาวด์ของเอดับบลิวเอสแล้ว พร้อมสามารถทำการประมวลผลและรองรับเอดจ์คอมพิวติ้ง ร่วมกับ เอบีบี ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) นำ ABB Robotics และ ABB Remote Insights เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโครงข่ายดีแทค และต่อยอดสู่ 5G Private Network นี่คือกุญแจสำคัญที่กระตุ้นธุรกิจให้เดินหน้าการผลิตทุกวิกฤต พร้อมควบคุมได้ทุกที่แม่นยำและปลอดภัย และทดสอบให้กลุ่มผู้ประกอบการได้นำไปต่อยอดอุตสาหกรรม 4.0 อย่างยั่งยืนทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศไทย และการเติบโตอย่างยั่งยืน และการเข้าสู่ยุค 5G เพื่อการใช้งานให้ได้ศักยภาพสูงสุด จะต้องมาจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน และกรอบความคิดที่มีวิสัยทัศน์เพื่อช่วยให้คนทั้งประเทศได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
Write a Comment