13 ข้อสังเกตุว่าคุณติดโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตหรือไม่? (Nomophobia)

ในสมัยนี้เปรียบเสมือนอวัยวะที่ 33 ของคนเราไปแล้ว ซึ่งแทบจะขาดไม่ได้เลยสำหรับโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน หรือบางรายอาจจะเป็นแท็บเล็ต ที่คอยอยู่ข้างกายเราตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นตอนเดินทาง, เรียน, ทำงาน หรือแม้แต่จะเข้าห้องน้ำ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเช็คข้อความ อัพเดตโซเชี่ยลเน็ตเวิร์คต่างๆ การที่ติดโทรศัพท์มือถือมากๆแบบนี้จึงเกิดการเรียกโรคใหม่ขึ้นมาว่า Nomophobia เป็นคำย่อจาก “no–mobile-phone phobia” ซึ่งแปลเป็นไทยง่ายๆว่า โรคกลัวการไม่มีโทรศัพท์มือถือ นั่นเอง

จากผลวิจัยของ Helsinki Institute for Information Technology ประเทศฟินแลนด์ พบว่า โดยเฉลี่ยผู้คนจะตรวจเช็คโทรศัพท์มือถือวันละ 34 ครั้ง และเฉลี่ยการเข้าแอพฯต่างๆ ทั้ง Facebook , Twitter และ LINE อย่างน้อย 30 วินาที และมากไปกว่านั้นสำหรับคนที่เล่นเกมส์บนมือถือ ที่จะใช้เวลามากกว่านั้นในการใช้งาน

จากผลการศึกษาของหน่วยงานจากประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2010 เมื่อสังเกตุจากกลุ่มตัวอย่างเกือบ 53% ที่ทำการวิจัยจะเกิดอาการเครียดและวิตกกังวล เมื่อมือถือของเขาเหล่านั้นแบตเตอรี่หมด หรือไม่สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ โดยผู้ชายมีเกือบร้อยละ 58 ส่วนผู้หญิงจะอยู่ที่ร้อยละ 47 ของผู้เข้ารับการทดสอบ และจะมีอีกร้อยละ 9 ที่จะเริ่มมีอาการเครียดทันทีเมื่ออยู่ห่างจากมือถือของเขา โดยที่การทดสอบครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่าง 2,163 คนที่เป็นผู้ใช้งานมือถือในประเทศอังกฤษ

และถ้าหากคุณมีอาการหรือการกระทำใน 13 ข้อนี้ แสดงว่าคุณเข้าข่าย Nomophobia แล้ว

• เมื่อคุณอาบน้ำคุณต้องเอาโทรศัพท์เข้าไปด้วยอาจจะไปฟังเพลงหรือกดเล่น

• เมื่ออาบน้ำเสร็จระหว่างการทำการแต่งตัวหรือทำธุรกิจส่วนตัวต่างๆคุณมักจะวางโทรศัพท์ไว้ข้างๆ และเปิดเพลงฟังด้วย

• เมื่อคุณขึ้นรถคุณต้องเอาโทรศัพท์ขึ้นมาถือไว้หรือเอาออกมาวางให้เห็นหรือกดเล่น

• เวลาคุณนอนต้องเอาโทรศัพท์ไว้ใกล้ตัวก่อนนอน หรือเล่นโทรศัพท์จนนอนหลับไป

• คุณคิดว่าโทรศัพท์เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตคุณ ที่ขาดไม่ได้

หากคุณมีเกิน 5 ข้อแล้วล่ะก็ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่กันได้เลย อย่าเป็นโรคนี้กันเลยครับ ใช้โทรศัพท์หรือแท็บเล็ตให้พอดี นอกจากจะทำให้คุณมองเห็นและได้คุยกับคนรอบข้างมากขึ้นแล้ว จะช่วยลดอาการปวดตา, เมื่อยคอ, ปวดบ่า (จากการใช้งานนานๆ) ได้ด้วยนะครับ ด้วยความหวังดีจาก The All Apps ^^

Write a Comment